ภวังคจิต กับ เจตนาเจตสิก

 
คนรักธรรมะ
วันที่  22 ก.พ. 2553
หมายเลข  15559
อ่าน  2,073

คือทราบมาว่า เจตนาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง และ เจตนาคือตัวกรรม

ดังนั้นจึงขอเรียนถามเพื่อความกระจ่างเพิ่มขึ้นค่ะว่า

๑. ภวังคจิต มีเจตนาเจตสิกประกอบด้วยหรือไม่คะ แล้ว ภวังคจิต เป็นกรรมด้วยหรือไม่คะ

๒.วิญญาณ ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ ก็คืออีกชื่อของ จิต ใช่มั๊ยคะ แต่ไม่เรียก จิต เพราะไม่มีเจตนาเจตสิก หรือ เจตสิกอื่่นๆ ประกอบ ใช่ไหมคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 22 ก.พ. 2553
๑.ภวังคจิต เป็นจิต โดยชาติ เป็นวิบากชาติ ไม่ใช่กรรม แต่เจตนาที่เกิดร่วมกับวิบากจิต เป็นสหชาตกรรม ๒. วิญญาณคือจิต จิตคือวิญญาณ และนอกจากนี้จิตยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น มโนมานัส หทัย ปัณฑระ เป็นต้น
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- ภวังคจิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง คือ เป็นจิต ที่เกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้, ในชีวิตประจำวัน ก็มีวิถีจิต (จิตที่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้นทางกาย และทางใจ) กับ ภวังคจิต เกิดขึ้นเป็นไป จนกว่าจะถึงขณะสุดท้ายของภพนี้ คือ ขณะที่จุติจิตเกิดขึ้น ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในภพนี้ สภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ก็เป็นแต่ละอย่างๆ มีลักษณะเฉพาะของตนๆ จะไม่ปะปนกันอย่างเด็ดขาด, "จิต" เป็นจิต ไม่ใช่กรรม เพราะสภาพธรรมที่เป็นกรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต แต่ไม่ใช่จิต ครับ - วิญญาณ กับ จิต เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน (วิญญาณไม่มีการล่องลอย ไม่มีรูปร่าง) การเกิดขึ้นของจิต นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงจิตเท่านั้น ยังมีเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต) เกิดร่วมด้วย ตามสมควรแก่ประเภทของจิตประเภทนั้นๆ จะไม่มีจิตแม้แต่ประเภทใดเลยที่เกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เช่น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น ก็มีเจตสิก ๗ ประเภทเกิดร่วมด้วย คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก และ มนสิการเจตสิก) เป็นต้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอขอบคุณค่ะ แต่ยังไม่กระจ่างเท่าไร จะขอเรียนถามเพิ่มค่ะ

๑. ขอคำอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สหชาตกรรม ด้วยค่ะ

๒. วิญญาณ จัดเป็น วิบากจิต ด้วยหรือไม่คะ

๓. แล้วเจตนาเจตสิกที่ประกอบกับทั้งภวังคจิต และ วิญญาณ มีผลก่อให้เกิดบุญหรือบาป หรือไม่คะ (คือ ถ้าเดา ก็เข้าใจว่า น่าจะไม่ก่อให้เกิดบุญและบาป แต่ก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่ทราบรายละเอียดที่มากกว่านี้น่ะค่ะ จึงขอความกระจ่างเลยดีกว่า)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนอย่างนี้ครับ ตามที่คุณกล่าวว่า เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงนั้นถูกต้องครับเจตนาก็คือกรรมอันนี้ก็ถูกนัยหนึ่ง แต่ที่คุณมุ่งหมายคงหมายถึง เป็นกรรมที่ทำแล้วให้ผล เช่น เจตนาที่เป็นไปในการฆ่าสัตว์ก็ให้ผลเกิดในนรก เป็นต้น จิตเมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้วจะต้องให้ผล แต่ถามว่าเป็นกรรมไหม เป็นครับแต่เป็นกรรมโดยนัย ที่เกิดร่วมกันกับสภาพธรรมอื่นๆ ที่เรียกว่าสหชาตกัมมปัจจัย เจตนาเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิต เจตนาเจตสิกนั้นก็ต้องเป็นประเภทวิบาก (ผลของ

กรรม) เช่นเดียวกับประเภทของจิตเพราะภวังคจิตเป็นประเภทวิบาก เมื่อเจตนาเจตสิก

เป็นชาติวิบาก เป็นกรรมเป็นกรรมโดยนัย สหชาตกัมมปัจจัย แต่ไม่มีผลของกรรมเพราะ

เป็นจิตประเภทวิบาก (ผลของกรรม) ไม่ใช่จิตประเภทกุศลและอกุศลครับ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิต จึงไม่ใช่กรรมที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่ทำให้ต้องได้รับผลของกรรมครับ เช่นเดียวกับ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตเห็น จิตเห็นเป็นจิตประเภทวิบาก (ผลของกรรม) เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยจึงเป็นชาติวิบาก เป็น

กรรมโดยนัย สหชาต กัมมปัจจัยคือเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่นๆ นั่นเอง แต่ไม่ได้เป็น

กรรมที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จะต้องให้ผลครับ เพราะฉะนั้นจะเป็นกรรมที่จะมีผลของกรรม ต้องเป็นจิตประเภทที่เป็นกุศลกรรมหรือ

อกุศลกรรม เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นจิตประเภท วิบาก (ผลของกรรม) เช่น

จิตเห็น ภวังคจิต เหล่านี้เป็นจิตประเภทวิบากคือเป็นผลของกรรม เป็นผล ไม่ใช่ตัวเหตุ

ก็จะไม่ก่อให้เกิดผลครับ เพียงแต่เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตประเภทวิบาก มีภวังคจิต

เป็นต้น แค่เกิดพร้อมกันกับกับจิตและเจตสิกอื่นๆ เท่านั้นครับ (สหชาตกัมมปัจจัย) ไม่ได้มีผลของกรรมอะไร แต่ถ้าเป็นจิตอื่นหรือวิญญาณอื่น เช่น จิตหรือวิญญาณประเภท อกุศลจิตที่เป็นไปในการฆ่าสัตว์ วิญญาณหรือจิตนี้สามารถให้ผลของกรรมได้ครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 22 ก.พ. 2553

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15559 ความคิดเห็นที่ 3 โดย คนรักธรรมะ

ขอขอบคุณค่ะ แต่ยังไม่กระจ่างเท่าไร จะขอเรียนถามเพิ่มค่ะ

๑. ขอคำอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สหชาตกรรม ด้วยค่ะ

๒. วิญญาณ จัดเป็น วิบากจิต ด้วยหรือไม่คะ

๓. แล้วเจตนาเจตสิกที่ประกอบกับทั้งภวังคจิต และ วิญญาณ มีผลก่อให้เกิดบุญหรือบาป หรือไม่คะ (คือ ถ้าเดา ก็เข้าใจว่า น่าจะไม่ก่อให้เกิดบุญและบาป แต่ก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่ทราบรายละเอียดที่มากกว่านี้น่ะค่ะ จึงขอความกระจ่างเลยดีกว่า)


1.สหชาตกัมมปัจจัย กรรมคือเจตนาเจตสิกใช่ไหมครับ ดังนั้น เจตนาเจตสิกเกิดกับจิต

ทุกดวง เจตนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกันกับเจตสิกอื่นและจิตทุกประภทเป็นสหชาตกัม-

มปัจจัย สหชาตคือเกิดร่วมกันเกิดพร้อมกัน กรรมคือเจตนาเจตสิกเพราะฉะนั้น สหชาตกรรมที่ถามมาจึงหมายถึง เจตนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกันกับเจตสิกอื่นและจิตนั้นครับ2.วิญญาณก็คือจิต แต่จิตมีหลายประเภทมีทั้งประเภทกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิตและกิริยาจิต เช่น จิตโลภ ก็เป็นจิต (วิญญาณ) ประเภทอกุศล จิตเมตตาก็เป็นจิต (วิญญาณ)

ประเภทกุศลจิต จิตเห็นก็เป็นประเภทวิบากจิต เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะใช้คำว่าจิตก็ได้ วิญญาณก็ได้ วิญญาณก็หมายถึงจิต จิตก็หมายถึงวิญญาณ ซึ่งจิตหรือวิญญาณมีหลายประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้นครับ

3.ข้อ 3 ได้ตอบแล้วในความเห็นที่ 4 ครับ คงต้องเรียนอย่างนี้ครับ ขอแนะนำให้ศึกษาธรรมพื้นฐานก่อนครับ อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปได้ที่นี่ครับ ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขอแนะนำให้ฟัง M.P 3 ชุดพื้นฐานพระอภิธรรม มี 4 แผ่น ฟังดีมากค่ะ

บรรยายโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natnicha
วันที่ 23 ก.พ. 2553

จิตทุกขณะมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อย่างที่กล่าวว่ากุศลกรรมและอกุศลกรรมก็มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย และทำให้เกิดผลของกรรม อย่างเช่นการฆ่าสัตว์ แต่ในกรณีทีี่เราไม่ได้จงใจ หรือตั้งใจทำร้ายหรือเบียดเบียนสัตว์นั้นให้ถึงแก่ชีวิต แต่สัตว์นั้นเกิดได้รับบาดเจ็บหรือตายไป ขอเรียนถามว่าอย่างนั้นเราก็จะได้รับผลของกรรมที่เกิดจากการฆ่าเบียดเบียนสัตว์ด้วยหรือไม่คะ

และอย่างเช่นคนวิกลจริตหรือคนที่เสพยาเสพติด หรือคนที่ปกติแต่พลั้งมือฆ่าบิดาหรือมารดาโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างนี้เท่ากับทำอนันตริยกรรมด้วยหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขอบคุณค่ะ คุณ khampan.a ที่กรุณาอธิบายค่ะ (ตอนที่ตอบความคิดเห็นที่ ๑ ของคุัณ prachern.s ยังไม่เห็นความคิดเห็นของคุณค่ะ ก็เลยเพิ่งจะได้มาอ่านนี่ล่ะค่ะ)

เข้าใจว่า วิญญาณ เป็นอีกชื่อของ จิต แต่เพราะชื่อที่แตกต่าง และ ความไม่ละเอียดของตัวเอง ก็เลยไม่ได้พิจารณาให้ดีก่อน และเมื่อทราบว่า เจตนาเจตสิกที่ประกอบอยู่กับจิตทุกดวงอย่างนี้ ก็สงสัยว่าจะเป็นบุญบาปหรือไม่อย่างไร เพราะ วิญญาณที่เกิด ไม่ว่าจะทางทวารใด ก็มักจะไม่มีความจงใจ (เจตนา) ให้เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเอง (รวมถึงภวังคจิตด้วยน่ะค่ะ)

คำอธิบายของคุณ paderm ช่วยให้ความกระจ่างได้มากค่ะ เ้ข้าใจว่า เจตนาเจตสิก ถ้าเกิดร่วมกับวิบากจิต (ซึ่งนอกจาก วิญญาณ และ ภวังคจิตแล้ว จะมีจิตในชื่ออื่นที่เป็นวิบาก อีกหรือไม่ก็ยังไม่ทราบค่ะ เพราะมีความรู้อยู่แค่นี้ ก็ขอรู้แค่นี้ไปก่อน) ซึ่งก็เป็นผลอยู่แล้ว จึงไม่ให้ผลใดๆ อีก

ปรมัตถธรรมสังเขปที่ท่านแนะนำมา ก็เคยดาวน์โหลดไว้แล้ว แต่เพิ่งอ่านเล็กน้อยเองค่ะ

เรียน คุณ wannee.s ค่ะ mp3 ที่ท่านแนะนำมา สามารถหาโหลดได้จากเวปนี้ใช่มั๊ยคะ จะลองหาดูนะคะ

ขออนุโมทนาสำหรับความคิดเห็นของทุกท่านค่ะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 23 ก.พ. 2553
เรียนความเห็นที่ ๗ ครับถ้ากรณีที่ไม่ตั้งใจไม่จงใจ ไม่เป็นกรรม เมื่อไม่เป็นกรรม ผลก็ไม่มี แต่ต้องไม่มีเจตนาจริงๆ เช่น กำลังเดินไป ไม่รู้ว่ามีมดอยู่ที่พื้น เหยียบมดตายโดยไม่รู้ แบบนี้ชื่อว่า ไม่มีเจตนา แต่ในกรณี ที่คนวิกลจริตหรือพวกคนเมาสุรายาเสพติด หรือคนปกติ ที่ใช้คำว่าพลั้งมือฆ่ามารดาบิดา เป็นอกุศลกรรม และเป็นอนันตริยกรรมแน่นอน จะบอกว่าไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีเจตนาไม่ได้ ส่วนคนวิกลจริตอาจจะมีกำลังน้อยกว่าคนทั่วไปครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 23 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 7

เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง แต่ไมได้หมายความว่าจะต้องมีผลของกรรมทุกครั้ง

ในกรณีที่คุณถามว่าเราไม่มีเจตนาจงใจทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ แต่สัตว์น้นตาย เป็นต้น

เช่น เดินไปเหยียบมด มดตายเพราะเราเหยียบ แต่เราไม่ได้มีเจตน จงใจฆ่ามด อาจจะ

สงสัยว่าในขณะนั้นก็มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยจะบาปไหม มีผลของกรรมไหม ไม่มี

ผลของกรรมครับ เหตุผลเพราะเจตนาเจตสิกที่เกิดรวมด้วยนั้น ไม่ใช่เจตนาที่เป็นไป

ในการฆ่าอันจะทำให้เป็นอกุศลกรรม แต่เป็นเพียงเจตนาที่จะเดินไปก็ได้ ไม่ใช่เจตนา

ที่เป็นไปในทางทุจริต เจตนาเจตสิกนั้นจึงไม่มีผลของกรรม เพียงแต่เกิดร่วมพร้อมกับ

สภาพธรรมอื่นๆ ครับ เป็นสหชาตกัมมปัจจัยตามที่เคยอธิบายในความเห็นก่อนๆ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่...ผู้วิกลจริต

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
peem
วันที่ 2 มิ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ