การศึกษาพระธรรมในยุคนี้ - น้อยคนจะอ้างอิงจากพระไตรปิฎก

 
พุทธรักษา
วันที่  28 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16609
อ่าน  1,187

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน จากการสนทนาธรรม วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๓ ณ อาคารมูลนิธิ โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร ถอดเทป โดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล

อาจารย์อรรณพ เป็นเรื่องยาก สำหรับการที่บุคคลสมัยนี้จะศึกษาพระธรรมและมีความเข้าใจ ตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หนังสือที่กล่าวถึงพระธรรมมีทั่วไปหมดหลายปีหลังๆ นี้ ก็มีนักเขียนและอาจจะมีหลายคนที่มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ก็ใฝ่หาพระธรรม แต่ไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง

มีการใฝ่หาคำว่า "พระธรรม"ดูจากหนังสือที่วางขายกันเกลื่อนกล่น ฟังทางวิทยุบ้างดูทางทีวีบ้าง หรือทางสื่อต่างๆ ซึ่งขยายวงกว้างออกไปมากมาย

พระธรรมที่จะศึกษา...แม้จะไปอ่านจากในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นข้อความโดยตรงจากพระพุทธพจน์ แต่ ความเข้าใจเป็นอย่างไร

บางท่านยังไม่ถึงขั้นที่จะศึกษาจากพระไตรปิฎกแต่ศึกษาจากหนังสือต่างๆ ซึ่งก็เป็นไปตาม "ความเห็นของแต่ละบุคคล" ที่ท่านเขียนมาบางท่านผสมศาสตร์อื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ปรัชญาและศาสนาอื่น มาบ้าง

น้อยคน ที่จะอ้างอิงจากพระไตรปิฎกโดยตรง

สำหรับผู้ที่อ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก"พระไตรปิฎก" คืออะไร พระไตรปิฎก คือ คำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมทั้งพระอริยสาวกในสมัยนั้น เช่น ท่านพระสารีบุตร พระอนุรุธะ ฯลฯประมวลมาเป็น "พระธรรมวินัย" หรือ "พระไตรปิฎก"

ซึ่งก็คือพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมซึ่งเป็นคำสอน เป็นคำอธิบาย เป็นคาถาเพื่อ ดับความยินดีติดข้อง โดยทั่วไปมักจะอ้างพระไตรปิฎก ไม่มีใครบอกว่าเขาเขียนเองแม้ทุกคนจะอ้างพระไตรปิฎก อ้างพระผู้มีพระภาคฯตามแต่ความคิดเห็นของเขาเอง.

แล้วจะศึกษากันอย่างไร

เมื่ออ่านโดยตรงจากพระไตรปิฎก หรือ ฟังจากวิทยุ ฯลฯ ข้อความที่ยกมาจากพระไตรปิฎกนั้น ไม่ผิดแต่ หลังจากนั้น "คำอธิบาย" ซึ่งหลากหลายแตกต่างกันไปตามความเห็น และ ความเข้าใจในทางธรรม ของแต่ละท่าน ซึ่ง (ผู้ฟัง) ต้องเป็นผู้ละเอียดและพิจารณา ว่า คำสอน (คำอธิบายธรรม) ใด ที่เป็นไปเพื่อ "การเข้าใจธรรมะ ในขณะนี้" ตรง ตามความเป็นจริงและเป็นไปเพื่อ "การละ" ไม่ใช่เพื่อความติดข้อง

นี้เป็นหนทางที่ถูกต้อง ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรม จึงต้อง "ศึกษาโดยละเอียด" เพื่อ "ความเข้าใจที่ถูกต้อง"

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผิน
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ซึ่ง (ผู้ฟัง) ต้องเป็นผู้ละเอียดและพิจารณา ว่า คำสอน (คำอธิยายธรรม) ใด ที่เป็นไปเพื่อ "การเข้าใจธรรมะ ในขณะนี้" ตรง ตามความเป็นจริงและเป็นไปเพื่อ "การละ" ไม่ใช่เพื่อความติดข้องนี้เป็นหนทางที่ถูกต้อง ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
booms
วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ต้องยอมรับว่า กระแสของคนส่วนใหญ่นั้น มุ่งเน้นการ ปฏิบัติ เข้าคอร์สอบรม 3 -5 วันบ้าง 7 วันบ้าง หรือ เป็นเดือน เพราะคิดเห็นว่า วิธีนี้ เป็นหนทางลัด เป็นหนทางที่เหมาะกับ ผู้คนในยุคสมัยนี้ เพื่อให้ได้ ผลบุญ เพื่อบรรลุถีง มรรค ผล นิพพาน..ต้องยอมรับว่า กระแสคนส่วนใหญ่นั้น ..นิยมการอ่าน หนังสือธรรมมะ ที่เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาทางธรรมไม่หนัก มากนัก ที่มีขาย จำหน่าย ตามร้านหนังสือต่างๆ มากมาย นั่นคงเป็นเพราะ คนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ ฉาบฉวย ชอบวิธีการ หนทาง ที่ง่ายๆ สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนในการที่จะได้ ในสิ่งที่ตนเองต้องการ

เห็น, ให้ความสำคัญ ของสิ่งที่ไม่เป็น สาระ ว่าเป็น สาระ และ เห็น, ให้ความสำคัญ ของ สิ่งที่เป็นสาระ ว่า ไม่เป็น สาระ

ดังนั้น ยุคสมัยนี้ คงจะมีคนส่วนน้อย ที่ สนใจ ใส่ใจ ให้ความสำคัญ ให้คุณค่า ในการศีกษาพระธรรม อย่างละเอียด โดยคิดเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีสาระ เป็นสิ่งประเสริฐแล้ว...สำหรับการได้เกิดมาเป็น มนุษย์ในชาตินี้ การศึกษาพระธรรม คือ การได้ เรียนรู้ในความละเอียด ลุ่มลึก ของการตรัสรู้ใน พระปัญญา ของพระพุทธเจ้า ซี่งหาก เราไม่ได้ ศึกษาพุทธศาสนาโดยละเอียด ก็เท่ากับเรา ดูหมิ่น พระปัญญาที่ทรงตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า

สหายธรรมคงทราบดีอยู่แล้วว่า การศึกษาธรรมมะที่มากขึ้นๆ ละเอียดขึ้นๆ จะเกิด "ปัญญา ที่ได้จากความเข้าใจ" ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจ ในสภาพธรรมมะ ที่ปรากฏ รู้จักธรรมมะที่เกิดขึ้นตาม ความเป็นจริง มากขี้น มากขึ้น และเมื่อยิ่งเข้าใจ ความละเอียด ของพระธรรมมากขึ้นเท่าไหร่ การที่จะน้อมประพฤติ ปฏิบัติ ตามพระธรรม ก็มากขึ้นเท่านั้น คงไม่ลืมว่า จาก ปุถุชน ไปสู่ ความเป็นพระอริยบุคคลนั้น ไปได้ด้วย "ปัญญา" (วิปัสสนาปัญญา) เท่านั้น

ฉะนั้น หากไม่รู้จริง ไม่รู้ยิ่ง ก็จะยังไม่รู้แจ้ง หรอก

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ