รูป 17 ขณะจิต เข้ามาสู่คลองจักษุกี่ขณะจิตครับ

 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่  11 พ.ค. 2553
หมายเลข  16120
อ่าน  5,137
1. รูปมี่อายุ 17 ขณะจิต เข้ามาสู่คลองจักษุกี่ขณะจิตครับ? ผมเข้าใจว่า 1 ขณะจิต ส่วนรูปที่ยังมีอายุอยู่ ไม่ได้เข้ามา ความแรงของรูปจะไปถึงตทาลัมพนหรือไม่ขึ้นอยู่กับขณะจิตที่ 1 ถ้าแรงมากก็ไปถึง 17 ขณะจิต ถ้าแรงน้อยก็ดับไปก่อนครับ2. ทำนองเดียวกันรูปที่เกิดทางมโนทวารก็เข้ามากระทบเพี่ยง 1 ขณะ ความแรงหรือไม่แรง ก็ขึ้นกับขณะจิตที่ 1โปรดแสดงธรรมด้วยครับท่านวิทยากรผู้เจริญกว่า

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 12 พ.ค. 2553
๑.รูปารมณ์กระทบจักขุปสาทและมีอายุดำรงอยู่ ๑๗ ขณะของจิตครับ และรูปทุกรูปมีอายุ ๑๗ ขณะของจิตเหมือนกัน ส่วนวิถีจิตจะเกิดถึงวาระไหนขึ้นอยู่ที่รูปที่มากระทบนั้นปรากฏชัดหรือไม่..๒.ตามข้อที่ ๑ ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
BudCoP
วันที่ 12 พ.ค. 2553

พุทฺธจกฺขิสฺส นมตฺถุ โลกนฺตํ วิปสฺสนฺตสฺส

ข้าพเจ้าของนอบน้อม แด่พระผู้มีพุทธจักขุ ผู้เห็นที่สุดแห่งโลกอยู่

สวัสดี ครับ, คุณ prachern.s และ คุณ ชีวิตคือขณะจิต, ขอร่วมสนทนาด้วยคน ครับ.

ก่อนสนทนาเรื่องนี้ ท่านศึกษาควรทรงจำ ปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี อย่างย่อ ในปริจเฉทที่ 1 มาได้ก่อน, และต้องเข้าใจว่า คลองปัญจทวารทวาร (ปัญจทวารวิถี) นั้น มีจิตเกิดได้สูงสุดแค่ 14 ขณะเท่านั้น อีก 3 ขณะ เป็นเพียงภวังค์ที่ใช้นับอายุรูป ครับ.

รูปมี่อายุ 17 ขณะจิต เข้ามาสู่คลองจักษุกี่ขณะจิตครับ?

จักขุทวารวีถี มีรูปมาสู่คลองต่ำสุด 5 ขณะ (โวฏฐัพพนวาระ) สูงสุด 14 ขณะ (ตทาลัมพนวาระ) ไม่ขาด ไม่เกินไปกว่านี้ ครับ.

ผมเข้าใจว่า รูปมี่อายุ 17 ขณะจิต เข้ามาสู่คลองจักษุ แค่ 1 ขณะจิต?

ไม่ถูก ครับ, รูปที่มีอายุ 17 ขณะจิต เข้ามาสู่คลองจักขุทวาร ขั้นต่ำ 5 ขณะจิต ครับ.

ส่วนรูปที่ยังมีอายุอยู่ ไม่ได้เข้ามา ความแรงของรูปจะไปถึงตทาลัมพนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับขณะจิตที่ 1 ถ้าแรงมากก็ไปถึง 17 ขณะจิต ถ้าแรงน้อยก็ดับไปก่อน ครับ?

-ข้อความนี้เข้าใจผิด.

1. ต้องถามว่า "จิตตะเกิดถึงตทาลัมพนะวาระหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความแรงของอารมณ์

ใช่ไหม ครับ?"

วิถีจิตมีสนิทัสสนรูปเป็นอารัมมณชาติปัจจัย แต่สนิทัสสนรูปอาจจะไม่ได้มีวิถีจิตนั้น เป็นปัจจัยเลยก็ได้, อายุรูปจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับคลองจักขุ แต่จำนวนจิตที่เกิดได้ ต่างหากที่ขึ้นอยู่กับอายุรูปเพราะทวารวิถีนั้นอาศัยรูปเป็นอารัมมณชาติปัจจัยอยู่ ครับ. เช่น จักขุทวารวิถีเกิดเห็นสีต้นไม้ จากตัวอย่างนี้ ถ้าต้นไม้โดนตัดไปก่อน อายุของ จักขุทวารวิถีจะไม่มีเลย นี่แสดงว่า อายุทวารวิถีขึ้นอยู่กับอายุรูป, แต่แม้จักขุทวารวิถีจะ ไม่เกิด ต้นไม้ก็ยังอยู่ได้ นี่แสดงว่า อายุรูปไม่ขึ้นอยู่กับอายุทวารวิถี. สีต้นไม้จึงไม่ได้มี จิตเป็นปัจจัยเลย แต่จิตต่างหากที่อาศัยสีต้นไม้เป็นปัจจัย.

2. จิตเกิดแล้ว ต้องมีอายุครบ 3 อนุขณะ, รูป 22 ที่เกิดอยู่ (เว้น วิญญัติ 2 ลักขณะ 4) ก็ต้องมีอายุครบ 51 อนุขณะจิต (17ขณะจิต) เช่นกัน, เพียงแต่รูปนั้นมีความเป็นขันธ์ที่ แตกต่างกัน (ขันธ์ 11 = ขันธ์อดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ใกล้ ไกล) ทวารวิถี 6 จึงไปรับรู้ได้ ต่างกัน คือ ชัดบ้าง จางบ้าง ฝ้าฝาง บ้าง มืดตื้อไม่รู้เลยบ้าง เท่านั้นเอง ครับ.

2. ทำนองเดียวกันรูปที่เกิดทางมโนทวารก็เข้ามากระทบเพี่ยง 1 ขณะ ความ แรงหรือไม่แรง ก็ขึ้นกับขณะจิตที่ 1

1. แก้ความคลาดเคลื่อนก่อน, รูปที่เกิด (หรือแม้ดับไปแล้ว หรือแม้ ยังไม่เกิดก็ตาม แล้วมาเป็นอารมณ์) ทางมโนทวาร ท่านเรียกว่า มาปรากฎทางมโนทวาร เพราะไม่ เหมือนกับรูปที่มากระทบกับปสาทรูป ซึ่งต้องกระทบรูปด้วยกัน, แต่รูปทางมโนทวารไม่ ได้มากระทบกับจิต แต่มาปรากฎให้จิตได้รับรู้.

2. รูปที่ไม่ใช่ปัจจุบันนารมณ์ของมโนทวารจะไม่มีการนับขณะ เพราะไม่ขึ้นอยู่กับอายุ แต่อย่างใด (เนื่องจากมันไม่ได้เกิดอยู่) , เช่น เชิงสะพานปากซอยมูลนิธิ เมื่อ 3 ปีก่อนไม่ มีตึก, เรานึกถึงสภาพสีเมื่อ 3 ปีก่อนนั้น ตอนนั้นจะไปนับอายุไม่ได้ เพราะสีนั้นดับไป หมดแล้ว แต่ถ้าไปเห็นตึกสร้างใหม่นั่นตอนนี้ หรือ คอมพิวเตอร์ที่กำลังอ่านกันอยู่ตอน นี้ อย่างนี้จึงจะเอา 17 ขณะจิตตั้ง เพราะรูปที่เกิดอยู่มีอายุ 17 ขณะแน่นอน แล้วเอาไป ลบกับสมรรถภาพของจิตว่าจะรูปรูปนั้นได้กี่ขณะ ครับ.

เรื่องนี้ยาก ครับ, ควรผ่านปริจเฉท 4 และ 8 มาบ้าง.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 12 พ.ค. 2553

เราติดอยู่กับชื่อ กับเรื่องราว กี่ภพกี่ชาติก็ไม่มีวันจบ เพราะขณะที่โลภะเกิด ขณะนั้นไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นธรรมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 15 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

แม้ว่าจิต เจตสิก รูป จะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ก็ยากที่จะรู้ และเบื่อหน่าย (ในทุกข์) ละความยินดี คลายยินดี คลายความยึดถือในนามรูปได้ (ปรมัตถธรรมสังเขป หน้า 14)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 2 ก.ค. 2553
เพิ่งจะเข้าใจครับรูปใด มีอายุเท่าไร (กี่ขณะจิตก็ตาม) เมื่อมากระทบทวารแล้ว รูปนั้น มีอายุเท่านั้น ย่อมเป็นไปเท่านั้น รูปนั้นถือว่ากระทบแล้ว กระทบทั้งหมดนั้น จิตรู้รูป อาศัยรูปนั้นแล้ว กระทำกิจของจิต แต่ละขณะๆ ไปจนถึงภังคขณะพร้อมกันทั้งรูปและนามขออนุโมทนาครับท่านวิทยากร ผู้เจริญ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 2 ก.ค. 2553

ศึกษาวิถีจิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องว่า จิต เป็นธรรม ไม่ใช่เรา จิตเป็นอนัตตา สิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้ (อารมณ์ของจิต) ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเช่นกัน สิ่งอื่นๆ ที่จิตไม่รู้

สิ่งนั้นก็เกิดแล้วดับแล้วตามเหตุปัจจัย แม้จะเคยปรารถนาด้วยความยืดถือมากแค่ไหนสิ่งนั้นก็ชั่วขณะที่จิตกำลังมีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ชั่วคราวจริงๆ เกิดแล้วก็ดับ แต่เมื่อไม่ถึงการประจักษ์ความจริง สิ่งนั้นก็เป็นที่ตั้งให้ผู้ที่มีกิเลส พัวพันติดข้องมากเหลือเกิน ยิ่งศึกษาให้เข้าใจธรรมโดยละเอียด ปัญญาที่เจริญขึ้นจะเริ่มเข้าใจความจริงที่ปรากฏตามลำดับ จนกว่าจะระลึกได้ถึงสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะขณะนี้เป็นวิถีจิต วิถีจิตไม่ใช่คำ

มากมายในตำรา แต่สภาพรู้ในขณะนี้ กำลังแสดงความวิจิตรที่หลายหลายให้พิสูจน์ได้ด้วยความเห็นถูกจริงๆ ซึ่งแม้ว่าเราจะศึกษาตามตำราว่าวิถีจิตมีหลายขณะ แต่เมื่อไม่รู้ตามแม้แต่ 1 ขณะ ก็จะเริ่มเห็นถึงความหนาแน่นของความไม่รู้ที่สะสมมา รวมทั้งเห็นถึงพระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงตรัสรู้และทรงแสดงจำแนก เปิดเผยธรรมอันใครๆ ผู้ไม่ได้สะสมมาย่อมรู้ตามได้โดยยากจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 3 ก.ค. 2553
ท่านajarnkruo มีคำที่ท่านกล่าวหลายคำ ได้แก่ เป็นธรรม:ไม่ใช่เรา :ประจักษ์ความจริง:สิ่งนั้นก็ชั่วขณะที่จิตกำลังมีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ :สภาพรู้ในขณะนี้:สภาพรู้ในขณะนี้ กำลังแสดงความวิจิตรที่หลายหลาย:รู้ตามแม้แต่ 1 ขณะ:ผมเข้าใจครับ แต่มีความหมาย ที่ไม่ใช่เป็นที่ผู้ไม่ศึกษาจะเข้าใจได้ ผมขอความกรุณาอธิบายเพี่ยงคำเดียวเท่านั้น คือ คำว่า "รู้ตามแม้แต่ 1 ขณะ" ต่างกับคำว่ารู้ทันอย่างไรครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 3 ก.ค. 2553

เมื่อฟังธรรมะเข้าใจมากขึ้น สังขารขันธ์น้อมไปที่จะรู้ตัวลักษณะแท้ๆ ของเขา ความรู้คือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ความ ไม่รู้คืออวิชชาที่เกิดหลังจากเห็น ได้ยิน ฯลฯ และการศึกษาเรื่องของ วิถีจิตเป็นการศึกษาขั้นความเข้าใจการเกิดดับสื่บต่อ แต่ไม่ใช่ฐานะที่จะรู้ วิถีจิตแต่ละขณะที่เกิดดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 3 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๗

กรุณาอ่านคำตอบจาก คห. ๘ ครับ

รู้ตาม มีหลายขั้น เริ่มจากรู้ตามขั้นการฟัง เพื่อเข้าใจถูกว่าธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริง

รู้ทัน - รู้ไม่ทัน ไม่สำคัญ ขณะนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ มีสภาพรู้ที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏมีสติ หรือ หลงลืมสติ ไม่ต้องห่วงว่าจะทันหรือไม่ทัน ไม่รู้ก็คือไม่รู้ รู้นิดหน่อยก็คือรู้นิดหน่อย แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาธรรมต่อไป จนกว่าจะเข้าใจว่าธรรมเป็นธรรมจริงๆ ไม่ใช่เรา ถ้ามีตัวตนไปจดจ้องจะรู้ให้ทัน เมื่อรู้ไม่ทันก็ย่อมเดือดร้อนใจ นี่เป็นความอยากรู้ เป็นโลภะ ไม่ใช่ปัญญา ถ้าเป็นปัญญา คือ รู้ว่าขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรมทั้งหมด แต่ปรากฏทีละทางเป็นปกติธรรมดา หลากหลายและวิจิตรอย่างมาก ควรแก่การศึกษาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
dhammanath
วันที่ 4 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นนะครับ

ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังหาโอกาสศึกษาพระอภิธรรมอยู่ คือพูดง่ายๆ ว่าเรียนทฤษฎีนะ ครับ เกิดความอยากรู้ทฤษฎีครับ ยังอยู่ในชั้น กไก่ครับ ยังไม่ถึงชั้น ขไข่ เรียนด้วยการ อ่านหนังสือที่พอมีอยู่ ได้อ่านคำอธิบายของท่าน BudCop แล้วทึ่งในความรู้ของท่าน มาก อยากจะเก่งทฤษฎีเหมือนท่าน ยอมรับว่าอยากครับ ผมคิดว่าทฤษฎีก็จำเป็นอย่าง ยิ่ง ยังไม่พูดถึง การประจักษ์ปัจจุบันธรรม นะครับ เรื่องประจักษ์ขอให้เป็นไปตามเหตุ ปัจจัยและการสั่งสมอบรมมาก็แล้วกัน

วันนี้ จึงขอความกรุณาท่านวิทยากร หรือท่านผู้รู้ช่วยอธิบายให้รู้ด้วยว่า ภวังคจิต เกิด ขั้นระหว่างตรงไหนบ้างในวิถีจิต ขอให้เขึยนมาตามลำดับเลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ภวังคจิต อาวัชชนจิต ... ... เป็นลำดับไป ตรงไหนมีภวังคจิตขั่นก็ใส่มาด้วย และก็ เรื่องปลีกย่อยอื่นๆ เกี่ยวกับภวังคจิตที่ควรรู้ด้วยครับ

ผมจะพยายามไปหาอ่านปริเฉท ๑, ๔, และ ๘ ตามที่ท่าน BudCop แนะนำนะครับ

เอาแค่นึ้ก่อน ขอขอบพระคุณไว้ล่วงหน้านะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 4 ก.ค. 2553

"การศึกษาเรื่องของวิถีจิตเป็นการศึกษาขั้นความเข้าใจการเกิดดับสื่บต่อ แต่ไม่ใช่ฐานะที่จะรู้วิถีจิตแต่ละขณะที่เกิดดับ"โปรดกล่าวฐานะที่จะรู้วิถีจิตแต่ละขณะที่เกิดดับเถิดท่าน.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 4 ก.ค. 2553

"การศึกษาเรื่องของวิถีจิตเป็นการศึกษาขั้นความเข้าใจการเกิดดับสื่บต่อ แต่ไม่ใช่ฐานะที่จะรู้วิถีจิตแต่ละขณะที่เกิดดับ"โปรดกล่าวฐานะที่จะรู้วิถีจิตแต่ละขณะที่เกิดดับเถิดท่าน.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ajarnkruo
วันที่ 4 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๑๑

ฐานะตอนนี้คือเข้าใจให้ถูกต้องว่าวิถีจิตมีจริง เป็นสภาพรู้ที่กำลังมีในขณะนี้ ไม่ใช่เราส่วนการจะรู้การเกิดดับของวิถีจิตแต่ละขณะ ยังไม่ใช่ฐานะสำหรับปัญญาในขั้นต้น

ขั้นต้น เราศึกษาเพื่อรู้ตาม เข้าใจตามเรื่องของจิต ตามที่ทรงแสดงไว้ได้ว่า จิตมีจริงจริงอย่างไร มีลักษณะอย่างไร จิตเป็นปัจจัยต่ออะไร อะไรเป็นปัจจัยต่อจิต จิตที่เกิดแล้วดับ มีจิตดวงต่อไปเกิดสืบต่อเพราะปัจจัยใด จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอย่างไร เพื่อที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่าสิ่งที่มีจริงที่เรียกว่า "จิต" เป็น "จิต" ได้อย่างไร เพราะก่อนศึกษาพระธรรม เราไม่รู้เลยว่า "จิตไม่ใช่เรา" ทั้งวันจึงเต็มไปด้วยการยืดมั่นถือมั่นในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนอย่างเหนียวแน่น เพราะเราไม่รู้ว่าเป็นธรรม เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน แล้วก็มีความติดข้องในความเห็นผิดอย่างนั้นมานานแสนนาน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้ศึกษา เราก็ศึกษาให้ตรงกับจุดประสงค์จริงๆ คือ ศึกษาเพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่มีจริง ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหมด จนกว่าจะมั่นคงในความเป็นธรรมะจริงๆ จิตเป็นธรรมะ เพราะมีจริง ศึกษาเรื่องของจิต เพื่อเข้าใจว่าจิตเป็นธรรมะ ไม่ใช่เพื่อต้องการจะไปรู้จิตด้วยความอยาก หน้าที่รู้จิตตามความเป็นจริงต้องเป็นปัญญา ไม่ใช่โลภะ ไม่ศึกษาเพื่อเหตุอื่น ศึกษาเพื่อรู้จักฐานะและวิสัยความรู้ของตน พระธรรมจะค่อยๆ เกื้อกูลให้ปัญญาที่เจริญขึ้น รู้ความจริงของธรรมตามลำดับ ไม่ข้ามขั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
choonj
วันที่ 5 ก.ค. 2553

อ่านความเห็นของ อ. Budcop (ซึ่งต้องใช้ความพยายามที่จะเข้าใจมากๆ ด้วย) ก็ทำให้มีความเข้าใจได้ดีขึ้น ก็คงจะเป็น "การศึกษาวิถีจิตเป็นการศึกษาขั้นความเข้าใจการเกิดดับและสืบต่อ ฯลฯ"

อ่านความเห็นของ คุณวรรณี และ อาจารย์ครูโอ แล้วเห็นความสำคัญของการที่จะมีสติระลึกในขณะนี้ ว่าเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง

สรุปก็คือ การเข้าใจวิถีจิตมีส่วนช่วย แต่ความเข้าใจธรรมในขณะนี้ และความเข้าใจนี้เอง เมื่อเข้าใจ ก็ไม่ต้องห่วง (เพราะเป็นการทำงานของสังขารขันธ์) จะไม่ประจักษ์ว่า " เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ประจักษ์ความจริง ฯลฯ ตามความเห็นที่ ๗ จนกระทั่ง รู้ตามแม้แต่ ๑ ขณะ" และเกิดดับด้วย ก็ขออนุโมทนาทุกท่านครับ เป็นผลประโยชน์ของการสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
dhammanath
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ขอขอบคุณทุกท่านที่พยายามชี้แจงครับ แต่ผมได้เขียนแสดงความประสงค์ไว้ชัดเจน ว่าผมต้องการศึกษาทฤษฎีหรือปริยัติครับ ขอเรียนว่าก็เพื่่อความเข้าใจในระดับปริยัติ ส่วนขั้นประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฎนั้น ขอให้เป็นไปตามการสั่งสมอบรม ปัญญา จะไม่ขอพูดยาวว่าเข้าใจ..หรืออะไรมีจริงไม่มีจริง ... .

เหตุผลก็คือว่า ระดับเรานี่ต้องรู้ปริยัติบ้างครับ ในบรรดาวิทยากรที่พูดธรรมะให้เราฟัง ผมเห็นว่าทุกคนต้องใช้หลักปริยัติทั้งนั้น ไม่มีเว้นเลยสักคนเดียว การที่ท่านวิทยากร พูดอธิบายให้เราฟังได้ ก็เพราะท่านเหล่านั้นเรียนปริยัติมานะครับ ไม่มีใครไม่เรียน นอก เสียจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครที่สามารถใช้ภาษาบัญญัติมาสอนใน สิ่งที่ละเอียดอย่างยิ่งโดยไม่เรียนเรื่องราวธรรมะมาหรอกครับ ท่านกล่าวไว้ว่าแม้แต่พระ ปัจเจกพุทธก็สอนไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงพระอริยสาวก หรือผู้ที่รองลงมา การที่เราไม่ เรียนต่างหากที่จะเป็นภัยต่อพระศาสนา อย่างที่เราได้ยินกันอยู่ปัจจุบันชัดเจนที่มีการ สอนว่านิพพานเป็นอัตตา ท่านอาจจะกล่าวว่าเรียนเพื่อความอยากอะไรก็แล้วแต่เถิด ผมยอมรับทุกประการว่าผมยังมีความอยากมีความติดข้อง ตราบได้ที่ยังไม่บรรลุธรรม ก็ คงยังมีความยากอยู่ มันเป็นเรื่องธรรมดา ท่านจะเห็นว่าแม้แต่หลายท่านเข้ามาสนทนา ธรรมในเว็บนี้ อย่างน้อยก็เพราะอยากจะสนทนา หรือจะเป็นเมตตาธรรมของทุกท่าน ก็ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมาณที่นี้ด้วย

พระศาสนานั้น เท่าที่ผมรู้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ก็คงไม่ได้ ในความเห็นส่วนตัว ควรจะเริ่มที่ปริยัติให้หมั่นคง แล้วก็จะช่วยส่วนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีไปด้วย

อีกอย่างหนึ่ง ผมอยู่ต่างประเทศ ไม่มีโรงเรียนสอน หรือกลุ่มที่ถูกใจ (ติดข้องอีกครับ) จึง ต้องพึ่่งท่านทั้งหลายผ่านเว็บนี้ ก็หวังว่าท่านทั้งหลายจะกรุณานะครั้บ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 6 ก.ค. 2553
ครับท่านผู้เจริญเป็นธรรม ไม่ใช่เรา รูป-นาม ย่อมมาคารวะผู้มีปัญญาเป็นเรา รูป-นามจะมาเป็นนายผู้เห็นผิดผู้มีโทสะเป็นเราเสมอ โทสาคติมีพวกพ้องพรรค กลุ่มสี บ้านเมืองเสียหาย ครับท่านฯ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 ก.ค. 2553

สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาวิถีจิต หนังสือปรมัตถธรรมสังเขปก็สามารถให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีจิตเบื้องต้น ซึ่งท่านสามารถอ่านและศึกษาด้วยตนเองได้ ในหนังสือได้กล่าวจุดประสงค์ของการศึกษาปริยัติไว้โดยชัดเจน และช่วยแนะแนวทางที่ถูกต้องแก่ผู้ศึกษาพระธรรมไว้ด้วยดี สามารถใช้เป็นพื้นฐานไปสู่การศึกษาพระอภิธรรมในพระ-ไตรปิฎกและอรรถกถา รวมถึงคัมภรีต่างๆ ได้เข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น การศึกษาชื่อก็เป็นสิ่งสำคัญ รู้ชื่อถูกก็มีประโยชน์ แต่ควรที่จะศึกษาเพื่อให้ความเข้าใจชื่อนั้น เป็นปัจจัยให้รู้ตัวจริงของชื่อที่เราศึกษา ตามกำลังของสติปัญญาด้วย ปริยัติที่ถูกต้อง จะช่วยเกื้อกูลการเจริญของปัญญาในขั้นต่อๆ ไปคือ ขั้นปฏิบัติ และ ขั้นปฏิเวธ

ปล. ที่นี่ไม่มีใครปฏิเสธการศึกษาขึ้นปริยัติครับ แต่ว่าควรศึกษาโดยรู้จุดประสงค์ที่ถูกต้อง ถ้าเราศึกษาไม่ถูกจุดประสงค์ ก็จะไม่ต่างกับการศึกษาวิชาการอย่างหนึ่ง ซึ่งการศึกษาธรรมไม่ควรจะเป็นเพียงเท่านั้น เพราะประโยชน์เกื้อกูลจากการตรัสรู้และทรงพระมหากรุณาแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีมากล้นยิ่งกว่านั้นมากเหลือเกิน

ขอเชิญคลิกเพื่อโหลดหนังสือ >>> ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
dhammanath
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ครูโอ ที่ไม่เพียงกรุณาให้ข้อคิด แถมยังกรุณาหาหนังสือมาให้ ศึกษาอีกด้วย ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ