ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง วิถีจิต และ อตีตัคคหณวิถี ครับ

 
majweerasak
วันที่  31 ส.ค. 2552
หมายเลข  13412
อ่าน  1,945

ผมต้องการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเกี่ยวกับเรื่อง "ปัญจทวารวิถี อตีตัคคหณวิถี สมูหัคคหณวิถี อัตถัคคหณวิถี นามัคคหณวิถี"ไม่ทราบว่าหาอ่านได้จากพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาเล่มใด ครับ หากไม่มีรบกวนกรุณาแนะนำแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 31 ส.ค. 2552

คำอธิบายเรื่องวิถีจิต อตีตัคคหณวิถี สมูหัคคหณวิถี อัตถัคคหณวิถี นามัคคหณวิถี ไม่พบในพระไตรปิฎก แต่จะมีใน อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
BudCoP
วันที่ 31 ส.ค. 2552

นโม เถรวาทติปิฏกฏฺฐกถาฏีกาย : ขอนอบน้อมพระคัมภีร์แห่งเถรวงศ์

วิถีทั้งทางปัญจทวาร ตทนุวัตติกมโนทวาร และสุทธมโนทวาร มีที่มาในอรรถกถาอยู่ หลายที่ด้วยกัน ครับ. ถ้าต้องการหลักฐาน กรุณาลงอีเมล์ไว้, เรื่องนี้จะพิจารณาส่ง เลขเล่ม/เลขข้อ ให้รายบุคคล ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 31 ส.ค. 2552

สภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
majweerasak
วันที่ 1 ก.ย. 2552

ผมเข้าใจว่าธรรมกำลังมีในขณะนี้ แต่การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ให้รอบคอบย่อม เป็นปัจจัยให้เข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นครับ และการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เพื่อไม่ให้เข้า ใจผิดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การรู้สภาวธรรมควรสอดคล้องกับพระธรรมที่ได้ แสดงไว้ครับ

รบกวนคุณ BudCop ด้วยนะครับ

wee31@hotmail.com

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 ก.ย. 2552

พระธรรม ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น การศึกษา เพื่อความเข้าใจ เข้าถึง "สภาวธรรม" ด้วยความรอบคอบ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้น ตามการสะสม.

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันใหม่
วันที่ 1 ก.ย. 2552

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

ขอให้ลองคลิกฟังดู เพราะการศึกษาพระธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดว่าสิ่งใดควรรู้ยิ่ง ลองคลิกฟังดู เป็นประโยชน์มากบรรยายโดย อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

เข้าใจความจริงของจิตดีกว่าจำชื่อของจิต

ต้องมีความเข้าใจสภาพธรรมก่อน

เข้าใจเรื่องของพระอภิธรรม ไม่เท่ากับเข้าใจสภาพธรรม

ศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้

ถ้าไม่รู้สภาพธรรมในขณะนี้ไม่ชื่อว่าเจริญปัญญา

ไม่ใช่เรื่องจำชื่อ แต่รู้สิ่งที่มี

ไม่อบรมสติปัฏฐาน ไม่รู้สภาพธรรม ก็จะอยู่แต่ในโลกของบัญญัติ

ศึกษาที่ตัวสภาพธรรม

ถ้าจะเข้าใจธรรมะจริงๆ อย่าเพียงจำ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันใหม่
วันที่ 1 ก.ย. 2552

ขอเชิญอ่านเพื่อประกอบว่าสิ่งใดควรรู้ยิ่ง

คำบรรยายโดยท่านอาจารย์สุจินต์

พื้นฐานพระอภิธรรม 26 ต.ค. 2551

อรวรรณ สืบเนื่องวานนี้เมื่อบ่ายวันเสาร์ มีการศึกษากันเรื่องวิถีจิตรรายละเอียด ของวิถีจิตทุกคนก็คิดว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก ศัพท์แสงก็เยอะ ข้อสำคัญคือเมื่อศึกษา แล้วจะทราบว่า ย่อมเป็นพุทธวิสัยที่จะทราบได้อย่างนั้น สำหรับพวกเราไม่มีปัญญาที่ จะทราบอย่างนั้นได้ จะรู้รายละเอียดถึงขณะจิตหรือ เป็นวิถีของวาระจิต แต่ละวาระ ซึ่ง ตอนนี้จะกราบเรียนให้ท่าน อาจารย์ขยายความว่า ในการศึกษาเรื่องวาระวิถีจิต เมื่อ ทราบว่าเราไม่สามารถรู้ขณะจิตในขณะนั้นได้ ตอนไหนเป็นปัญจทวารวิถี ตอนไหนเป็น มโนทวารวิถีหรือในรายละเอียดอะไรก็แล้วแต่ว่าเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นในการศึกษา ตอนนี้สำหรับพวกเราที่ศึกษาก็ยากแล้ว แล้วที่จะให้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏตรง นี้ ซึ่งความจริง วิถีจิตก็เป็นขณะนี้นี่แหละ พวกเราอาจจะไม่เข้าใจตรงนี้ จึงจะขอเรียน รบกวนช่วยขยายความว่าจริงๆ แล้ววิถีจิตก็ไม่ใช่ขณะอื่นก็คือขณะเองในชีวิตประจำวัน

อาจารย์ การศึกษา ธรรมอย่ากังวลเรื่อง “ชื่อ” แต่ให้มีความเข้าใจจริงๆ ว่าธรรมมีจริงๆ กำลังปรากฏ ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ฟัง ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ จะเห็นได้จริงๆ ค่ะ ว่า ถ้าไม่เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรมจะไม่รู้เลยว่า การศึกษาเป็นการฟัง เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ มีจริงที่กำลังปรากฏ ในภาษาหนึ่งภาษาใดก็ไดก็ได้ เพราะว่าขณะยังไม่มีคำเลย มี ธรรม ไหมคะ? เห็นไหมคะ ทำไมจึงต้องใช้คำเพราะว่า ธรรมก็มีหลากหลาย “เสียง” เป็นธรรม “เห็น” เป็นธรรม “คิดนึก” เป็นธรรมๆ โดยไม่มีโอกาสจะเข้าใจถูกว่า เป็น ธรรม ไม่มีการได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้น การได้ยินได้ฟังสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นสิ่งซึ่ง คนอื่นไม่สามารถที่จะกล่าวได้ถึงเลย นอกจาก พระอรหันตสัมมาสัมพุธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ โดยละเอียด โดยถ่องแท้ โดยประจักษ์แจ้ง โดยสิ้น เชิง โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ทรงแสดงนี้ไม่พ้นจาก สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้เลย เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ที่ฟังแล้วเราจะรู้แจ้ง สภาพธรรม ตามที่ได้ยินได้ฟังเมื่อไรนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ๆ คือรู้ว่าให้รู้ความจริงของสิ่งที่ กำลังปรากฏ ทั้งๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

คำเตือนจาก ท่านอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 2 ก.ย. 2552

ผมคิดว่า แม้เราจะไม่สามารถรู้หรือเข้าถึงสภาพธรรมโดยละเอียด ตามที่พระผู้ มีพระภาคและพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ได้ทั้งหมด เพราะคำสอนเหล่านั้นเป็นคำ อธิบายด้วยปัญญาของท่านผู้แสดงธรรม อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาธรรมอย่างถูกต้องนั้น เป็นผู้ตรง และเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงว่ามีการสะสมมาอย่างไร การศึกษาเช่นไร จึงจะเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญได้ตามกำลัง ซึ่งแต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน และ เป็นเรื่องเฉพาะตนจริงๆ ทั้งนี้โดยอาศัยความเข้าใจหลักพื้นฐานที่ถูกต้อง ในความ เป็นอนัตตาของธรรมทั้งหลาย ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ฯ ได้กรุณาชี้แนะแนวทางให้แก่ พวกเรามาอย่างยาวนาน ด้วยความวิริยะความอุตสาหะ และความเมตตาครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สุภาพร
วันที่ 2 ก.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 2 ก.ย. 2552

เหตุ.......ศึกษาเรื่องราวของธรรม

ผล........เข้าใจเรื่องราวของธรรม

เหตุ.......ศึกษาสภาพ (ตัวจริง) ธรรม

ผล........ย่อมเข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของธรรมได้

อยากได้ผลเช่นใด.....ก็พึงเจริญเหตุเช่นนั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันใหม่
วันที่ 2 ก.ย. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13412 ความคิดเห็นที่ 10 โดย ไตรสรณคมน์

เหตุ.......ศึกษาเรื่องราวของธรรม

ผล........เข้าใจเรื่องราวของธรรม

เหตุ.......ศึกษาสภาพ (ตัวจริง) ธรรม

ผล........ย่อมเข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของธรรมได้

อยากได้ผลเช่นใด.....ก็พึงเจริญเหตุเช่นนั้นค่ะ


สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
majweerasak
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาและขอบคุณผู้ร่วมสนทนาทุกท่านที่ได้กรุณาแนะนำครับ

จุดประสงค์ของผมที่ตั้งกระทู้นี้ ก็เพื่อขอแหล่งข้อมูลเพื่อจะได้ศึกษาพระธรรมเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่แน่ใจ

ดูเหมือนจะมีหลายท่านที่หวังดีและกลัวว่าผมจะนอกลู่นอกทาง ต้องขอบคุณจริงๆ นะครับ เท่าที่ผมได้มีโอกาสฟังท่านอาจารย์บรรยายมาตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๓๙ ไม่ทราบว่าถ้าผมเข้าใจอย่างนี้ จะถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีความเห็นผิดประการใด (เป็นธรรมดาที่ปุถุชนอย่างผมจะมีความเห็นผิดไปบ้าง) ช่วยกรุณาแนะนำได้นะครับ

ท่านอาจารย์ท่านไม่ได้ห้ามไม่ให้ใครอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถา แต่เหมือนเคยได้ฟัง MP3 บางตอน ที่ท่านอาจารย์สนับสนุนให้อ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถาด้วยซ้ำเพียงแต่ไม่ควรลืมว่า สภาวธรรม จริงๆ ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่มีจริงๆ ขณะนี้

ถึงแม้จะไม่สามารถรู้แจ้งสภาวธรรมทั้งหมดตามที่ได้แสดงไว้ แต่การศึกษาพระธรรมก็น่าจะดีกว่าไปดูหนัง หรือไปเทียวสนุกอย่างอื่น ที่สำคัญ ขณะอ่านหนังสือ สติก็เกิดได้ครับ ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ ปริยัติ และปฏิบัติ สอดคล้องกัน ศึกษาเรื่องราวของธรรม เป็นปัจจัยให้ เข้าใจเรื่องราวของธรรม เข้าใจเรื่องราวของธรรม เป็นปัจจัยให้ มีการศึกษาสภาพ (ตัวจริง) ธรรม การศึกษาสภาพ (ตัวจริง) ธรรม เป็นปัจจัยให้ เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของธรรมได้

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขออนุญาตสนทนากับคุณ majweerasak ค่ะเป็นเพียงความเห็นเท่านั้นนะคะ ไม่ใช่คำแนะนำ

พระธรรม คือ สัจจธรรมไม่มีใครรู้ ว่า ใคร สั่งสมอะไร มาบ้างในสังสารวัฏฏ์แต่ตัวเราเอง ย่อมรู้จักตัวเองดีที่สุด ถ้าเป็น "ผู้ตรงต่อสภาพธรรม" การศึกษาพระธรรม จึงเป็น เรื่อง ที่ต้องเป็นไป "ตามอัธยาศัย" มีใคร ฝืน "อัธยาศัย" ของตัวเองได้ไปตลอด

แต่ไม่ควรลืม จุดประสงค์ที่แท้จริง ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบำเพ็ญพระบารมีมา เพื่อ ตรัสรู้ อะไร และทรงพระมหากรุณาสั่งสอนเวไนยสัตว์ ที่สะสมอัธยาศัยมา (ตามเหตุ-ปัจจัย) ทรงสอน "สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้" เพื่ออะไร ข้าพเจ้า เข้าใจว่า จุดประสงค์ที่แท้จริง ไม่ ควร ลืม ค่ะ

ท่านอาจารย์สุจินต์ เคยกล่าวว่า "พระธรรมไม่ใช่ของใคร จึงต้องศึกษา อย่างละเอียด รอบคอบควบคู่ไปกับการตรวจทานจาก พระไตรปิฎก เสมอรวมทั้งมีการสนทนาธรรม เพื่อ ความเข้าใจ อรรถ ในพระไตรปิฎกด้วย จริงอยู่ ตามอัธยาศัยแต่ต้องไม่ลืม "จุดประสงค์ที่แท้จริงของการศึกษาพระธรรม" ว่า เพื่ออะไร

สภาพธรรมทั้งหลาย เป็น "อนัตตา" เพราะบังคับบัญชาไม่ได้.!!!แต่ไม่ เป็น อิสระ เพราะ ต้อง เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย"

ข้อความบางตอน จาก "พระไตรปิฎก" เพื่อพิจารณา

ฐานสูตร

ว่าด้วย ฐานะ ๔ ที่ พึงรู้ ด้วยฐานะ ๔

ขออนุโมทนาในกุศลจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sam
วันที่ 3 ก.ย. 2552

สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจการเจริญสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง การศึกษาปริยัติไม่เป็น เครื่องกั้นวิปัสสนาภาวนาครับ

ขอเชิญคลิกอ่านหัวข้อเกี่ยวกับความกังวล ความห่วงใย ๑๐ ประการ ที่เป็นเครื่องกั้น และไม่เป็นเครื่องกั้นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

ปลิโพธ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขอร่วมสนทนา

ซึ่งสหายธรรมได้กล่าวประเด็นไว้ดังนี้

1. การศึกษาปริยัติ

2. ปริยัติสอดคล้องกับการปฎิบัติ

3. การศึกษาพระธรรมดีกว่าไปดูหนัง ฟังเพลง

4. ขณะอ่านหนังสือสติเกิดได้

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขอกล่าวประเด็นข้อที่ 1 และ 2 รวมกันคือ

1. การศึกษาปริยัติ

2. ปริยัติสอดคล้องกับการปฎิบัติ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า พระปริยัติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบิติ (สติระลึกลักษณะของสภาพ ธรรม) นั้นคืออย่างไร ปริยติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติคือ ศึกษาโดยเข้าใจว่าธรรมคืออะไร และเข้าใจความจริงว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง มีอยู่ในชีวิตประจำวัน อาศัยปัญญาขั้นการฟัง จากตรงนี้จนมั่นคง ดังนั้นไม่ว่าเราจะศึกษาจากพระธรรมในส่วนใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ก็คือเป็นการแสดงสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ และก็เพื่อ เข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ นี่จึงเป็นสัจจญาณและเป็นสัญญาความจำที่มั่นคง มั่นคงว่า เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ การฟังการเข้าใจการศึกษาตามที่กล่าวมาจึงเป็น เหตุปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะปฏิบัติ คือเมื่อสติเกิดรู้ความจริงในขณะนี้ ปริยัติจึงเป็นการฟังให้เข้าใจว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง และเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ ปริยัติและปฏิบีติจึงสอดคล้องกัน แต่ต้องเข้าใจว่าปริยัติ ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติที่ถูกต้องคืออย่างไร

ดังนั้น ปริยัติที่ถูกต้องจึงไม่ใช่การศึกษาเรื่องราวต่างๆ มากมาย จำได้มากมายแล้วจะ หมายถึงปริยัติ แต่เป็นการศึกษาในเรื่องของสภาพธรรมจนเป็นสัจจญาณคือมั่นคงว่า ขณะนี้เป็นธรรม เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สติเกดระลุกรูลักษณะของสภาพธรรม (ปฏิบัติ) รู้ เรื่องราวต่างๆ มากมายใช่สัจจญาณหรือไม่ อันเป้นไปเพื่อกิจญาณให้สติเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

3. การศึกษาพระธรรมดีกว่าไปดูหนัง ฟังเพลง

โดยทั่วไปก่อนการศึกษาธรรมเราก็มีความพอใจในรูป เสียง...เป็นธรรมดา เมื่อศึกษา ธรรมแล้ว ความยินดี พอใจติดข้องไมได้หายไปไหน ดังนั้นคำว่าศึกษาพระธรรมคือการ ศึกษาตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ โดยอาศัยการฟังเรื่องราวคือเรื่องของ สภาพธรรม เห็น ได้ยิน เป็นต้น เข้าใจแม้แต่คำว่าธรรมคืออะไรจนมั่นคง นี่เป็นการ ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง แต่บางครววความยินดีพอใจ อยากจะรู้ ก็เข้ามาในการ ศึกษาพระธรรม ขณะที่ยินดีพอใจ ขณะนั้นจะกล่าวว่าดีไม่ได้เลยเพระเป็นอกุศล เหมือนกับยินดีในการดูหนังฟังเพลง และย่อมทำให้หลงทางไปในขณะนั้นการศึกษา พระธรรมจึงเปรียบเหมือนดาบสองคมนั่นเอง

4. ขณะอ่านหนังสือสติเกิดได้

สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวงคือไม่เลือกสถานที่และเวลา แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมนั้นคือ เหตุให้เกิดสติปัฎฐานนั้นมีหรือยัง ดังที่กล่าวมาคือปริยัติที่ถูกต้องที่เกื้อกูลต่อการ ปฏิบัติ ปริยัตินั้นคืออย่างไร มั่นคงเป็นสัจจญาณหรือไม่ ขณะนี้กำลังมีสภาพธรรม ฟัง เรื่องสภาพธรรมหรือจะไปจำเรื่องราวที่ไม่สามารถรู้ได้ ใช่สัจจญาณอันจะเป็นปัจจัยให้ สติเกิดหรือไม่ ธรรมทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุต้องถูกก่อน ผลย่อมเกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ปริยัติไม่เป็นเครื่องกั้นต่อการเจริญวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) แต่ปริยัตินั้นคือความ เห็นถูกว่าควรเข้าใจขณะนี้ ไม่ใช่การจะไปจำชื่อเรื่อราวในสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ ดังนั้น การเข้าใจปริยัติถูกจึงไม่กั้นการเจริญวิปัสสนา ในทำนองตรงกันข้ามถ้าเข้าใจผิด ย่อม ไม่สามารถให้สติเกิดได้เลย ดังนั้นปริยัติในที่นี้คือต้องเป็นปริยัติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ จึงไม่เป็นเครื่องกั้นของการเจริญวิปัสสนา

ส่วนในเรื่องของอัธยาศัยนั้น สัตว์ทั้งหลายสะสมมาแตกต่างกันไป แต่ไมได้ หมายความให้เจริญ ให้ทำไปตามอัธยาศัยแล้วสิ่งนั้นจะถูกต้อง ไม่มีใครบังคับเพราะ บังคับไมได้ แต่ก็ควรเข้าใจว่า ผู้ที่มีอัธายาศัยต้องการรู้เรื่องราวมากมาย โอกาสที่จะ เข้าใจตัวจริงในขณะนี้ก็ยาก เคยมีอัธยาศัยที่จำชื่อเรื่องราวในสิ่งที่ไกลตัว ไม่ได้หมาย ความว่าจะเปลี่ยนอัธยาศัยไมได้ แต่เมื่อได้เข้าใจว่าสิ่งใดควรศึกษาจริงๆ ควรรู้ยิ่ง เมื่อ ปัญญาเกิดก็ย่อมสะสมอัธยาศัยใหม่ อุปนิสัยใหม่ สนใจในสิ่งที่ควรรู้ยิ่งนั่นเอง ที่ข้าพเจ้ากล่าวมาเพื่อประโยชน์อย่างเดียวคืออยากให้กลับไปที่แม้คำว่าธรรม เข้า ใจจริงๆ หรือยังเพราะการเข้าใจแม้คำว่าธรรม ด้วยความมั่นคงที่เป็นสัจจญาณ โดย ไม่ใช่การจำ การแปลได้ รู้ความหมายแต่เข้าใจอย่างมั่นคงว่าธรรมคือขณะนี้ เป็นสิ่งที่ มี ควรรู้ยิ่ง นี่แหละคือสัจจญาณอันเป็นไปให้สติเกิด ยังไม่ต้องรีบไปไกล ขอให้เข้าใจ ในเรื่องของธรรมจริง โดยเฉพาะเรื่องราวของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎที่พอรู้ได้ใน ชีวิตประจำวัน ด้วยความหวังดีเพราะเดินมาหนทางเดียวกัน จึงควรร่วมกันพิจารณาตามเหตุผลที่ ได้กล่าวกันไป ข้าพเจ้าจึงขอนำคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ เป็นคำเตือนใจและ เป็นประโยชน์อย่างมาก ว่า อย่าเพิ่งไปไกล กลับมาที่ธรรมที่มีในขณะนี้ แม้แต่คำว่า ธรรมให้เข้าใจจริงๆ ย่อมเป็นปัจจัยให้สติเกิด เวลาของแต่ละท่านเหลือน้อยแล้ว สิ่งที่ ควรรู้ยิ่งคืออะไร สาธุ ขอให้ตั้งใจอ่านความเห็นที่ 20 โดยเฉพาะความเห็นที่ 21

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

เรื่อง จะต้องศึกษาปริยัติธรรมละเอียดสักแค่ไหน

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

อ.สุจินต์ มีผู้ฟังท่านหนึ่ง ถามว่า จะต้องศึกษาปริยัติธรรมเนี่ยคะ ละเอียด ซักแค่ไหนจึงจะปฏิบัติ ซึ่งก็ขอเรียนให้ทราบว่า ที่ว่าเป็นปริยัติธรรม ที่ละเอียดเนี่ยนะ คะ ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลยแต่อยู่ที่ทุกท่านในขณะนี้ ตามปรกติ ตามความเป็นจริง เพียงแต่ ว่าท่านจะเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดปรากฏที่ตัวท่านแต่ละบุคคล ละเอียดแค่ไหน เพราะฉะนั้นที่จะปฏิบัติธรรม ไม่ใช่รอให้จบ ให้เรียนจบ หรือว่าให้ละเอียดถึงขั้นนั้นขั้นนี้ แต่ขณะใดที่ศึกษาเรื่องสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่เกิดขึ้นปรากฏ แล้วมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นนะคะ จะเป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกได้ตามที่ เข้าใจแล้วว่า สภาพธรรมแต่ละอย่างที่ไม่ใช่ตัวตนนั้น สภาพธรรมใดไม่ใช่ตัวตนเพราะเป็นนามธรรมชนิดใดสภาพธรรมใดเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ตัวตนเพราะเหตุว่าเป็นสภาพ ของรูปธรรมประเภทใด

เชิญคลิกฟังเรื่องนี้ได้ที่นี่....

จะต้องศึกษาปริยัติธรรมละเอียดสักแค่ไหน

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ก.ย. 2552

เรื่อง อย่าเพิ่งไปไหน

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

คุณอรวรรณ แต่ในการศึกษาเพื่อให้ทราบความละเอียดของวิถีจิต ก็จะเป็นความ อะไรที่ผู้ฟัง ผู้ศึกษาก็เหมือนกับว่าเป็นทั้งศัพท์บาลี ทั้งยุ่งยาก ทั้งอะไร ก็แยกแยะไม่ ออกว่า แล้วความละเอียดขนาดไหนที่จะสามารถทำให้เข้าใจลักษณะสภาพธรรมที่ ปรากฏ


ท่านอ.สุจินต์
เอ่อ คุณอรวรรณมีเพื่อนหลายคน เพื่อนดีของคุณอรวรรณคือใคร ไม่ต้องเป็นชื่อ (บอกชื่อ) คนที่สามารถทำให้คุณอรวรรณมีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่ เห็นผิดเข้าใจผิดใช่ไหมคะเพราะฉะนั้นขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นเพื่อน ที่ดีเนี่ย จะพาให้คุณอรวรรณ ห่างไกลจากสิ่งที่ปรากฏไปสนใจในเรื่องที่ คุณอรวรรณไม่สามารถจะรู้ได้ หรือว่ารู้ว่าแม้สิ่งนี้มี แต่ก็ยากแสนยากเพราะว่าไม่ เคยคิดจะเข้าใจสิ่งที่ปรากฏจริงๆ นะคะ คิดเรื่องราวทั้งหมด เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้ กลิ่นบ้าง เป็นเรื่องราว มากมาย แม้ขณะนี้ค่ะก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ก็เห็นเป็น คนนั้น คนนี้ เป็นอย่างนี้ไปทุกชาติ กับคนที่รู้ว่าทำไมไม่รู้สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏซึ่ง เป็นประโยชน์สูงสุดที่จะรู้ว่าอะไรเป็นปรมัตถ์อะไรเป็นบัญญัติ มิฉะนั้นก็พูดแต่ชื่อ ปรมัตถ์ กับบัญญัติ บัญญัติเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง ปรมัตเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วเมื่อไรจะรู้จักตัวปรมัตถ์ ล่ะคะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นใครจะพาคุณอรวรรณไปไหน ไกลไกล ตาม ไปหรือว่าให้มาสู่การที่จะเข้าใจเห็นถูก เห็นถูกในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ และกำลังจะมี ต่อไปอีกนานแสนนาน ถ้าไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้จริงๆ ประโยชน์อะไรกับการที่ มีเห็นแล้วกี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้เลยว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นไม่อยากจะพาไปไหน แต่ว่าให้ฟังจนกระทั่งสามารถที่จะไม่สนใจสิ่งอื่นและก็กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะ หน้าจริงๆ ไม่ห่างเหินจากสิ่งที่ปรากฎเฉพาะหน้า

เชิญคลิกฟังในเรื่องนี้ได้ที่นี่ ฟังดี

อย่าเพิ่งไปไหน

ข้าพเจ้าอยากให้สหายธรรมแม้จะศึกษามาไม่นานหรือนานแล้วก็ตาม ได้เห็น ประโยชน์และกลับมาสู่ความเข้าใจขณะนี้อีกครั้งอันจะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ซึ่งอยากให้ อ่านทวนความเห็นของท่านอาจารย์สุจินต์ในเรื่อง อย่าเพิ่งไปไหน จะเป็นประโยชน์ มาก แต่ทุกอย่างไม่ใช่เรื่องบังคับแล้วเพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ก็ควร พิจารณาในสิ่งที่กล่าวมาเพราะการศึกษาธรรมเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ

ขออนุโมทนาบุญกุศลและผู้มีวิริยะในการศึกษาธรรม สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ข้อความบางตอนจาก "ธรรมทัศนะ" (ความเห็นที่ ๕)

09471

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

"คำว่า ท่านจอมทวยเทพ โลกมีธาตุไม่ใช่อย่างเดียว มีธาตุต่างกัน ความว่า ท่านจอมทวยเทพ ! โลกนี้มีอัธยาศัยไม่ใช่อย่างเดียว มีอัธยาศัยแตกต่างกัน เมื่อ คนหนึ่งอยากเดิน (แต่อีก) คนหนึ่งอยากยืน เมื่ออีกคนหนึ่งอยากยืน (แต่อีก) คนหนึ่งอยากนอน สัตว์ทั้ง ๒ ชื่อว่ามีอัธยาศัยอย่างเดียวกันหาได้ยาก"

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 ก.ย. 2552

เรียนคุณวันใหม่ ความเห็นที่ ๑๖ ถึง ๒๑

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งครับ

สำหรับข้อเตือนสติที่ดีมากๆ ทำให้ผมเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ควรศึกษาอบรมธรรมะอย่างไร และเข้าใจที่ท่านอาจารย์สุจินต์ท่านเมตตาพร่ำสอนเตือนสติอย่างไร ผมมักจะหลงไปติดกับเรื่องราวของธรรมะมากกว่าธรรมะที่ปรากฏ ก็คิดได้ว่า หากวันนี้ตายไป เรื่องราวของธรรมะทั้งหมดคงจบลงไป จำอะไรไม่ได้ ทั้งภาษาบาลี ภาษาไทย

ในขณะที่ธรรมะที่ปรากฏตามความเป็นจริงก็ยังไม่รู้ ก็คงเดินย่ำอยู่กับที่เช่นนี้ในชาติต่อไป ชอบเดินไปไกลๆ กลายเป็นยิ่งไกล ยิ่งห่างออกไป ในที่สุดก็ต้องกลับมาตรงนี้จริงๆ ครับ โชคยังดีที่มีกัลยาณมิตรที่ประเสริฐคอยตักเตือน

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ