ทานบารมี_1 [บารมี ๑๐]

 
Khaeota
วันที่  1 ก.ค. 2553
หมายเลข  16626
อ่าน  1,345

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 618 ข้อความบางตอนจาก...บารมี ๑๐ ว่าด้วย...ทานบารมี_1

การชี้แจงธรรมเป็นข้อปฏิบัติของทานบารมี. ในทานบารมีนั้นมีทาน ๓ อย่าง

โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน ๑ อภัยทาน ๑ ธรรมทาน ๑.

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเอง

ว่า จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ.

มีของให้ จึงให้. ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรม

ย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรม

ย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย. อนึ่ง ไม่ให้ศัสตรายาพิษ

และของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความเบียดเบียนผู้อื่น. แม้ของเล่นอัน

ประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความประมาท ก็ไม่ให้. อนึ่ง ไม่ให้

ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภคเป็นต้น หรือของที่เว้นจากการ

กำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของเป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควรแก่ประมาณ.

อนึ่ง คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของ

สมควรแก่บรรพชิต. ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใครๆ ในบรรดาบุคคล

เหล่านี้ คือ มารดา บิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตรภรรยา ทาส

และกรรมกร. อนึ่ง รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. ไม่ให้อาศัยการตอบแทน. ไม่ให้หวังผล

เว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม. อนึ่ง ไม่ให้

ทานทอดทิ้ง ยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มีจิตเลื่อมใสให้

อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่างเดียว. ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่นข่าว. ให้

เพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมเท่านั้น. ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้าหมอง

ด้วยการให้เข้าไปนั่งใกล้เป็นต้น. ให้ไม่ทำให้ยาจกเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างเดียว.

ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูดก่อน พูดพอ

ประมาณ. โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี เพราะสะสม

มานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่บรรเทาไทย-

ธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวงหายาจกให้. อนึ่ง ไทยวัตถุใดนิดหน่อย

แม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึงไทยวัตถุนั้น ก็ทำตนให้ลำบาก แล้วให้

ยาจก นับถือเหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Khaeota
วันที่ 1 ก.ค. 2553

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 620 ข้อความบางตอนจาก...บารมี ๑๐ ว่าด้วย...ทานบารมี_2

ส่วนทานภายในพึงทราบโดยอาการ ๒ อย่าง. อย่างไร ? เหมือน

บุรุษคนใดคนหนึ่งสละตน เพราะเหตุอาหารและเครื่องปกปิดแก่ผู้อื่น. ย่อม

ถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นทาสฉันใด. พระมหาบุรุษก็ฉันนั้นเหมือน

กัน มีจิตปราศจากอามิสเพราะเหตุสัมโพธิญาณ ปรารถนาประโยชน์สุขอัน

ยอดเยี่ยมแก่สัตว์ทั้งหลาย ประสงค์จะบำเพ็ญทานบารมีของตน จึงสละตน

เพื่อคนอื่น ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นผู้ต้องทำตามความประสงค์.

ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ มอบอวัยวะน้อยใหญ่มีมือเท้าและนัยน์ตาเป็นต้น

ให้แก่ผู้ต้องการด้วยอวัยวะนั้นๆ . ไม่ข้องใจ ไม่ถึงความสยิ้วหน้า ในการ

มอบให้นั้น เหมือนในวัตถุภายนอก. เป็นความจริงอย่างนั้น พระมหาบุรุษ

ยังความปรารถนาของยาจกเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ด้วยการบริโภคตามสบาย

หรือด้วยความชำนาญของตน จึงสละวัตถุภายนอกด้วยอาการ ๒ อย่าง ด้วย

หวังว่า เราให้ทานหมดสิ้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณด้วยการเสียสละอย่างนี้

ดังนี้. พึงทราบการปฏิบัติในวัตถุภายใน ด้วยประการฉะนี้.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ