โพชฌงค์ ๗ เจริญฌาน๔ได้หรือไม่

 
sirijata
วันที่  5 พ.ค. 2553
หมายเลข  16075
อ่าน  1,545

ขอเรียนถามว่า การเจริญโพชฌงค์๗ จะเป็นผลให้เข้าถึงจตุตถฌานด้วยใช่หรือไม่คะ

ดิฉันศึกษาโพชฌงค์๗ แล้วคล้ายสัมมาสมาธิ ในระดับจตุตถฌาน จึงขอเรียนถามเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ขอเชิญคลิกอ่านความหมายโพชฌงค์ก่อนครับ

โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗

ชื่อว่าโพชฌงค์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โพชฌงค์คือองค์ธรรมในการตรัสรู้ เป็นไปในวิปัสสนา ไม่ใช่สมถภาวนา เพราะฉะนั้น

ผู้ที่เจริญโพชฌงค์จึงทำให้ได้วิชชา (ปัญญาในการดับกิเลส เป็นต้น) และได้วิมุตติคือความหลุดพ้นจากกิเลส แต่โพชฌงค์ไม่ได้เป็นปัจจัยให้ได้ฌาน 4 โพชฌงค์ที่เป็นฝักฝ่ายในวิปัสสนา วิปัสสนาไม่ได้เป็นเหตุเกิดฌาน 4 ผู้ที่บรรลุโดยที่เจริญโพชฌงค์แต่ไม่ได้ฌานก็มีครับ โดยนัยเดียวกันสมถภาวนาก็ไม่ได้เป็นเหตุให้วิปัสสนาเกิดได้ เป็นคนละส่วนกันครับ โพชฌงค์มีเหตุคือการเจริญสติปัฏฐานเป็นเหตุให้โพชฌงค์เจริญและถึงความบริบูรณ์ ฌาน 4 ไมได้เป็นเหตุให้โพชฌงค์เกิดและโพชฌงค์ก็ไม่ได้เป็นเหตุให้ฌาน 4 เกิด ซึ่งสัมมาสมาธินั้นมีหลายระดับ สัมมาสมาธิที่เป็นสมถภาวนา ที่เป็นเพียงฌานก็ได้ และแม้ไม่ได้ฌาน ขณะที่เจริญสติปัฏฐาน ขณะที่เจริญโพชฌงค์ขณะนั้นก็มีสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิด้วย แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิที่เป็นฌานครับ การได้ฌาน 4 จึงเป็นปัญญาระดับสมถภาวนาที่ได้สะสมมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2553

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 198

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร (เหตุ) ของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่าโพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็ควรกล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
sirijata
วันที่ 7 พ.ค. 2553
ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะที่เมตตา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
BudCoP
วันที่ 12 พ.ค. 2553
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16075 โดย sirijata

ขอเรียนถามว่า การเจริญโพชฌงค์๗ จะเป็นผลให้เข้าถึงจตุตถฌานด้วยใช่หรือไม่คะ

ดิฉันศึกษาโพชฌงค์ ๗ แล้วคล้ายสัมมาสมาธิ ในระดับจตุตถฌาน จึงขอเรียนถามเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น

ขอบพระคุณค่ะ

นโม เจ อรหนฺตานํ โพชฺฌงฺคานญฺจ ธมฺมานํ อคฺคํ ปฏิพุชฺฌิสฺสามิ นมสฺสามิ ยาว จุโต

ถ้าหากข้าพเจ้าน้อบน้อมพระอรหันตเจ้าและโพชฌงคธรรมแล้ว,

จักได้รู้แจ้งอัคคธรรม กล่าวคือ อริยมรรค อริยผล ไซร้,

ข้าพเจ้าจักน้อบน้อมไปตลอด จนกว่าชีพจะวายปราณนั่นแหละ.

สวัสดีครับ ทุกท่าน ขอโอกาสสนทนาธรรมด้วยคน ครับ.

โพชฌงค์มี 2 อย่าง ครับ, โพชฌงค์ในสมาธิภาวนา กับ โพชฌงค์ในวิปัสสนาภาวนา.

ผมเข้าใจว่า คุณ sirijata อาจจะอ่านโพชฌงค์ในสมาธิมาจาก วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส แถวกสิณนิทเทส, ตรงนั้น เป็นการเจริญโพชฌงค์ที่เน้นอธิบายเพื่อให้บรรลุสมาธิก่อน ครับ, จากนั้นจะมีการเจริญวิปัสสนาทับไปอีกทีหนึ่ง. ส่วน ในโพชฌงค์บรรพะนั้น จะเป็นโพชฌงค์ในวิปัสสนาระดับอุทยัพพยญาณขึ้นไปโดยตรง ครับ.

การเจริญสมาธิเพื่อภาวนาโพชฌงค์, อินทรีย์, พละ เป็นต้นนี้ สามารถหาตัวอย่างได้จากวิสุทธิมรรค (ที่กล่าวไป) , มัชฌิมนิกาย, และปฏิสัมภิทามรรค มีเรื่องอานาปานสติ เป็นต้น ซึ่งสมาธิในพระพุทธศาสนาจะต้องทำให้โพชฌงค์เจริญได้ด้วย ไม่เช่นนั้นถือว่าผิด เพราะจะไม่เป็นการภาวนาแบบ ยุคคนัทธธรรม คือ เข้าฌาน แล้ว เจริญวิปัสสนา สลับกัน ตามแบบแผนที่ท่านวางไว้ในปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 12 พ.ค. 2553

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ และผู้ที่เจริญ โพชฌงค์ ก็สามารถทำให้หายจากอาพาธได้ เช่น ท่านพระมหาจุนทะ ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
sirijata
วันที่ 20 พ.ค. 2553

ขอขอบพระคุณ คุณBudCoP และทุกท่านค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2553

เชิญคลิกอ่านที่นี่....

สมาธิสัมโพชฌงค์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
sirijata
วันที่ 15 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

เมื่อพิจารณาจากลักษณะของสมาธิสัมโพชฌงค์แล้ว ฌาณขั้นต่างๆ เป็นผลพลอยได้จากการเจริญโพชฌงค์๗ แต่โพชฌงค์๗เป็นองค์ธรรมในการตรัสรู้ ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 9

ผู้ที่เจริญโพชฌงค์ไม่จำเป็นจะต้องได้ฌานขั้นต่างๆ และผู้ที่ได้ฌานไม่จำเป็นจะต้อง เจริญโพชฌงค์ ผลพลอยได้หากจะใช้คำนี้ในการเจริญโพชฌงค์คือเป็นไปเพื่อการ ตรัสรู้ ดับกิเลสครับ แต่ไม่ใช่โพชฌงค์ทำให้เกิดฌานครับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

[๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน? สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์. สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุขอันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว. คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา.คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า

สมาธิสัมโพชฌงค์.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
sirijata
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณค่ะ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ทุกท่านค่ะ เข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นแล้วค่ะ

และขออนุโมทนากับทุกท่านที่กำลังเจริญโพชฌงค์อยู่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ