ท่านพระอานนท์

 
วิริยะ
วันที่  23 ส.ค. 2552
หมายเลข  13317
อ่าน  2,159

เรียนถามว่า

ท่านพระอานนท์ พุทธอนุชา ผู้เป็นเอตทัคคะทางความจำ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังคายนาพระไตรปิฎกอย่างไร พอจะมีรายละเอียดหรือลิงก์ให้อ่านไหมคะ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
arin
วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 25 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 1

พระไตรปิฎกที่พุทธศาสนิกชน ศึกษาอยู่ทุกวันนี้ เป็นฉบับที่มีการสังคายนาครั้งที่-

สามหรืออย่างไรคะ คือ ไม่มีความรู้เรื่องพระไตรปิฏกเลยค่ะ ประเด็นที่สงสัยคือเคย

ได้ยินจากผู้อื่นเล่าถึงท่านพระอานนท์ว่า ท่านบรรลุพระอรหันต์ เมื่อกำลังจะเอนกาย

ลงนอน และท่านพระมหากัสสปก็ตั้งใจที่จะรอให้ท่านพระอานนท์บรรลุเป็นพระอรหันต์

ก่อน จึงจะทำการสังคายนา

จึงมีความเข้าใจว่าการสังคายนานั้นคงจะต้องอาศัยความเป็นเลิศทางด้านความจำ

จากท่านพระอานนท์ถ้าเป็นเช่นนั้น การสังคายนาครั้งแรก จึงน่าจะมีความสมบูรณ์มาก

ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่และอยากทราบว่าเนื้อความในพระไตรปิฏกที่มีการสังคาย-

นาคร้งที่สอง และ สามนั้น มีความแตกต่างจากครั้งที่หนึ่งหรือไม่รบกวนความเห็นที่หนึ่ง

กรุณาให้ความรู้หน่อยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 26 ส.ค. 2552

เข้าใจว่าโดยบทและพยัญชนะของพระไตรปิฎก การกระทำสังคายนาทั้งสามครั้ง

เหมือนกัน แต่ปัญญาของผู้สังคายนาต่างกัน คือท่านมีความทรงจำและเข้าถึงธรรม

ต่างกัน พระสาวกยุคแรกย่อมมีปัญญามากกว่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 26 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 6

จากความเห็นที่ 6 หมายความว่า เนื้อความในพระไตรปิฏก เป็นเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อกาลเวลาผ่านมา มีผู้ตีความในพระไตรปิฏกต่างๆ กันไป ตามแต่ปัญญาของผู้นั้น มีตั้งแต่ การตีความเพื่อให้คงความหมายเดิม จนกระทั่งถึงผู้ที่ตีความผิดเพี้ยน เป็นเช่นนั้นใช่ไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 26 ส.ค. 2552

ถูกต้องครับ ปัญญาต่างกันการเข้าถึงอรรถะก็ต่างกัน แต่ตัวพยัญชนะรู้เหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วิริยะ
วันที่ 26 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 26 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ