ปัญญาต้องเข้าใจสภาพธรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  7 ก.ย. 2552
หมายเลข  13470
อ่าน  1,138

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่ประเทศอินเดียณ พระคันธกุฎี พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ตุลาคม ๒๕๔๒

ท่านผู้ฟัง มีหลายคน ที่อาจจะเป็นผู้ฟังธรรมมานานและ อาจจะเกิดความท้อแท้ ท้อถอย อาจจะมีคำกล่าว ว่า ... ฟังเรื่องเก่าๆ

ท่านอาจารย์ ฟังเรื่องเก่าๆ แล้ว "เข้าใจ" หรือยัง รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ หรือยัง

ท่านผู้ฟัง ท่านอาจารย์ จะคำนึงถึงเรื่อง "อินทรีย์" ของแต่ละคนที่สั่งสมมา ว่า ยังไม่มีกำลังเพียงพอ ที่สามารถจะเข้าใจ สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏได้

ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญ ทราบไหมคะ ว่า อะไรเป็นเหตุให้เบื่อ หวังอะไร แล้วไม่สมหวัง จึงเบื่อ ถ้าฟัง สิ่งที่ไม่เคยฟัง จะเกิดปีติ ว่า ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย "ธรรมะ" อย่างนี้ ใครแสดง ใคร จะสามารถ รู้ ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ว่า เกิด แล้ว ดับและ ใคร รู้ ว่า สภาพธรรมทั้งหลาย เป็น "ธาตุ" แต่ละชนิด ถ้าหากเรา มีความเข้าใจ เพิ่มขึ้น เราจะเกิดปีติ ที่ได้เข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย เมื่อฟังอีก ก็เข้าใจขึ้นอีก แล้วจะเบื่อไหมคะ เพราะว่า ไม่ได้หวังอะไร เพียง ฟัง แล้ว "ค่อยๆ เข้าใจ ขึ้นๆ " ก็ไม่เหตุ ที่จะทำให้เบื่อ

ท่านผู้ฟัง ถ้าหากผู้ฟังท่านนั้น ไม่ได้สั่งสมมาในการที่จะอบรมภาวนาเพียงแต่ เป็นผู้ที่หนักในการให้ทาน หนักในการรักษาศีลควรจะแสดงธรรม อย่างอื่น เพื่อเกื้อกูลเขาไหมครับ.?

ท่านอาจารย์ ถ้าจะกล่าว เรื่องของ นามธรรม และ รูปธรรม กับผู้ที่ไม่สนใจฟังจะมีประโยชน์ไหมคะ

ท่านผู้ฟัง ก็ไม่มีหรอกครับ แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงโดยหลากหลายทั้งเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องความประพฤติต่างๆ

ท่านอาจารย์ ทราบไหมคะ ว่าเพราะอะไร

ท่านผู้ฟัง เพื่อเป็นปัจจัยให้เขาสนใจ เลื่อมใส และ ฟังพระธรรมในเรื่องของสภาพธรรม

ท่านอาจารย์ เพราะแต่ละคน มี "อัธยาศัย" ที่ต่างกัน ค่ะ วันก่อนนั้น คงจะได้ฟังเรื่องของ "อตุลอุบาสก" ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่พูดเลย กับพูดมากๆ หรือ พูดน้อยๆ ท่านก็ไม่พอใจสักอย่างเดียว ทั้งๆ ที่เป็น "ธรรมะ" แสดงให้เห็น "อัธยาศัย" ว่า เป็นเรื่องที่ "หลากหลาย" จริงๆ แต่ละคน ก็ แต่ละหนึ่ง จะซ้ำกันไม่ได้เลย เมื่อเกิดมาแล้ว ก็แล้วแต่ว่า จิต ของแต่ละบุคคล นั้น ได้สั่งสมอะไรมาบ้าง เช่น ประสพการณ์ต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจหรือเคยสั่งสม ปัญญา โลภะ โทสะ โมหะ ฯ มาในอดีต มากน้อยแค่ไหน

เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของ "แต่ละบุคคล" จริงๆ ถ้าบุคคลใด "เห็นประโยชน์" ของการฟังพระธรรมบุคคลนั้น จะไม่เบื่อ และ จะไม่ละเลยที่จะศึกษาพระธรรม ตามโอกาส บางคนฟังมาก แต่รู้น้อย ก็มี บางคนฟังน้อย แต่รู้มาก ก็มี

เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ "การสั่งสม" จริงๆ ซึ่ง ก็เป็นเรื่องที่ "ตรงตามความเป็นจริง" และ การฟังพระธรรม ก็ต้องเป็น เรื่องที่ "ตรงตามความเป็นจริง"ว่า การฟังพระธรรม นั้น เพื่อ "เข้าใจ" สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ "ปัญญาทางโลก" ไม่ใช่ "ปัญญาเจตสิก" แต่เป็น "มนสิการเจตสิก" เป็นการพิจารณาในสัญญาคือ ความทรงจำเรื่องราวต่างๆ ของสภาพธรรม พร้อมทั้งประมวลสิ่งต่างๆ มาเป็นเรื่องราว ที่เรียกว่า "วิชาการ" หรือ "ศาสตร์" ต่างๆ "ปัญญาเจตสิก" ต้องหมายถึง "ความเข้าใจสภาพธรรม"

ไม่ว่าจะเป็นขั้นฟัง หรือ ขั้นพิจารณา หรือ ขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะว่า ถ้าไม่มี "สภาพธรรม" เกิดขึ้นวิชาการใดๆ ในโลกนี้ ก็ไม่มี เพราะสาเหตุที่แท้จริง คือ สภาพธรรมเกิดขึ้น ตัวจริง คือ สภาพธรรม ต้นตอ คือ สภาพธรรม.!เมื่อไม่เข้าใจ สภาพธรรม จะชื่อว่า เป็น "ปัญญา" ไม่ได้ ก็จะเป็นเพียงแต่ ความสามารถในการพิจารณาเรื่องราวและ ความทรงจำเรื่องราวของสภาพธรรม เท่านั้น เพราะฉะนั้น "ปัญญา" จริงๆ ต้อง เข้าใจสภาพธรรม ค่ะ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 7 ก.ย. 2552

เพราะว่าไม่ได้หวังอะไร !

เพียง ฟัง แล้ว "ค่อยๆ เข้าใจ ขึ้นๆ "ก็ไม่เหตุ ที่จะทำให้เบื่อ?

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ถ้าบุคคลใด "เห็นประโยชน์" ของการฟังพระธรรมบุคคลนั้น ... จะไม่เบื่อ.!

และ จะไม่ละเลยที่จะศึกษาพระธรรม ตามโอกาส.

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ