ชีวิตประจำวันเป็นอกุศล?

 
narong.p
วันที่  23 ม.ค. 2553
หมายเลข  15237
อ่าน  1,228

จากการศึกษาก็ทราบว่า ขณะ ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้นเป็นกุศล

นอกนั้นเป็นอกุศลจิต ฟังแล้วสามารถเข้าใจได้

แต่เมื่อได้ฟังท่านอ.สุจินต์กล่าวว่า การดูแลสุขภาพเช่นการออกกำลังกาย

เป็นการรักตน เป็นโลภะ ก็เข้าใจได้ในเหตุผล

แต่การดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหรือการเลือกทานอาหาร

ที่มีประโยชน์ และสารพิษน้อยเช่นผักไร้สารพิษ ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำไม่ใช่หรือ?

หรือการดูแลสุขภาพของปุถุชนอย่างไรที่ไม่เป็นอกุศลครับ

หรือว่าการที่พูดว่าการดูแลสุขภาพก็เป็นโลภมูลจิตสำหรับปุถุชน

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรทำเพียงแต่ให้เข้าใจถูกว่าสภาพจิตขณะนั้นเป็น

อย่างนั้นจริงๆ ซึ่งถ้าสติไม่เกิดก็ไม่สามารถรู้ได้เลย

แล้วมีไหมครับสำหรับปุถุชนที่ดูแลสุขภาพด้วยกุศลจิตครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
รากไม้
วันที่ 24 ม.ค. 2553

การออกกำลังกาย ก็เพื่ออยากให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อทีี่จะได้มีชีวิตอยู่ได้นานๆ และไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ...คือเราใช้พลังงานไปกับการสนองกิเลส

หากเรา เอาเรี่ยวแรงไปทำกิจ ที่เป็นกุศล ช่วยเหลือสังคม หรือทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ หรือปลูกผักปลูกต้นไม้ ...ก็นับว่า เป็นความเห็นถูกครับ

ส่วนเรื่องผักปลอดสารพิษนั้น ก็เป็นการสนองความต้องการ เช่นกันคือ เราต้องการเลือกหาสิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่ตัวเรา (ทั้งๆ ที่ เราซื้อผักไปกิน ไม่ได้ซื้อหาสิ่งที่ดีที่สุด)

ถ้าเอา "จิตที่เป็นไปในกุศล" ไปจ่ายตลาด ก็จะเป็นดังนี้ครับ

...เราเดินไปตลาดที่เหมาะสมคือ เป็นตลาดที่สะดวกซื้อ ใกล้บ้านไม่เสียเวลาเดินทางมากนัก เป็นตลาดที่สะอาดเพื่อความปลอดเชื้อโรค ไม่ใช่ว่าต้องเป็นตลาดที่ต้องมีติดแอร์เพื่อที่เราจะได้สบายตัว , มองหาร้านที่ควรซื้อ ไม่ใช่หาร้านที่เราถูกใจแม่ค้าพ่อค้าเพราะหน้าตาดี ควรเป็นร้านที่พูดจาดี ดูแล้ว เป็นคนมีจิตใจดี และขายสินค้าในราคาที่ไม่เอาเปรียบ , เลือกหาผักเฉพาะที่ต้องการใช้ ไม่ใช่ซื้อเยอะๆ ไปสะสมเพราะราคาถูก , เลือกผักที่ ไม่เน่า ไม่เหี่ยว , กลับบ้าน เอาผักแช่น้ำยาล้างสารพิษ ...แค่นี้คุณก็จะได้ทั้งผักปลอดสารพิษ และ กุศล

ฟังดูแล้ว เหมือนว่าจะละเอียดเกินไป ใช่ไหมครับ ดูมันยุ่งยากเหลือเกิน ...ถ้าคิดเช่นนั้น ก็แสดงว่า ยังไม่มีความเห็นถูก แต่นั่นก็เป็นปกติธรรมดา เพราะคุณหรือใครๆ นั้น ยังไม่ใช่ ผู้ที่รู้ทันกิเลส

หากเป็นผู้ที่มี ความรู้เท่าทันกิเลส ...ก็จะรู้สึกตัวได้เองทันที (ทันทีจริงๆ ) ที่มีกิเลสใดๆ มากระทบจิต ซึ่งคงจะทำได้ละเอียดกว่าที่ผมอธิบายไว้ ซัก 2-3 เท่า และโดยที่ไม่ต้องคิดหรือทำตามแบบที่ผมว่าไว้เลย ทุกอย่างจะเป็นไปเองโดยปกติของ ผู้ที่รู้เท่าทันกิเลส ....และเมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว พวกเขาจะ รู้สึกสบายใจ โล่งๆ โปร่งๆ ว่างๆ อย่างที่คนปกติไม่เคยเป็นกัน

เพียงแค่ จ่ายตลาด ก็เป็นกุศลได้แล้วครับ ...ผู้ที่รู้แจ้งแล้ว กุศลจิต จะเกิดตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลาเลยครับ แล้วไม่ต้องมีใครขอ ใครสั่งให้ทำเลย

ขอสรุปในตอนท้ายนี้ว่า ทุกๆ เวลาที่ผ่านไปของ ผู้ที่รู้แจ้ง จะทำกิจเหมือนอย่างที่คนทั่วไปที่มีกิเลสทำกันนั่นแหละครับ อาจต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น ...แต่ว่าสิ่งที่อยู่ในจิตใจนั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใฝ่ธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
sunshine
วันที่ 24 ม.ค. 2553

ปัญหาไม่จะอยู่ที่ว่าใครทำอะรได้หรือใครทำอะไรไม่ได้ อย่างนี้ผิดหรืออย่างนี้จึงถูก

คล้ายๆ กับว่าใครเป็นบุคคลโสดาบัน หรือ ใครเป็นพระอรหันต์ ท่านเหล่านี้มีใจที่ปุถุชนไม่อาจหยั่งถึงอ่านได้ ต่อเมื่ออยู่ในสภาวะเดียวกันเท่านั้นจึงจะรู้

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ธรรมเป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตน ควรน้อมเข้ามาใส่ตน"

ธรรมเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติในขั้นแรก ขั้นต่อมา เมื่อปฏิบัติจึงเห็น เมื่อเห็นจึงศรัธทา เมื่อศรัทธา แล้วจึงเชื่อ เมื่อเชื่อก็ปฏิบัติตามธรรม สมควรแก่ธรรม เมื่อปฏิบัติตามธรรมก็มีโอกาสได้พบพระองค์

พระองค์ทรงตรัสอีกว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา"

จึงขอให้ท่านใคร่ครวญอีกทีว่าท่านปฏิบัติธรรมเพื่อสิ่งใด แล้วอะไรคือหัวใจของศาสนาจะได้ไม่เสียเวลาอยู่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่วนเวียนไม่จบ เพราะชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งเล็กน้อยเป็นของสั้นอยู่แล้ว การได้อัตภาพมนุษย์เป็นของยากและธรรมก็เป็นเรื่องลึกซึ้งเป็นของยาก ยังไม่รู้ว่าวันไหนจะได้เห็นธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
thorn
วันที่ 25 ม.ค. 2553

การใช้ชีวิตประจำวัน นั้น ก็เป็นไปตามสภาวธรรม จะไปออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือ เลือกรับประทานอาหารปลอดสารพิษ ก็เป็นไป เพื่อบำบัดทุกข์ อันเกิดจาก การที่เกิดมา มี กาย ก็มีทุกข์

ปุถุชน ย่อมมีกิเลส นับแต่อนุสัยกิเลส ที่นอนเนื่อง พร้อมที่จะให้อกุศลจิตเกิดได้เสมอ ดังนั้น ก็อยู่ที่ใคร จะตระหนัก รู้ ถึงสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ว่า ได้รู้ตามความเป็นจริงหรือเปล่า

ขณะที่ไป ออกกำลังกาย หรือ เลือกรับประทานอาหารนั้น เป็น อกุศลกรรมบถ บ้าง มากน้อยแค่ไหน มีมโนกรรม อภิชฌา พยาปาท หรือ ทิฏฐิ หรือ อกุศลวจีกรรม และอกุศลกายกรรม หรือ ว่า เป็นไป ตาม กุศลกรรมบถ ทาน ศีล ภาวนา กำลังเจริญกุศล หรือ เจริญอกุศล

แน่นอน ปุถุชน ย่อมมีกิเลส อันเกิดจากอกุศลจิต ซึ่งมีถึง 12 ประเภท โดยเฉพาะ โลภมูลจิต มี 8 ประเภท ตั้งแต่ โลภะที่ไม่ได้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ขณะที่อยู่เฉยๆ อยากรู้ ก็เป็นโลภะนี้แล้ว กุศลจิต ก็เหมือนกัน มีกุศลที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา แต่ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นก็เป็นสภาพธรรมะ เป็นวิบากกรรม ที่จิตอันวิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส และจิตนั้น วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้นั้น ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ ให้รู้ สภาพธรรมตามความเป็นจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีปัญญารู้ ธรรมะเท่าไหร่ก็ปฏิบัติธรรมะตามที่รู้ ใช้ชีวิตทุกวันนี้ กำลังเจริญกุศล หรือ กำลังเจริญอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 26 ม.ค. 2553

ผมว่าจริงครับ

ชีวิตประจำวันพวกเราส่วนใหญ่อยู่กับกิเลส

คือ โลภะ โทสะ โมหะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
hadezz
วันที่ 28 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

ก็แน่นอนอยู่แล้วหล่ะ ดิฉันไม่ได้ว่าเจ้าของกระทู้นะค่ะ ดิฉันคิดว่าเป็นตัวดิฉันเอง กิเลสที่สะสมมานานนนนนนนนนนจนไม่รู้ตัวว่ามีกิเลสก็ยังหลงติดอยู่ มีก็ว่าไม่มี ก็ไม่คิดขัดเกลามันก็เพิ่มขึ้นมาอีกและก็เนียนเสียด้วย พอมาฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ได้คิดได้ศึกษาทุกๆ กรณี มันก็ยังมีอยู่น่ะแต่มันละเอียดเนียนมากเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 28 ม.ค. 2553

ผมเข้าใจว่า กุศลขั้นทาน และศีลนั้น ต้องอาศัยโอกาสและองค์ประกอบหลาย

ประการ แต่กุศลจิตที่เป็นวิปัสนาภาวนา เป็นไปได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และทุกการ

กระทำครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ