ถามการเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง

 
monmit
วันที่  15 ก.ค. 2553
หมายเลข  16735
อ่าน  1,466

ถามผู้รู้ว่า การประเมินว่าเราภาวนาถูกต้องตรงตามจริตนั้น มีอย่างไรบ้างอย่างละเอียด

ขอบคุณมาก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ก.ค. 2553

เริ่มต้นตั้งแต่ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้จริงๆ จากนั้น สติและสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นกระทำกิจ คือ รู้สภาพธรรมตามที่ศึกษามาตามความเป็นจริง และปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับของวิปัสสนาญาณ ไม่ข้ามขั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ภาวนา ไม่ใช่การท่องบ่น ภาวนาเป็นเรื่องของปัญญา ภาวนาหมายถึงการอบรมเจริญให้ยิ่งขึ้น และการอบรมเจริญวิปัสสนาต้องเป็นปัญญาของตัวเองที่เจริญขึ้น ไม่ใช่เราเจริญ ไม่ใช่เราทำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ผู้ที่จะทราบจริตจริงๆ ของเราทั้งหมด ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าครับ ให้ทราบว่าการสะสมจริตต่างๆ มาในจิต เนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ผู้ที่จะได้รู้บ้าง (แต่ไม่รู้ทั้งหมด) ว่าตนมีจริตน้อมไปทางใดมาก ผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีปัญญามากเช่นกัน เป็นเรื่องที่ขอให้คนอื่นบอกไม่ได้ ต้องเป็นความรู้ถูก เห็นถูกเฉพาะตน เว้นเสียแต่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมที่ตรงต่อจริตของผู้นั้น ซึ่งยุคนี้ ก็ไม่มีพระพุทธองค์แล้ว แต่ยังหลงเหลือพระธรรมไว้ให้ศึกษาได้โดยละเอียดอยู่ เพราะฉะนั้น เบื้องต้นของการศึกษาธรรมะ ก่อนที่จะไปเจริญภาวนา ควรศึกษาให้เข้าใจ "ธรรมะ" โดยถูกต้องเสียก่อน ทีละคำๆ ไม่ให้สับสนไม่ให้เข้าใจผิด เมื่อความรู้จากการศึกษาเจริญขึ้น จนเป็นปัญญาของตนเอง นั่นจึงจะเป็นสิ่งที่จะช่วยเกื้อกูล ให้มีการไตร่ตรอง พิจารณา ประเมิน ตรวจสอบ เทียบเคียง ข้อประพฤติปฏิบัติ ในทางธรรมของเรา ว่าเรากำลังปฏิบัติในหนทางที่ผิด หรือกำลังปฏิบัติในหนทางที่ถูก

เชิญคลิกอ่านครับ >>> วิปัสสนาภาวนา โดย บ้านธัมมะ

ปุจฉา เรื่องจริตในการภาวนา

อยากทราบว่าควรเริ่มจากอะไรครับ

หลายท่านต้องการประเมินผลจากการฟังธรรมใช่ไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Yongyod
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผิน
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รากไม้
วันที่ 18 ก.ค. 2553

การเลือกภาวนา ให้ตรงตามจริตของตนนั้น ควรพิจารณาให้ดีว่า ถ้าจะไม่เลือกได้ไหม เพราะไม่ว่าทางหนึ่งทางใด ที่ถูกเราเลือกมาแล้วนั้น ล้วนมีความอยากทำแอบแฝง ข้างในทุกครั้งไป เมื่อมีการเลือกสรร ย่อมมีความอยากทำ เข้าไปเจือปนด้วยเสมอ เพราะปุถุชนล้วนทำกิจใดๆ ด้วยความอยากกันทั้งสิ้น แม้ว่า ใช้ปัญญาที่มี ในการเลือกแล้วก็ตาม แต่ก็จะมีความอยากแฝงมาด้วยทุกครั้ง

วิธีการเดียวคือ ศึกษาไปเรื่อยๆ อย่างอดทน อย่าหวังในผลใดๆ ที่จะได้ในอนาคต เพราะเมื่อมีความหวังในผล ย่อมไม่เกิดผลใดๆ ได้เลย แล้วเมื่อไม่ได้ผล ก็จะเกิดความท้อแท้ จะมาเร็ว จนเกิดการทอดทิ้ง การศึกษาพระธรรมกลางครัน ก่อนที่จะเกิดปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
KANNA
วันที่ 18 ก.ค. 2553

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ