บุคคลแบ่งเป็นกี่จำพวกครับ จำพวกไหนที่จะเป็นอริยบุคคลไม่ได้เลย

 
ขอธรรมทาน
วันที่  16 ก.พ. 2553
หมายเลข  15507
อ่าน  4,223

ได้ยินมาว่ามี ติเหตุกะ

เท่านั้นที่บรรลุได้

ความหมายของ "ติเหตุกะ" แปลว่าอะไรครับ

ติเหตุกะ คืออะไรครับ?

รู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเป็น ติเหตุกะ?

พวกเราจะสามารถรู้ตัวได้หรือไม่ ว่าเราเป็น ติเหตุกะ หรือไม่ใช่?

แล้ว ติเหตุกะ เกิดจากอะไรครับ? มีวิธีทำให้คนที่ไม่ใช่ ติเหตุกะ เป็น ติเหตุกะ หรือไม่? หรือมีวิธีทำให้ลูกหลานเป็น ติเหตุกะ หรือไม่?

นอกจาก ติเหตุกะ แล้วยังมีบุคคลอีกกี่ประเภทครับ และแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?

ขอบคุณครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ก.พ. 2553

คำอธิบายติเหตุกะ ขอเชิญคลิกที่ ติเหตุกปฏิสนธิ

ทวิเหตุกบุคคล - ติเหตุกบุคคล

ติเหตุกบุคคล

เราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครปฏิสนธิด้วยติเหตุ แต่พอจะอนุมาน (คาดเดา) จากการศึกษาได้บ้าง ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยติเหตุกปฏิสนธิ เป็นผลจาก เหตุ คือกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาการจำแนกบุคคลโดยเหตุมี ๓ คือ อเหตุกะ ทวิเหตุกะ ติเหตุกะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2553
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 16 ก.พ. 2553

ขอบคุณ อ. ประเชิญ ครับ

ขอถามเพิ่มดังนี้ครับ

1 สำหรับผู้ที่ยังมิได้เกิดเป็น ติเหตุกบุคคล ในชาตินี้ เขาจะบรรลุแม้ระดับโสดาบันได้มั้ยครับ

2 หากไม่ได้ เขาควรทำอย่างไรเพื่อที่ในอนาคตกาลจะได้เกิดมาเป็นติเหตุกบุคคลและได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนา ได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง ได้เข้าใจ และได้บรรลุธรรมในชาตินั้นๆ

3 แม้พระพุทธเจ้า ก็เคยเกิดเป็นทวิเหตุกบุคคลหรืออเหตุกบุคคลใช่มั้ยครับ

4 อเหตุกบุคคล คืออะไรครับ

5 ภูมิเทวดานั้น เป็นอเหตุก หรือทวิเหตุก หรือติเหตุก ครับ? (ได้ข่าวว่ามีเทวดาฟังธรรมแล้วบรรลุหลายตน)

ุึุ6 พรหมนั้นเป็น ติเหตุก ใช่มั้ยครับ?

7 ภูมิของพรหมนั้น ฟังธรรมแล้วบรรลุได้ด้วยใช่มั้ยครับ?

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 16 ก.พ. 2553

ขอเพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับ

8 อยากทราบว่าพระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับ ติเหตุกบุคคล , ทวิเหตุกบุคคล , อเหตุกบุคคล ไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ

9 บัว 4 เหล่านี้

ที่เป็นบัวพ้นน้ำ บัวปริ่มน้ำ บัวใต้น้ำ ถือเป็น ติเหตุกบุคคล ใช่มั้ยครับ

ส่วนบัวในตม ถือเป็น ทวิเหตุกบุคคลและอเหตุกบุคคล ใช่หรือไม่ครับ

10 ผู้ที่มีปัญญาล้ำเลิศ เป็นผู้นำประเทศ เป็นปัญญาชน ได้ปริญญาเอก เป็นด๊อกเตอร์ เป็นแพทย์เฉพาะทาง ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดต่างๆ พวกนี้อนุมานว่า น่าจะเป็น ติเหตุกบุคคล เสียส่วนใหญ่ได้หรือไม่ครับ?

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนความคิดเห็นที่ 3-41.ผู้ที่ไม่ได้เกิด้วยปฏิสนธิด้วยติเหตุกะ ที่ประกอบด้วยปัญญาไม่มีทางบรรลุในชาตินั้น

แม้ความเป็นพระโสดาบันครับ

2. เจริญกุศลอันเป็นไปเพื่อน้อมไปในการได้ปัญญาและฟังธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมและ

เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา เชิญคลิกอ่านที่นี่

ความเกิดขึ้นของกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา [ธรรมสังคณี]

เหตุ ๘ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา [ปัญญาสูตร]

3. ถูกต้องครับ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นทวิเหตุกบุคคลและอเหตุกบุคคล เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก เป็นต้น

4. อเหตุกบุคคลคือบุคคลที่ปฏิสนธิที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเจตสิก มีสัตว์ที่เกิดในทุคติภูมิ เป็นต้น เชิญคลิกอ่านที่นี่..อเหตุกปฏิสนธิ

5. เทวดาปฏิสนธิด้วย อเหตุกปฏิสนธิ ทวิเหตุกปฏิสนธิและติเหตุกปฏิสนธิก็ได้ครับ แต่ถ้าเป็นเทวดาที่ฟังธรรมแล้วบรรลุ ต้องปฏิสนธิด้วย ติเหตุกปฏิสนธิคือประด้วยปัญญาเท่านั้นครับ

6. ใช่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2553

7.พรหมสามารถฟังธรรมแล้วบรรลุได้ ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม ยกเว้น อสัญญสัตตาพรหม

และอรูปพรหมที่ยังไม่ใช่พระอริยบุคคล ไม่สามารถบรรลุได้ในชาตินั้นครับ

8. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 4159.ถุกต้องครับเพราะบัว 3 พวกแรกสามารถบรรลุได้ในชาตินั้นครับ บัวประเภทที่ 4 ไม่มี ทางบรรลุในชาตินั้นจึงไม่ใช่ติเหตุกบุคคลครับ เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.......ดอกบัว ๔ เหล่า [อรรถกถามหาปทานสูตร]

10.ไม่จำเป็นและไม่เสมอไปครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 17 ก.พ. 2553

^

^

ขอบคุณ อ. paderm มากๆ ครับ

อุตส่าห์สละเวลาไขข้อข้องใจให้ผม ^_T

ขออนุโมทนาในธรรมทานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 17 ก.พ. 2553

ดังนั้น... ก็หมายความว่า "เวไนยสัตว์" ก็คือ "ติเหตุกบุคคล" นั้นเองใช่มั้ยครับ

ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 4 จำพวก คือ

๑. จำพวกตัณหาจริต
๒. จำพวกทิฏฐิจริต
๓. จำพวกสมถยานิก
๔. จำพวกวิปัสสนายานิก

อย่างนี้ใช่หรือไม่ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 17 ก.พ. 2553

และจาก 4 จำพวกด้านบน

ก็จะแบ่งได้อย่างละ 2 พวกอีก

คือ ตัณหาจริตปัญญามาก 1 และ ตัณหาจริตปัญญาน้อย 1

คือ ทิฏฐิจริตปัญญามาก 1 และ ทิฏฐิจริตปัญญาน้อย 1

คือ สมถยานิกปัญญามาก 1 และ สมถยานิกปัญญาน้อย 1

คือ วิปัสสนายานิกปัญญามาก 1 และ วิปัสสนายานิกปัญญาน้อย 1

อย่างนี้หรือเปล่าครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 17 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 9-10

เวไนยสัตว์ก็คือหมู่สัตว์ที่สามารถที่จะรู้ตามได้ ตรัสรู้ได้ ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ก็ต้องเป็นติเหตุกบุคคล

ส่วนเรื่องจะแบ่งเป็นกี่ประเภท กี่พวกนั้น พระพุทธองค์ทรงฉลาดในการเทศนาให้

เหมาะสมกับอัธายาศัยของสัตว์โลก จึงจัดแบ่งหมู่สัตว์เป็นแบบต่างๆ ครับ อย่างที่คุณ

กล่าวในเรื่องแบ่งบุคคลเป็น 4 ประเภท เป็นตัณหาจริต เป็นต้น ในความเห็นที่ 9 และ

10 พระองค์ทรงแบ่งอย่างนั้นด้วยอำนาจของอารมณ์ของสติปัฏฐาน ที่มี 4 อย่างจึงแบ่ง

บุคคลไปตามสติปัฏฐานที่มี 4 ครับ เพราะฉะนั้นจึงแล้วแต่จุดประสงค์ของพระองค์ว่า

ทรงแสดงเรื่องอะไร ก็ทรงแบ่งไปตามนั้นครับ ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้องมีเท่านี้ประเภท

แล้วแต่โวหารเทศนาของพระองค์ เพื่อให้หมู่สัตว์ได้เข้าใจในสิ่งใดก็ทรงแสดงไปใน

เทศนานั้นตามความเหมาะสมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 18 ก.พ. 2553

ขอบคุณครับ...

'u'

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sam
วันที่ 18 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 19 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
homenumber5
วันที่ 20 ก.พ. 2553

เรียนอาจารย์ประเดิม

อนุโมทนาที่อาจารย์ได้ตอบและเชื่อมโยงให้ เห็น การปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายใน ภพภูมิต่างๆ ถ้าโลกไม่ขาดสูญซึ่งการสิกขาพระพุทธธรรมแล้ว อริยบุคคลย่อมไม่สูญหาย ขอเชิญชวนทุกท่านมาอ่าน ฟังพระธรรม มากๆ ค่ะ ก่อนที่ไฟ โลภะโทสะ โมหะจะไหม้โลกนนี้ไป

ขอให้อาจารย์เป็นที่พึ่งแก่ ชาวพุทธที่ยัง ปรารถนาการสิกขาธรรมต่อไปนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 21 ก.พ. 2553

การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
rukawa119
วันที่ 24 ก.พ. 2553

เรียนสอบถาม อ.ประจำมูลนิธิให้ชัดเจนอีกสักครั้งครับ

1.การที่บุคคลจะปฏิสนธิเป็นติเหตุกบุคคลเวลาเมื่อจะเจริญกุศล ท่านเหล่านั้นขณะเจริญกุศลสภาพธรรมเกิดในลักษณะใดครับ เช่นขณะใส่บาตร ขณะใดที่เป็นการเจริญกุศลที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย หรือการเจริญกุศลอื่นๆ ทุกประการมีสภาพธรรมที่เป็นกุศลเกิดร่วมมีลักษระอย่างไรบ้าง ขอความกรุณาขยายความให้ชัดเจนด้วยครับ

2.การให้ธรรมเป็นทาน เช่นถวายหนังสือธรรม อุปถัมภ์การเรียนพระธรรม จะเป็นปัจจัยที่มีกุศลเกิดร่วมด้วยหรือไม่ หรือแล้วแต่สภาพจิตขณะนั้นครับ

3.การเจริญกุศลอื่นๆ เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาร่วมด้วยได้หรือไม่ครับ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
paderm
วันที่ 24 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 18

1. ปัญญาคือความเห็นถูก เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งก็มีหลายระดับตามระดับของปัญญา กุศลมีทั้งขณะที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญา ขณะที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญาคือขณะนั้นมีความเห็นถูก ความเห็นถูกหรือปัญญามีทั้งระดับที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าเป้นธรรม หรือปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยงของสภาพธรรม เป็นต้น เช่น ขณะที่ใส่บาตรหรือให้ทาน ปัญญาเกิดขึ้นรู้ว่าการให้ทานมีผล เหตุมีผลก็มี ขณะนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาระดับหนึ่งหรือขณะที่ให้ทาน ปัญญาเกิดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นกุศลในขณะให้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่ก็เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง หรือพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของความไม่เที่ยงของสภาพธรรมที่เป็นกุศล ขณะให้ทานในขณะนั้น กุศลอื่นๆ ก็นัยเดียวกันครับ

2.การให้หนังสือหรือให้ธรรมในสิ่งที่ถูกต้องก็ต้องเป็นเจตนาดีที่จะให้บุคคลอื่นเข้าใจก็ต้องเป็นกุศล แต่ถ้าให้ในธรรมที่ผิดจะเป็นกุศลไม่ได้เลยครับ

3.กุศลประการอื่นๆ เมื่อเกิดขึ้น สามารถมีปัญญาเกิดร่วมด้วยครับ เพราะปัญญาเป็นสภาพที่รู้ตามความเป็นจริง ไม่ว่าในสภาพธรรมประเภทใด ปัญญาเกิดรู้โดยได้ครับ

แต่ไมได้หมายความว่าให้ทานมากๆ แล้วจะมีปัญญา แต่หมายความว่าปัญญาสามารถเกิดรู้ตามความเป็นจริงในขณะให้ทานได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 24 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
homenumber5
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ประจำบ้านธัมมะดังนี้

1.ผู้ที่เป็นติเหตุกะบุคคลนั้น เป็นผู้ที่ปฎิสนธิ์ด้วยจิต ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ใช่หรือไม่คะ หรือจะด้วยจิตอื่นๆ อีกบ้าง

2.ตามลำดับขั้นการภาวนานั้น บุคคลที่มีฌานจิตเท่านั้นจึงจะสามารถทำสมาธิภาวนาเป็นสมถภาวนาในพุทธศาสนา (มิได้หมายถึงสมาธิในทางโลกนะคะ) หรือ ว่า บุคคล

ต้องทำสมาธิแบบสมถภาวนาก่อนจึงได้ฌานคะ

3. ในปุถุชนที่ สร้างกุสลกัมม10ประการ ขณะใด ด้วยบุญประเภทใด จึงขณะนั้น โสมนัส สหคตัง หสิตุปาทจิตตัง อสังขาริกัง กามาวจร อเหตุกะกิริยจิตตัง จึงจะทำงาน

คะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 27 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 211.ผู้ที่เป็นติเหตุกบุคคล ปฏิสนธิจิตต้องประกอบด้วยปัญญา อันเกิดจากมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา รูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลครับ เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตเป็นมหาวิบากจิต (กามาวจร) ที่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ เป็นรูปาวจรวิบากจิต 5 ดวงและ

อรูปาวจรวิบากจิต 4 ดวงก็ได้ครับ

2.ผู้ที่เจริญสมถภาวนาเท่านั้นจึงจะได้ฌานจิตที่เป็นกุศลฌานครับ ส่วนคนที่ทำสมาธิ

โดยไม่ใช่สมถภาวนาเป็นอกุศลฌานครับ เพราะฉะนั้นสมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิกเกิด

กับจิตทุกดวงจึงเป็นสมาธิที่เป็นกุศลหรือกุศลก็ได้ครับ

3.หสิตุปาทจิตเป็นจิตที่เกิดการยิ้มแย้มของพระอรหันต์เท่านั้น ไม่ใช่ของพระอริยบุคคล

ขั้นอื่นและปุถุชนผู้ที่เกิดจิตประเภทนี้ก็ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นครับ เพราะฉะนั้นจะ

เป็นพระอรหันต์ได้ก็ต้องเริ่มจากรฟังพระธรรมให้เข้าใจก่อนนะครับ เริ่มจากคำว่า ธรรม

คืออะไร ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ