เรื่องสมมติ และ ความเป็นจริง

 
พุทธรักษา
วันที่  7 ก.ย. 2552
หมายเลข  13483
อ่าน  1,106


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่ประเทศอินเดียณ พระคันธกุฎี พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ตุลาคม ๒๕๔๒

ท่านผู้ฟัง ผมรู้สึกว่า ฟังมาก ก็ยังรู้น้อยอยู่ดีใครครับ ที่ฟังน้อย แล้วรู้มาก ปัจจุบัน มีไหมครับ

ท่านอาจารย์ ปัจจุบัน จะมีได้ไหม ก่อนอื่น ต้องเป็นผู้ตรง "อุชุปฏิปันโน" เป็นคุณสมบัติของพระโสดาบัน ก่อนจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ต้อง ตรง ต่อ "ความจริง" ไม่รู้ คือ ไม่รู้ ... รู้ คือ รู้เข้าใจ คือ เข้าใจ ... ไม่เข้าใจ คือ ไม่เข้าใจแล้ว ศึกษาไป จนกว่าจะ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ

ท่านผู้ฟัง พระอริยสาวกทุกท่าน ชื่อว่า "พหูสูต"แม้ว่า ฟังเพียงคาถาเดียว แต่ในอดีตชาติ ท่านต้องเคยฟังมาก

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า วิชชาจรณะสัมปันโน รวม พหูสูต ไว้ด้วยหรือเปล่าคะ

ท่านผู้ฟัง ฟังน้อย รู้มาก หมายเฉพาะชาตินั้นหรือครับ

ท่านอาจารย์ ขณะไหน ที่ฟังแล้ว รู้ ต้องมีการสะสม ไม่ใครบ้างคะ ที่ไม่เคยสะสมความเข้าใจจากการฟังพระธรรมมาเลยแล้วอยู่ดีๆ เมื่อฟังแล้วก็ รู้

คุณบุตร สาวงษ์ ในการฟังพระธรรม ด้วยความเคารพ นี้คุณแม่ มีการแสดงธรรม และในความพยายามที่จะฟัง เพื่อความเข้าใจสภาพธรรม นั้นความพยายามนั้น ต้องเป็น วิริยเจตสิก ผมได้ฟังมา จากอาจารย์สมพร ท่านก็แปลจากศัพท์คำว่า "พยายาม" นี้ ไพเราะมาก ก็จะขอเล่า ให้ทุกท่านฟังด้วย "วายามะ" นี้ แปลมาจากศัพท์ คือ "วาโย"คำว่า "วาโย" นี้ อาจารย์สมพร ท่านบอกว่าเป็นไปเหมือนวาโย เพราะ วาโยนี้ พัดไปพัดมากระทบกันที่อะไร ที่สะอาด หรือที่ไม่สะอาด ก็ไม่เบื่อหน่ายเลย นี่ก็หมายความว่า "วายาโม" ความพยายาม นี้ ก็เหมือน "ลม"เข้าใจศัพท์แล้ว รู้สึกไพเราะ และ สบายใจ

ท่านอาจารย์ ขอถามนิดหนึ่ง ทำไมถึงสบายใจ สบายใจอย่างไรคะ

คุณบุตร สาวงษ์ สบายใจ เพราะเข้าใจว่า "วาโย" นี้ มีอรรถ คือ เหมือนลมอาจจะมีความเข้าใจในความพยายาม คือ มีความอดทน เหมือน วาโยต้องเคารพในการฟังพระธรรม เหมือน วาโย

วาโย นี้ ... ควรจะเข้าใจว่า ไม่เบื่อหน่าย ในสิ่งที่สะอาด และไม่สะอาด ธรรมะ นี้ สบายใจเพราะเป็นคุณธรรมที่ดีที่สุด ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ว่า บุคคล จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เพราะ ความพยายาม นั้น เพราะฉะนั้น คุณธรรมนี้ ก็เปรียบเหมือน วาโย นี้คือ ความไพเราะ และ ผมก็สบายใจ เพราะ ธรรมะ นี้ เป็นความจริง อย่างนั้น ครับ

ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่า ท่านผู้ฟัง มีความเห็นว่าอย่างไรคะ

ท่านผู้ฟัง เรื่องของศัพท์ คงจะมีหลากหลายความหมายเพราะคำว่า "วายามาะ" หรือ "วิริยะ" อาจจะมีรากศัพท์อันเดียวกันขึ้นอยู่กับว่า ความหมายของ "ธาตุ" เพราะว่า "ธาตุ" นั้น มีหลายอรรถธาตุๆ หนึ่ง มีหลายความหมาย แต่ผมยังไม่รู้ว่า คำนี้มีรากศัพท์จากคำว่าอะไรแต่ก็หมายถึง ความไม่ท้อถอยคำว่า "วิริยะ" คือ ไม่ท้อแท้ เป็นสภาพธรรมที่อุดหนุน ค้ำจุน และ เรื่องของพระสูตรที่แสดงให้มีความเพียร คือ วิริยะผู้ที่มีวิริยะ ก็ล่วงจากทุกข์ได้ คือ พ้นทุกข์ได้ถ้ามีความเข้าใจ ก็เห็นอานิสงส์ของ วิริยะและ จิต ก็น้อมไปในความเพียรเองไม่มีใครสามารถทำให้ ความเพียร เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ขณะที่มีความเพียร แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่งก็เป็นเรา ที่ทำความพากเพียร ซึ่งก็ไม่สามารถละความเป็นตัวตนได้

ท่านอาจารย์ เฉพาะ วาโยธาตุ เท่านั้นหรือคะ ที่พัดพาทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยไม่ติดข้อง ไม่ไยดีแล้ว ปฐวีธาตุ ละคะ

คุณบุตร สาวงษ์ ก็เหมือนกันครับจะมีอะไรที่สะอาด หรือ ไม่สะอาด ตกลงบนแผ่นดินก็เหมือนวาโยธาตุ ซึ่งไม่เบื่อหน่าย และ เตโชธาตุ ก็เช่นกันครับ

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธาตุทั้ง ๔ ก็เป็นเพียง ธาตุอย่างเช่น ธาตุดิน ก็เป็นสภาพที่รองรับเป็น "อุปมา" เท่านั้นเอง เช่น ไม่ว่าจะวางดอกไม้ลงไป หรือ ทำสิ่งที่ไม่ดีลงไปบนแผ่นดิน ... แผ่นดิน ก็ไม่หวั่นไหว เพราะว่า "ความจริง" คือ ธาตุเหล่านี้ เป็น "รูปธาตุ" ไม่ใช่ "นามธาตุ" แต่ ทรงเปรียบเทียบให้เห็น "ความไม่หวั่นไหว"

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่ คุณพ่อ และ คุณแม่ และสรรพตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Sam
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ