ความเข้าใจเบื้องต้นในการศึกษาธรรมะ

 
aiatien
วันที่  11 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1319
อ่าน  980

ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นที่สำคัญในการศึกษาเรื่องธรรมะ ควรเป็นเรื่องใดบ้าง เช่น จิต ควรจะรู้หรือเข้าใจในเรื่องใดบ้าง เจตสิก ควรจะรู้หรือเข้าใจในเรื่องใดบ้าง รูป ควรจะรู้หรือเข้าใจในเรื่องใดบ้าง เป็นต้น

ขอกราบขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

การศึกษาปรมัตถธรรมเบี้องต้น ควรรู้และเข้าใจ จิตประเภทต่างๆ และจิตประเภทไหนประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้าง และจิตเป็นเพียงธรรมะ ควรรู้และเข้าใจ เจตสิกประเภทต่างๆ ควรรู้และเข้าใจรูปประเภทต่างๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดเพราะสมุฏฐานอะไรความรู้เรื่องของปรมัตถธรรมต่างๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา ด้วยการเห็นประโยชน์และด้วยความเคารพในพระธรรม และพระศาสดาผู้แสดง และพระสงฆ์สาวกผู้สืบสอด พระธรรม ไม่ควรศึกษาพระธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างอื่น มีเพื่อลาภ หรือสรรเสริญเป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Buppha
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pcha
วันที่ 12 มิ.ย. 2549
ผมว่าเรียนรู้ธรรมะในการดำรงชีวิตประจำวันก่อนดีมั้ยครับ เริ่มจากรู้ดี รู้ชั่ว เว้นชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้แจ่มใส เนื่องจากเรามีทางเข้า 6 ออก 3 ถ้าเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเกิดมโนสุจริต และกายสุจริต วจีสุจริต ส่วนเราจะยืนเดินนั่งนอนอย่างไรทำกิจกรรมอะไร ก็รับรู้ตามเป็นจริงและเฝ้าระวังด้วยสติ ผมได้เริ่มขนาดนี้ค่อยไปศึกษา/วิปัสนาต่อ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

ขอรวบรวมข้อคิดทางธรรมะให้ท่านผู้ชมและคุณpcha ได้โปรดพิจารณา

คัดจากข้อความโดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

ปัญญาจะเกิดขึ้นด้วยการฟังพระธรรม (ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา) ผู้ที่มีปัญญาย่อมเห็นคุณของกุศลทุกประการ ย่อมให้ทาน รักษาศีล และอบรมเจริญปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท ฉะนั้น ในชีวิตประจำวันของผู้ศึกษาพระธรรมย่อมเป็นผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการ ไม่ใช่กิจที่จะต้องมาจัดลำดับว่า ศีลก่อน สมาธิก่อน ปัญญาภายหลัง แต่การศึกษาให้มีความเข้าใจในพระธรรมคำสอนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่เข้าใจ ไปรักษาศีล ก็เป็นตัวเรา ทำสมาธิก็ไม่ทราบว่าเป็นมิจฉาสมาธิหรือว่าเป็นสัมมาสมาธิ อีกอย่างหนึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้นมีทั้งศีล สมาธิ และปัญญา

การเพียรฟังพระธรรมเป็นการสะสมอบรมปัญญาไปทีละเล็กทีละน้อย แม้ในอดีตเราสะสมมาน้อย ในชาตินี้เราก็เริ่มสะสมให้ค่อยๆ มากขึ้นได้ ถ้าสังขารขันธ์ปรุงแต่งเพียงพอที่จะให้ระลึกรู้ได้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่กำลังปรากฎ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ขณะนั้นก็เริ่มรู้ เมื่อสะสมมากขึ้น อวิชชาและอกุศลทั้งหลายก็ค่อยๆ ลดลง แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้นจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

ขอรวบรวมข้อคิดทางธรรมะให้ท่านผู้ชมและคุณpcha ได้โปรดพิจารณา

คัดมาจากข้อความของสมาชิก : shumporn.t

ปัญญาขั้นศีลและขั้นสมาธิไม่สามารถดับกิเลสได้ แต่ปัญญาระดับสติปัฏฐานเป็นปัญญาที่รู้ความเป็นจริงของสภาพธรรมะ จึงสามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท การอบรมปัญญา ความเห็นถูก ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตนเราเขา เป็นเพียง จิตเจตสิก และรูป จะทำให้เราเริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตามากขึ้นๆ เมื่อปัญญานำ ไม่ต้องห่วงเรื่องศีลและสมาธิ เพราะปัญญาเป็นปัจจัยให้อบรมบารมีทั้ง ๑๐ ได้ยิ่งๆ ขึ้น

ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มีสภาพธรรมะให้ศึกษา ขึ้นอยู่ว่าสภาพธรรมะปรากฏอยู่ต่อหน้ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน การเจริญขึ้นของสติและปัญญา ต้องเริ่มจากการฟัง ฟังแล้วคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วปัญญาจะทำหน้าที่ของเขาเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pcha
วันที่ 13 มิ.ย. 2549

ปัญหาใหญ่ของคนเรา ก็คือ เรียนธรรมไม่เอาไปทำน่ะครับ อยากให้เริ่มต้นในสิ่งที่เริ่มได้ทันทีลงมือทำไป พัฒนาไป จริงอยู่แหละครับที่สุตมยปัญญาย่อมต้องเกิดก่อน ไม่งั้นเราก็จะปฏิบัติธรรมแบบปทปรมบุคคล หาประโยชน์อันใดได้น้อยนะครับ ยิ่งเมื่อใช้จินตมยปัญญาไปจะยิ่งฟุ้งหรือเปล่า แล้วจะนำไปเกิดเป็นภาวนามยปัญญาอย่างไร แล้วจะเปลี่ยนจากสภาพจากกิจกรรมทางจิต2/มโนกรรม เป็นกายกรรม วจีกรรมมั้ยน้อ พอดีมีพรรคพวกหลายคนเป็นพวก NATONo = Action Talk Only

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มิ.ย. 2549

การฟังธรรม ศึกษาธรรม เพื่อที่จะให้เข้าใจธรรมที่ละเอียด จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น การฟังธรรมทุกครั้งก็เพื่อให้เกิดความเห็นถูก ซึ่งเป็นปัญญา และจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นด้วย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ