วิธีการศึกษาธรรม

 
วิริยะ
วันที่  18 ส.ค. 2552
หมายเลข  13250
อ่าน  2,439

เรียนท่านผู้รู้

อยากทราบว่า การศึกษาธรรมนั้น มีระบบ หรือ ขั้นตอน หรือไม่ เช่น ศึกษาจากเรื่องง่ายๆ ไปยังเรื่องยากๆ เพราะเพิ่งจะตระหนักว่า ธรรมนั้นละเอียดจริงๆ ละเอียดยิบย่อย

อย่างคาดไม่ถึง เพียงแค่จะทำความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง บางครั้งก็จำเป็นต้องโยง

ไปยังเรื่องนั้น เรื่องนี้

ตอนนี้ไม่สงสัยแล้วล่ะค่ะ ที่เคยได้ยินท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวว่า การศึกษาธรรมนั้น ไม่มีคำว่าพอ เข้าใจว่า เป็นทั้งความยาก และการฟังให้เข้าใจจนจรดกระดูก จึงขอความ

กรุณาท่านผู้ที่ศึกษามาก่อนช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 ส.ค. 2552

เนื่องจากพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา

และมีการนำสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดั่งเดิมเป็นภาษาบาลี การศึกษาในยุคปัจจุบัน

ควรจะเป็นไปตามลำดับ จึงจะช่วยทำให้เข้าใจขึ้น คือ ทุกสิ่งที่ได้ฟังควรเริ่มต้นตั้งแต่คำว่า

คืออะไร เช่น คำว่า ธัมมะ นาม จิต เจตสิก รูป สติ สมาธิ เป็นต้น เมื่อเข้าใจเป็นไปตาม

ลำดับแล้ว เวลาฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้น จะได้ไม่งงกับคำหรือศัพท์บางศัพท์ที่ฟังอยู่

สำหรับคนที่มีปัญญามากในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านไม่ต้องมีระบบหรือขั้นตอนอะไรเลย แต่

ในยุคนี้ต่างกัน ต้องใช้เวลาค่อยๆ เป็นไปตามลำดับครับ

ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 18 ส.ค. 2552

โดยประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว เคยคิดเหมือนกันครับว่า มีวิธีการที่จะศึกษาพระธรรม

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อศึกษามาสักระยะแล้วก็พบว่า การศึกษาพระธรรมนั้น

เป็นเรื่องของความเข้าใจโดยตลอด ไม่ว่าจะกำลังอ่านหรือฟังธรรมในเรื่องใด ขอให้

เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังศึกษานั้นจริงๆ โดยไม่ต้องห่วงหรือกังวลกับเรื่อง

ที่เคยศึกษามาแล้ว หรือจะศึกษาต่อๆ ไป เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอย่าง

ละเอียดและมากมาย ยากที่จะมีผู้ใดศึกษาตามและจดจำไว้ได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ดี พระธรรมที่ทรงแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จริงในสิ่งที่กำลัง

ปรากฏในขณะนี้ (ไม่ใช่ขณะอื่น) ซึ่งความรู้จริงนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย หากไม่เริ่ม

ด้วยความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังอ่านหรือกำลังฟังอยู่ในขณะนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันใหม่
วันที่ 18 ส.ค. 2552


การศึกษาธรรมต้องเป็นไปตามลำดับ ไม่ว่าใครบุคคลใด สมัยไหนเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นภาวนา (สติปัฏฐาน) ต้องเป็นไปตามลำดับเสมอ

การศึกษาธรรมชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ศึกษาธรรม ดังนั้นต้องเริ่มจากคำว่าธรรม ธรรมคืออะไรฟังให้เข้าใจกับคำนี้จริงๆ ว่าธรรมคืออะไรแต่ไม่ใช่มาจากการท่องแต่มาจากความเข้าใจจริงๆ จึงจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นอื่นๆ เจริญขึ้น เมื่อเข้าใจขั้นการฟัง ปัญญาเจริญขึ้น ธรรมนั่นเองทำหน้าที่ รู้ตามความเป็นจริง คือระลึกลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่เป็นการศึกษาธรรมคือศึกษารู้ตัวธรรมจริงๆ โดยอาศัยการฟังให้เข้าใจในเรื่องของสภาพธรรม เป็นปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดศึกษาตัวธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ขอย้ำว่า การศึกษาธรรมไม่ใช่พยายามให้รู้ชื่อมากๆ อะไรไม่รู้จะต้องรู้ ไม่ควรลืม

จุดประสงค์ของการศึกษาธรรม ที่ถูกต้องคือเพื่อรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อรู้แล้วปัญญา

ทำหน้าที่ละกิเลสเอง หากมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วไม่ว่าศึกษาในส่วนใดของพระ-

ไตรปิฎก ก็เพื่อเข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ทุกอย่าง

ต้องเป็นไปตามลำดับ จากเบื้องต้นถึงสูงสุด แต่ไม่ควรลืม ลำดับแรกพื้นฐานต้องมีความ

เข้าใจมั่นคงและถูกต้องจึงจะไปสู่ลำดับต่อไปได้ สำคัญที่เบื้องต้นให้ถูกต้องก่อน ธรรม

คืออะไร มั่นคงและเข้าใจจริงๆ หรือยัง สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 ส.ค. 2552

ตามอัธยาศัยเพราะสั่งสมเหตุปัจจัยมาไม่เหมือนกันที่สำคัญ

ตนเองเท่านั้น ที่รู้ได้ด้วยตนเองว่า ศึกษาอย่างไรจึงจะเข้าใจ ในสิ่งที่ได้ศึกษา ได้จริงๆ .
ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 19 ส.ค. 2552

Pay attention to what you are reading. Pay attention to what you are listening.

Then reflect upon that in daily life.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 19 ส.ค. 2552

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 19 ส.ค. 2552

เรียนท่านผู้สนทนา

เมื่อได้อ่านความเห็นของทุกๆ ท่านข้างบนนี้แล้ว จึงได้เข้าใจตนเองว่า ที่จริงแล้ว

ดิฉันตั้งหัวข้อ "วิธีการศึกษาธรรม" ขึ้นมาเพื่ออะไร ตอนนี้ ดิฉันเข้าใจว่า ดิฉันกำลังมีตัวตน

ในการศึกษาธรรมอย่างมาก และด้วยความไม่เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง และกำลังศึกษาอยู่

ดิฉันก็ยิ่งใช้ตัวตนเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นไปอีก และเมื่อยังไม่เข้าใจ ก็

ทำให้เกิดความรู้สึกทั้งเครียดและท้อ

จริงๆ แล้วการสนทนาธรรมเช่นนี้ ช่วยเกื้อกูลสติป้ญญาให้แก่ดิฉันอย่างมาก เพราะ

ในบางครั้ง เราไม่สามารถมองเห็นตัวเราเองได้อย่างแจ่มชัด เพราะฉะนั้น ทุกๆ ความเห็น

ข้างบน ทำให้ดิฉันเกิดสติขึ้นมาและต้องยอมรับความจริงแก่ตนเองว่า ในเมื่อยังไม่เข้าใจ

ในสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่ ก็หมายความว่ายังไม่เข้าใจ เพราะปัญญายังมีเพียงเท่านั้น จึง-

ต้องอบรมต่อไป แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย เห็นจะเป็นเรื่องของขันติและความเพียรเรื่องเหตุ-

ปัจจัยก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผลเช่นกัน เพราะในบางครั้ง คิดจะเกื้อกูลผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่เห็น-

ผิด แต่ตอนนี้เห็นจะต้องเกื้อกูลตนเอง ให้มีความเข้าใจที่มั่นคงเสียก่อน จึงจะถูกต้อง

ขอขอบคุณผู้ร่วมสนทนาที่ได้ร่วมให้คำแนะนำ และขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pongpat
วันที่ 19 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

ต้องเป็นไปตามลำดับจริงๆ ครับ

เริ่มจากพยัญชนะ อรรถะ ควรเข้าใจให้ดีอย่าข้ามขั้น

สมัยนี้เข้าใจพระธรรมผิด เพราะเข้าใจความหมายผิดก็มีมาก

ค่อยๆ ศึกษา ไม่หยุดพัก ไม่ต้องเร่งรีบ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 19 ส.ค. 2552

ขอบคุณ ความเห็นที่สิบเอ็ด สำหรับคำแนะนำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ประสาน
วันที่ 19 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
suwit02
วันที่ 20 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yupa
วันที่ 21 ส.ค. 2552
เคยคิดอยากจะพักผ่อน โดยหาที่สงบสักที่ ไม่มีการติดต่อสื่อสารอะไรกับใคร และ อยู่กับการฟังธรรม จากเทป ท่านอาจารย์สุจินต์ และ อ่านหนังสือของมูลนิธิฯ สัก 1 สัปดาห์ เพื่อจะทำความเข้าใจกับ ธรรม เพียงอย่างเดียว เพื่อประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน คุณคิดว่าจะได้ผลหรือไม่
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วิริยะ
วันที่ 21 ส.ค. 2552

ไม่สามารถบอกว่าได้ผลนะคะ ตัวอย่างคือตัวดิฉันเอง ก่อนหน้านั้นดิฉันออกจะยุ่งต้องขับรถรับส่งลูกทุกวัน และก็ใช้เวลาในรถนั่นแหละค่ะ ฟังธรรมจากแผ่นเอ็มพีสามที่ท่านอาจารย์สุจินต์บรรยาย ฟังตั้งแต่พื้นฐานพระอภิธรรม ดิฉันยังจำความรู้สึกนั้นได้ว่าดิฉันฟังแล้วรู้สึกว่า ปัญญาเกิด ถึงจะเป็นปัญญาขั้นต้นก็ตาม ดิฉันใช้ศัพท์ทางธรรมไม่ค่อยเป็นนะคะ คือ รู้แต่ว่า หลังจากที่มีการฟังอย่างสมำเสมอ ถึงจะวันละนิดวันละหน่อยก็ตาม ด้วยการฟังนั้นแหละ ทำให้ดิฉันรู้จักตัวเองดีขึ้น เวลาอกุศลจิตตัวเองเกิดก็ไม่หลอกตัวเอง

ปัจจุบันนี้มีเวลาว่างขึ้นมาก เพราะไม่ต้องรับส่งลูก มีเวลาฟังธรรมมีเวลาศึกษาธรรม

จากเว็บไซต์ แต่ทราบไหมคะ ดิฉันฟังธรรมไปถอนหายใจไปเพราะฟังไม่เข้าใจ ในหัวข้อ

สมถภาวนาและสติปัฎฐาน จนลูกสาวหันมามองแล้วบอกว่า ถ้าแม่ถอนหายใจอย่างนี้ หนู

จะไม่ให้แม่ฟัง ขณะนั้นตัวเองก็นึกละอายขึ้นมาวูบหนึ่งนะคะ จนกระทั่งได้มีโอกาสสนทนา

ธรรมบนกระดานสนทนานี้ จึงฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า เรากำลังมีโทสะ และ โลภะ คือถ้าจิตใจ

ไม่สบาย อย่างนี้คือต้องมีอะไรผิดทางแน่นอน จึงเริ่มเข้าใจว่า ตัวเองกำลังอยากให้เข้า

ใจ อยากให้ปัญญาเกิดเร็วๆ ซึ่งผิดกับตอนที่ยุ่งๆ ดิฉันไม่ได้เป็นเช่นนี้เลย

จึงขอให้ความเห็นที่สิบห้าลองพิจารณาเป็นตัวอย่างนะคะ เวลาและสถานที่ก็มีส่วน

เกี่ยวข้องในการศึกษาธรรม แต่นอกเหนือจากนั้น น่าจะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wanchai2504
วันที่ 21 ส.ค. 2552

สี่ปีที่ผ่านมาผมมีท่านอาจารย์และท่านกัลญาณมิตรติดตามไปสนทนาธรรมให้ฟังทุกหนทุกแห่ง ซึ่งโดยมากก็ในขณะขับรถรับส่งลูก (และที่บ้าน) เดี๋ยวนี้ยิ่งหนักกว่าเดิมเพราะทั้งวันรับส่งลูก ทั้งมหาวิทยาลัย มัธยมศึกษา และ ประถมศึกษา ออกจากบ้านแต่เช้ากว่าจะกลับเข้าบ้านก็เย็นค่ำทุกวัน แต่ชีวิตยอดเยี่ยมมากเพราะมีท่านอาจารย์ ท่านวิทยากรทุกท่าน และ ท่านกัลญาณมิตร ตามไปสนทนาธรรมให้ฟัง ชาตินี้ประเสริฐยิ่งแล้ว ผมขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ ท่านวิทยากร และท่านกัลญาณมิตรทุกท่านมาณ ที่นี้ด้วยครับ ฟังครับ ฟังๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แล้วท่านจะรู้เอง อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ประสาน
วันที่ 24 ส.ค. 2552

เห็นด้วยกับความเห็นที่ 17 ขอบคุณทุกๆ ท่าน เจริญธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
homenumber5
วันที่ 26 ส.ค. 2553

เรียนท่านเจ้าของกระทู้และกัลยาณมิตรทุกท่าน

ดิฉันได้เคยเขียนประสบการณ์ที่เริ่มสิกขาธรรมมาแล้ว และตรั้งนี้ หากดิฉัน จะเริ่มสิกขา

อีกครั้งดิฉันมีข้อสังเกตุดังนี้ค่ะ

๑. การสิกขาธัมมะคือการเพิ่มธัมมสัญญาในจิต ทำให้คนแตกต่างจากสัตวเดรัจฉาน

ดังนั้นคนต้องสิกขาธัมมะที่ถูกต้องโดยเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก

๒. พระไตรปิฎกนั้นแม้แปลเป็นไทยแล้วก็ยังเข้าใจยาก ต้องฟังจากผู้ที่สิกขาธัมมถูก-

ต้องมาก่อน และการฟังบ่อยๆ และเข้าใจทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ เป็นไป เพราะอาจารย์

หลายท่านก็ใช้เวลา สามสิบ สี่สิบปีก็มี ยังต้องฟังและอ่าน สม่ำเสมอ

๓. เมื่อฟังธัมมะใดหากยังไม่เข้าใจ ขอให้ผ่านไปก่อน ให้คิดว่า ภูมิธัมมของตนยังไม่

พอจะฟัง ให้ฟังธัมมะเรื่องอื่นๆ ไปก่อน

๔. เวลา ง่วง ไม่เข้าใจอย่าโมโห หงุดหงิดเลย เพราะจะมีอกุศลเกิดแทนที่กุศล

๕. หากมีเรื่องใดไม่เข้าใจให้เข้ามาตั้งกระทู้

ในนี้เชื่อว่ากัลยาณมิตรทุกท่านจะพยายาม เชื่อมโยงชี้แนะ ให้กระจ่างขึ้นบ้าง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
อุตตมสารี
วันที่ 27 ส.ค. 2553

การศึกษาธรรมนั้น ไม่ต้องมีระบบ หรือ ขั้นตอน อะไร ศึกษาจากเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้าให้

เข้าใจไปเรื่อยๆ รู้ให้เท่าทันความคิดของตัวเอง ทุกสภาวธรรมที่เกิดขึ้น คือความรู้ รู้ไป

เรื่อยๆ ก็จะเข้าใจ เรื่องๆ เดียวกันแต่มองกันคนละมุม ความรู้ก็ได้คนละมุม รู้ให้ได้หลายๆ

มุม มันก็จะครบของมันเองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีถึง ๒๔ ปัจจัยมันถึงโยง

กันไปโยงกันมา แท้จริงมันก็เรื่องเดียวกัน แต่หลายมุมมอง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ