ประสาทที่หก กับสัมผัสที่หก อันเดียวกันหรือเปล่าครับ

 
natthaset
วันที่  2 เม.ย. 2553
หมายเลข  15813
อ่าน  1,266

ผมคิดว่า ประสาททั้งห้าคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นประสาทที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเด่นชัด ส่วนใจเป็นประสาทที่ลึกซื้งกว่า และมีอำนาจมากกว่าจริงหรือเปล่าครับ

เรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับคือ จิตที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยเครื่องมือจริงหรือเปล่าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 2 เม.ย. 2553
ตามหลักพระธรรมคำสอนแสดงว่า ปสาทรูปทั้งห้า หรือทวารทั้งห้า สามารถ รับกระทบอารมณ์เพียงห้าอารมณ์ ส่วนทวารที่หก คือ วิถีจิตทางใจ หรือ มโนทวาร รับรู้อารมณ์ได้ทั้งหมด ไม่เว้นอะไรเลย คือ รู้อารมณ์หก ทั้งกามอารมณ์ มหัคตะโลกุตตระ และบัญญัติอารมณ์ด้วย อนึ่งสภาพที่รับรู้อารมณ์มีหลายประเภทคือ รู้ด้วยจิตก็มี รู้ด้วยสัญญาก็มี รู้ด้วยปัญญาก็มี ดังนั้นการรู้ด้วยปัญญา จึงเป็นความรู้ที่กว้างขวางที่สุด ส่วนศาสตร์อื่นๆ ไม่ใช่ความรู้ด้วยปัญญาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Home
วันที่ 2 เม.ย. 2553

ปสาทรูปทั้งห้า สามารถเป็น ทวารหรือทาง ให้ วิถีจิตเกิดขึ้น รู้รูปที่มากระทบกับปสาทรูปนั้นๆ ส่วน ภวังคุปเฉท เป็น มโนทวาร คือเป็นทางให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใจ ซึ่งวิถีจิตทางมโนทวารหรือมโนทวารวิถีจิต สามารถรู้อารมณ์ได้หมดทั้งที่เป็นปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 เม.ย. 2553

สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือการศึกษาธรรมะให้เข้าใจ เพื่อรู้ความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 2 เม.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
thorn
วันที่ 2 เม.ย. 2553

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อันธวรรค ที่ ๗
จิตต สูตร ที่ ๒
(๑๘๐) เทวดา ทูลถามว่า
โลก อันอะไร ย่อมนำไป อันอะไร หนอย่อมเสือกไสไป
โลก ทั้งหมด เป็นไป ตาม อำนาจ ของ ธรรม อัน หนึ่ง คือ อะไร

(๑๘๑) พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า
โลก อัน จิต ย่อม นำ ไป อัน จิต ย่อม เสือกไส ไป
โลก ทั้งหมด เป็นไป ตาม อำนาจ ของ ธรรม อัน หนึ่ง คือ จิต

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natthaset
วันที่ 5 เม.ย. 2553

อนุโมทนาครับ ขอบคุณมากๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 16 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ขอเรียนถามค่ะ

รู้ด้วยจิตก็มี รู้ด้วยสัญญาก็มี รู้ด้วยปัญญาก็มี ตามคคห.ที่1 ของคุณ prachern.s กล่าวไว้ อยากรบกวนให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมสักหน่อยค่ะ เพราะเข้าใจว่า จิต คือ สภาพรู้ ดังนั้น

รู้ด้วยจิต นั้น ก็พอจะเข้าใจตามได้

แต่ว่า รู้ด้วยสัญญา และ รู้ด้วยปัญญา ก็ต้องเป็นจิตที่เข้าไปรู้ใช่มั๊ยคะ

(ตีความเอาเองเกรงว่า จะเข้าใจเพี้ยนไปค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 18 เม.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ ๘

ขอเรียนว่า จิต เจตสิกเป็นสภาพรู้ แต่รู้ต่างกันครับ

จิตทุกดวงรู้แจ้งอารมณ์ที่มาเป็นอารมณ์ในขณะนั้น

สัญญาเจตสิก รู้โดยจำได้หมายรู้ ต่างกับจิต

ปัญญารู้ทั่ว รู้ชัด ต่างกับการรู้แบบจิตและสัญญารู้ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ