ที่มาของคำว่า กุรุ [อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร]

 
เมตตา
วันที่  2 ก.ย. 2553
หมายเลข  17094
อ่าน  2,623

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร

[๑๓๑] สติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้. ที่มาของคำว่า กุรุ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ ความว่า ชนบทแม้แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่ของราชกุมารผู้อยู่ในชนบทชื่อว่า กุรุ เขาเรียกว่ากุรู ด้วยรุฬหิศัพท์ (คำที่งอกไปจากดำเดิม) (พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ) ที่กุรุชนบทนั้น. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้ามันธาตุราช มนุษย์ใน ๓ ทวีป ได้ยิน (คำเล่าลือ) ว่า ขึ้นชื่อว่าทวีปชมพู เป็นดินแดนที่อุบัติของยอดคน (อุดมบุรุษ) จำเดิมแต่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย เป็นถิ่นอภิรมย์อุดมทวีป จึงได้พากันมาพร้อมด้วยพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราชผู้ทรงส่งจักรแก้วออกหน้าแล้วเสด็จติดตามมายังทวีปทั้ง ๔

ฯลฯ

เมื่อพระเจ้ามันธาตุสวรรคตแล้วมนุษย์ที่มาจากทวีปทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น ไม่อาจจะไปได้อีก ได้พากันเข้าไปหาปริณายกแก้ว แล้วร้องเรียนว่าใต้เท้าขอรับเหล่ากระผมมาด้วยพระบรมราชานุภาพ บัดนี้จึงไม่อาจจะไปได้ ขอใต้เท้าได้กรุณาให้ที่อยู่แก่เหล่ากระผมเถิด. ปริณายกแก้วได้มอบชนบทให้แก่เขาเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่คนละแห่ง. ในจำนวนชนบทเหล่านั้น ถิ่นที่มีคนมาจาก บุพพวิเทหทวีปอาศัยอยู่ ได้นามว่า วิเทหรัฐ ตามชื่อเก่านั้นเอง. ถิ่นที่มีตนมาจากอมรโคยานทวีปอาศัยอยู่ ได้นามว่า อปรันตชนบท. ถิ่นที่มีคนมาจากอุดรกุรุทวีปกุรุทวีปอาศัยอยู่ ได้นามว่า กุรุรัฐ แต่คนทั้งหลายเรียกด้วยพหูพจน์โดย หมายถึงบ้านและนิคม จำนวนมาก เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่าประทับอยู่ที่หมู่บ้านกุรุทั้งหลาย (เป็นพหูพจน์) ดังนี้

ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ