นี่เป็นการเตือนค่ะ : ไม่ใช่ให้ มีเรา ไปกะเกณฑ์ ไปคิด ไปวางรูปแบบ

 
คุณย่า
วันที่  17 ส.ค. 2552
หมายเลข  13242
อ่าน  2,767

ปฏิบัติธรรม
อาทิตย์ ๑๙ ต.ค. ๕๑

กุล ขอให้คุณประเชิญช่วยให้ความหมายของคำว่า บารมี”

ประเชิญ ในที่มีก็มีการกล่าวถึง “บารมี” มาหลายครั้ง จากท่านอาจารย์และจากในหนังสือใน ชีวิตประจำวันก็มีอธิบาย ซึ่งโดยศัพท์ปาร-มี ปาร=ฝั่ง มี=ถึง ปารมี ตามศัพท์= ถึงฝั่ง แต่โดยอรรถ หมายถึง ธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งที่เป็นฝั่งอันเกษม คือ ในชีวิตของปุถุชนทั้งหลาย ท่านเปรียบเหมือนกับบุคคลที่ลอยคออยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร ซึ่งมีภัยจากน้ำวน ภัยจากสัตว์น้ำ จระเข้ ปลา สัตว์ร้าย ทั้งคลื่นลม นี่คือชีวิตของผู้ที่ยังมีกิเลส อยู่ในสังสารวัฎฏ์ แต่ผู้ที่ดับอกุศล คือ กิเลสได้ทั้งหมดแล้ว ข้ามถึงฝั่ง นั่นคือพระอรหันต์ หรือเป็นพราหมณ์ผู้ขึ้นสู่ฝั่งก็ได้ คือ ผู้ที่ลอยบาปได้แล้ว

เพราะฉะนั้น โดยนัยนี้คนที่ว่ายังมีกิเลส และยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารอันน่ากลัว เปรียบเหมือนกับคนลอยคออยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งจะต้องประสบกับภัยทั้งหลาย ซึ่งก็มีผู้ที่ถึงฝั่งและแนะนำให้ผู้อื่นถึงฝั่งได้ ก็คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ถึงฝั่ง และสาวกทั้งหลายที่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็สามารถถึงฝั่งได้ บารมีโดยอรรถแล้ว ก็หมายถึง คุณธรรม ๑๐ ประการ คือ ชื่อของธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่ง เพียงทานบารมีเท่านั้นก็ยังไม่ทำให้ถึงฝั่ง ต้องอาศัยธรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่จะนำออก คือให้พ้นจากวัฏฏะ หรือพ้นจากโอฆะหรือโยคะอันท่วมทับอยู่ในขณะนี้ ธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งได้คือ “บารมี”

กุล มีผู้เขียนมาเรียนถามว่า “ทานบารมี” เป็นการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ขอถามว่า ถ้าหากว่าเราให้ทุนการศึกษาแก่เด็กแต่ห่วงว่า เมื่อเด็กได้รับทุนการศึกษาแล้ว จะตั้งใจเรียนหนังสือ จะถือว่าเป็นทานบารมีหรือไม่

อาจารย์ เพราะชอบถือ ชอบจริงๆ ทำอะไรก็ถือว่าอย่างนั้น ถ้าว่าอย่างนี้แล้วยังมีคำว่าใช่ไหมด้วย จริงๆ แล้วถ้าพูดเป็นภาษาไทยธรรมดาพูดง่ายๆ ว่าความดีได้ไหม เพราะว่า ”บารมี” ดูแสนไกลแต่ถ้าความดีมีอะไรบ้างวันนี้มีหรือยัง ทีละเล็กทีละน้อยที่เป็นความดี วันหนึ่งก็สามารถจะมากขึ้นได้ เพราะว่าแม้แต่ทาน การให้ทุกอย่างที่เป็นความดีเป็นสิ่งที่จะทำให้คลายการยึดถือสภาพธรรม และไม่สะสมอกุศล ถ้าขณะนั้นไม่ใช่ความดีมี ๒ อย่างนะค่ะ ดี ชั่ว ขณะที่ไม่ดีก็สะสมไป ความไม่ดีขณะที่ดีแม้เล็กน้อยสักเท่าไรก็สะสมไป เวลาที่ประกอบด้วยปัญญาก็จะรู้ได้เลยว่าเคยดีแล้วหวัง หรือว่าดีคือดีโดยไม่หวัง “หวัง” ดีไหมค่ะ ต้องมีความเข้าใจว่า “หวัง” เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ต้องตรงแล้วเราจะต้องถามใครไหมถืออย่างนั้นได้ไหม ในเมื่อหวังขณะไหนก็เป็นธรรมที่เป็นโลภะ เป็นความต้องการเป็นความติดข้องแต่เรื่องกุศลทั้งหลายเป็นเรื่อง “ละ” เป็นเรื่อง “สละ” แล้วจะไม่ให้หวังได้ไหม เป็นเรื่องที่ละเอียดมากค่ะ ไม่ใช่ฟังแล้วอยากจะทำ วางกรอบต่อไปนี้จะทำดีโดยไม่หวังแล้วถ้าหวังเกิดล่ะก็เป็นธรรม

เพราะฉะนั้น ก่อนอื่น ไม่ใช่ให้ มีเรา ไปกะเกณฑ์ ไปคิด ไปวางรูปแบบใดๆ แต่ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่า “ธรรมเป็นสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้” ไม่ว่าจะเป็นขณะไหนทั้งสิ้น อย่างเมื่อเช้า ไม่ชอบโกรธ รู้ว่าโทสะเกิด รู้ใช่ไหมค่ะ รู้ว่าโทสะเกิดแต่โทสะก็ยังเกิดต่อไปเรื่อยๆ ขอถามซ้ำเมื่อเช้าอีกครั้งหนึ่ง เห็นขณะนี้เห็นแล้วก็ดับ เห็นแล้วก็เกิด เห็นแล้วก็ดับคิดจะไม่ให้เห็นเกิด (บ้าง) ไหม ในเมื่อกี้นี้คิดจะไม่ให้โทสะเกิดอีก ไม่เคยเลยใช่ไหมค่ะ แต่พอโทสะเกิดเพราะไม่ชอบ ก็ไม่อยากให้เกิด แต่ไม่ได้เข้าใจความจริงว่า ไม่ว่าธรรมฝ่ายใดประเภทใดทั้งสิ้น ถ้าไม่มีปัจจัยเกิดไม่ได้เลยและปัจจัยนั้นๆ ก็ทำให้เกิดสภาพนั้นๆ ซึ่งจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย ต้องเป็นอย่างนั้น ที่เกิดแล้ว เมื่อเกิดแล้วก็เปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 20 ส.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 21 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pamali
วันที่ 7 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chaweewanksyt
วันที่ 16 ธ.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 15 พ.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ และคุณย่าสงวน ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ