ทำไมบัญญัติชื่อว่ากาลครับ

 
จักรกฤษณ์
วันที่  30 มี.ค. 2553
หมายเลข  15802
อ่าน  1,120
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม

นั้นๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่

ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึง

ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ) .

ขออนุญาตรบกวนท่านวิทยากรช่วยขยายความในเรื่องนี้ให้ด้วยครับ

คำว่า "กาล" หมายความอย่างไร สัมพันธ์กับบัญญัติอย่างไร ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 30 มี.ค. 2553
คำว่า "กาล" ในที่นี้หมายถึง กาล เวลา เช่น วินาที นาที ชั่วโมง เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ปีใหม่ ปีเก่า เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสมมติ บัญญัติ เรียกกันเท่านั้น ไม่ใช่ปรมัตถธรรมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 30 มี.ค. 2553

ในอรรถบทนี้ท่านกล่าวถึง

กาลแห่งจิต กาลแห่งรูป

กาลแห่งพืช การแห่งหน่อ

มีความหมายอย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 31 มี.ค. 2553

หมายถึง เวลาที่ต่างกัน จิตที่เป็นอดีตก็มี อนาคตก็มี ขณะปัจจุบันก็มี

แม้รูปก็เช่นเดียวกัน ส่วนกาลแห่งพืชทั้งหลายก็เช่นเดียวกันกับคำที่

ชาวโลกใช้กันทั่วไปว่า เวลานี้พืชกำลังงอก เวลาปลูก เวลาออกดอกออกผล

เวลาเก็บเกี่ยว เป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 31 มี.ค. 2553

ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป (ปรมัตถธรรม) ก็จะไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป แต่

เพราะมีสภาพธรมที่เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ย่อมเกิดขึ้นและดับไป เพราะ

อาศัยการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมจึงมีเวลา มีกาล มีวินาที มีนาที เพราะอาศัย

การเกิดดับสืบต่อ จึงบัญญัติเป็นเวลาขึ้น อันอาศัยการเกิดดับของสภาพธรรมนั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 เม.ย. 2553

ขอพระคุณ อ.ประเชิญ และ อ.เผดิม ครับ

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมว่า

เมื่อกาลเป็นบัญญัติ

แต่กาลเกิดจากการเกิดดับของปรมัตถธรรม

อาการของการเกิดดับเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง

แต่ก็ไม่ใช่ปรมัตถนั้นๆ

แล้วจะสามารถเรียกว่าเป็นอะไรครับ ที่ไม่ใช่บัญญัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 1 เม.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ ๕

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านใช้คำว่า บัญญัติพิเศษ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 เม.ย. 2553

ขอรบกวน อ.ประเชิญ ขยายความอีกสักนิดนะครับ

ว่าบัญญัติพิเศษนั้น ต่างไปจากบัญญัติธรรมดาอย่างไร ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 2 เม.ย. 2553

ท่านใช้คำว่าบัญญัติพิเศษนั้น เพราะเนื่องกันสภาวธรรม เป็นอาการของ

สภาพธรรม เพราะเห็นแจ้งในสังขาร จึงเห็นไตรลักษณะ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 2 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ประเชิญ ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ