มีอุเบกขา มีสติ ไม่สำคัญตน ไม่มีกิเลสอันหนา [ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖]

 
khampan.a
วันที่  14 ก.ค. 2553
หมายเลข  16729
อ่าน  1,442

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๔

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖

[๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญ ว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า เขาในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

[๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ความว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายในพ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ไม่พยาบาท กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษแล้ว. ...ฯลฯ...

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๗

คำว่า ผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในจิต ก็ชื่อว่ามีสติเมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ.

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๘ [๔๑๕]

คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ความว่า ไม่ยังความดูหมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้างฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา.

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ -หน้าที่ ๔๘

คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า กิเลสอันหนาทั้งหลาย คือ กิเลสอันหนา ๗ ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละตัดขาด สงบระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กิเลสอันหนาทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ