พระอรหันต์

 
wuttichais
วันที่  5 ส.ค. 2552
หมายเลข  13101
อ่าน  2,757

ในปัจจุบันมีพระอรหันต์หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 6 ส.ค. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 6 ส.ค. 2552

ยุคนี้ในมนุษย์ไม่มีพระอรหันต์ มีแต่ในสวรรค์และในพรหมโลกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wuttichais
วันที่ 6 ส.ค. 2552

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
assistant
วันที่ 7 ส.ค. 2552

ขอเรียนถามด้วยความเคารพ

ทราบได้อย่างไรว่า ยุคนี้ในมนุษย์ไม่มีพระอรหันต์

มีแต่ในสวรรค์และในพรหมโลก

ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13101 ความคิดเห็นที่ 4 โดย assistant ขอเรียนถามด้วยความเคารพ ทราบได้อย่างไรว่า ยุคนี้ในมนุษย์ไม่มีพระอรหันต์ มีแต่ในสวรรค์และในพรหมโลก ขอบคุณมากครับ

- ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแสดงไว้ ตามลิงก์ ความเห็นที่ 1 และเป็นยุคกาลวิบัติ คนมีกิเลสหนา มีปัญญาน้อย

สำหรับบนสวรรค์หรือพรหม ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ยุคนั้น แต่ท่านมีอายุยืนยาว หรือบางท่านสำเร็จอริยะขั้นต้น อบรมเจริญปัญญาต่อก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
rukawa119
วันที่ 7 ส.ค. 2552

สวัสดีครับ

ถ้าเป็นพระอริยบุคคลท่านอื่นๆ ที่ยังอยู่ในชั้นพรหมเชิญอ่านกระทู้นี้นะครับ

ท่านสนังกุมารพรหมคือใครครับ

//www.dhammahome.com/webboard/topic/12960

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
assistant
วันที่ 7 ส.ค. 2552
ขอบคุณมากครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
akrapat
วันที่ 7 ส.ค. 2552

เป็นหัวข้อที่ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะเมื่อไหร่ที่ยึดมั่น ถือมั่นในความคิดเห็นของตัวเองบางทีอาจจะกลายเป็นเหตุที่ทำให้เนิ่นช้าในธรรม หรือที่เรียกว่า ปปัญจธรรม (ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ปุถุชนไม่สามารถที่หยั่งรู้ ว่าใครเป็นพระอริยะ แม้การตีความตามพระไตรปิฎก การนับ พันปี ก็ยังคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน การศึกษาธรรมะถ้าเมื่อไหร่ที่ยิ่งศึกษาแล้วเพิ่มอัตตา ตัวตนจนรู้สึกว่าตัวเองรู้มาก รู้ดีกว่าคนอื่น แทนที่จะละความเห็นผิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ก็จะกลายเป็นเรารู้ธรรมะมากกว่าคนอื่น ความคิดความเห็นถ้ามีความยึดมั่นถือมั่น ก็กลายเป็นทิฏฐิอุปาทาน

เพราะฉะนั้น บางทีครูบาอาจารย์บางท่านคงไม่มานั่งถกเถียงเพื่อยืนยัน ความเห็นของตัวเอง เพราะแม้แต่ ขันธ์ห้า รูป นาม ก็ยังเป็นธรรมะ ยังปล่อยวางได้ นับประสาอะไรกับความคิดความเห็นลูกศิษย์ที่ ทิฏฐิ มานะ เยอะ ท่านก็ต้องปล่อยไปตามบุญตามกรรม ไม่ต้องการที่จะแสดงความเห็นแย้งกับใครนะครับ ถ้าใครอ่านแล้วไม่สบายใจก็คิดซะว่า ความไม่สบายใจก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา หรือถ้าใครมาชื่นชม ความคิดเห็นของตัวเองแล้วรู้สึกดีใจ ความดีใจก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา สำคัญอยู่ที่มีปัจจัยให้สติระลึก ในธรรมะที่เกิดขึ้น ในขณะนั้นหรือเปล่า ถ้าสติเกิด ก็ไม่ใช่เรา ถ้าสติไม่เกิดก็ยังเป็นเรา แค่นั้นก็ไม่มีเราที่จะไปเดือดร้อน ว่าพระอรหันต์ในยุคนี้มีหรือไม่มี พอดีมีพระสูตรบทหนึ่งมาให้พิจารณา

[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปีเขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

พอดีคนในยุคนี้ อินทรีย์ยังอ่อนอาจจะมากกว่านั้นแต่ไม่น่าจะเกินหนึ่งกัปของอายุคนๆ หนึ่ง เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในยุคนี้ ท่านบำเพ็ญบารมีในด้านปัญญาธิกะ นำศรัทธาและวิริยะ คือ ๔ อสงไขย กับ แสนมหากัป นับจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์ พระสาวกของท่านถ้าเป็นปัญญาธิกะก็ต้องไม่เนิ่นช้า นอกเสียจากว่าใครปรารถนาที่จะเกิดในยุคพระศรีอารย์ ก็ต้องบำเพ็ญด้านวิริยาธิกะ นำปัญญา และศรัทธา เพราะเท่าที่ทราบจากตำรา ศาสนาในยุคของท่านจึงต้องมีอายุขัยของมนุษย์ ๘๐,๐๐๐ ปี เพราะพระศรีอารย์ท่านบำเพ็ญบารมี มากว่า ๑๖ อสงไขย นับแต่ที่ได้รับพุทธพยากรณ์

ผิดพลาดประการใดขออโหสิกรรมและอนุโมทนากับความคิดความเห็นทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันใหม่
วันที่ 9 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 8

ที่กล่าวว่า พอดีคนในยุคนี้อินทรีย์ยังอ่อนอาจจะมากกว่านั้น แต่ไม่น่าจะเกินหนึ่งกัปป์ของอายุคนๆ หนึ่ง เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในยุคนี้ ท่านบำเพ็ญบารมีในด้านปัญญาธิกะนำศรัทธาและวิริยะ คือ ๔ อสงไขย กับ แสนมหากัปป์ นับจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์ พระสาวกของท่านถ้าเป็นปัญญาธิกะก็ต้องไม่เนิ่นช้า นอกเสียจากว่าใครปรารถนาที่จะเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ก็ต้องบำเพ็ญด้านวิริยาธิกะ นำปัญญา และศรัทธา เพราะเท่าที่ทราบจากตำรา ศาสนาในยุคของท่าน จึงต้องมีอายุขัยของมนุษย์ ๘๐,๐๐๐ ปี เพราะพระศรีอาริย์ท่านบำเพ็ญบารมี มากว่า ๑๖ อสงไขย นับแต่ที่ได้รับพุทธพยากรณ์

พระพุทธเจ้าแบ่งเป็นปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ ส่วนสัตว์โลกแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท รวมทั้งพระสาวกที่จะบรรลุก็อยู่รวมในการจัดแบบนี้ ไม่ได้จัดแบบ ปัญญาธิกะ ... เพราะไม่เช่นนั้น สาวกทุกองค์ก็ต้องบรรลุเร็วกันหมด ซึ่งแบ่งเป็นดังนี้ บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถามด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่า เนยยะ. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่า ปทปรมะ. แม้พระราหุล ก็ยังใช้เวลาสิบกว่าปีในสมัยพุทธกาลกว่าจะได้บรรลุ

การศึกษาธรรมเป็นเรื่องของการศึกษาโดยละเอียด คือ ทั้ง ๓ ปิฎก ไม่ใช่เพียงบางพระสูตรแล้วตีความตามความเข้าใจ แต่ต้องศึกษาอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องเทียบเคียงกับสูตรอื่นๆ ด้วยการยกข้อความพระไตรปิฎกจากหลายสูตร จึงไม่ใช่เอาความคิดตัวเอง แต่เป็นไปตามที่พระพุทธพจน์ทรงแสดง ดังเช่น โคตมีสูตรที่กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 554

ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.

จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑

จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนา ย่อมค่อยๆ อันตรธานหายไป จนเมื่อถึง ๕ พันปี ก็หมด แต่ก็ต้องค่อยๆ หมด ไม่ใช่ว่าต้องรอถึงปี ๔๙๙๙ จึงจะหมดพระอรหันต์ แต่ ต้องค่อยๆ เสื่อม คือจากพันปีแรกมีพระอรหันต์ที่ได้ฤทธิ์ทรงคุณมากมาย พันปีที่สองก็มีพระอรหันต์อยู่ แต่ไม่ได้ฤทธิ์แล้ว จนถึงพันปีที่สาม ก็มีเพียงพระอนาคามี เท่านั้น จะเห็นว่า ค่อยๆ เสื่อมไปตามลำดับ ไม่ใช่เสื่อมแบบก้าวกระโดด ต้องรอถึง ๔๙๙๙ ถึงจะหมดพระอรหันต์เพราะอ้างว่ามีสติปัฏฐาน ๔ มีคำสอนจริง แต่เข้าใจถูกหรือเปล่า ดังนั้นการบรรลุจึงค่อยๆ เสื่อมตามลำดับที่กล่าวมา ดังจะขอยกข้อความประกอบอีก เพื่อความเข้าใจในการเสื่อมไปตามลำดับ ในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่างคืออธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑. ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม.

อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไปตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็ อภิญญา ๖. แต่นั้น เมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไปๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไปเพราะความสิ้นไปแห่งชีวิตของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุดดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 554

ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี ๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.

จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 9 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
akrapat
วันที่ 10 ส.ค. 2552

ขอขอบคุณและอนุโมทนา ความคิดเห็นคุณ วันใหม่ ด้วยนะครับ ที่ยกเอาพระสูตรต่างๆ มาให้พิจารณา

เจตนาของกระผม เพียงไม่อยากให้เรา ท่านๆ ทั้งหลาย ไปพาดพิงครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ ถึงแม้ท่านจะใช่พระอรหันต์ หรือไม่ก็ตาม เดี๋ยวลูกศิษย์ของท่านเหล่านั้นจะตำหนิเราได้ เพราะทุกวันนี้ชาวพุทธเราเองที่เป็นพุทธแท้ๆ เหลือน้อยเต็มที ถ้าสำนักต่างๆ มัวมานั่งถกเถียงกันว่าสำนักใดดีกว่าสำนักใด ผมว่ามันจะยิ่งห่างไกลธรรมะ ก็ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ หนีไม่พ้น จิต เจตสิก รูป นิพพาน แล้วมีอะไรที่ต้องยึดถืออีกล่ะครับ แม้แต่สติปัฏฐานก็เป็นธรรมะ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ ท่านอาจารย์สุจินต์เอง ท่านก็ให้เคารพในคุณงามความดีของบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ในระดับใดก็ตาม เพราะท้ายสุด ถ้าท่านใดมีโอกาสสั่งสมบารมีจนเป็นพระอรหันต์ ท่านคงไม่ยึดถืออะไรเลยแม้จะเรียกท่านว่า พระอรหันต์ หรือไม่ก็ตาม

จริงๆ แม้ภูมิธรรมระดับพระโสดาบัน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวของท่านเองสักแต่ว่าสภาวะธรรมอย่าง แต่ยังปล่อยวางไม่ได้เท่านั้นเอง

ถ้าความเห็นของผมผิดพลาดประการใด ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะตอบโต้ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ พอดีมีเหตุปัจจัยให้กลับมาอ่านความเห็นอีกครั้งหนึ่ง กะว่าจะมีคนชม อาจจะได้อวดภูมิธรรมอีกรอบ (อาจจะเป็นเพราะ ขุ่นเคืองนิดๆ จึงเป็นเหตุให้ทำกรรม กว่าจะระลึกได้ว่าเป็นธรรมะ ก็กลายเป็นการแสดงความเห็นอีกรอบไปแล้ว)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
dama
วันที่ 13 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13101 ความคิดเห็นที่ 11 โดย akrapat

ขอขอบคุณและอนุโมทนา ความคิดเห็นคุณ วันใหม่ ด้วยนะครับที่ยกเอาพระสูตรต่างๆ มาให้พิจารณา เจตนาของกระผมเพียงไม่อยากให้เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ไปพาดพิงครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ ถึงแม้ท่านจะใช่พระอรหันต์ หรือไม่ก็ตาม เดี๋ยวลูกศิษย์ของท่านเหล่านั้นจะตำหนิเราได้ เพราะทุกวันนี้ชาวพุทธเราเองที่เป็นพุทธแท้ๆ เหลือน้อยเต็มที ถ้าสำนักต่างๆ มัวมานั่งถกเถียงกันว่าสำนักใดดีกว่าสำนักใด ผมว่ามันจะยิ่งห่างไกลธรรมะ ก็ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ หนีไม่พ้น จิต เจตสิก รูป นิพพาน แล้วมีอะไรที่ต้องยึดถืออีกล่ะครับ แม้แต่สติปัฏฐานก็เป็นธรรมะ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ ท่านอาจารย์สุจินต์เองท่านก็ให้เคารพในคุณงามความดีของบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ในระดับใดก็ตาม เพราะท้ายสุด ถ้าท่านใดมีโอกาสสั่งสมบารมีจนเป็นพระอรหันต์ ท่านคงไม่ยึดถืออะไรเลยแม้จะเรียกท่านว่า พระอรหันต์ หรือไม่ก็ตาม

จริงๆ แม้ภูมิธรรมระดับพระโสดาบัน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวของท่านเองสักแต่ว่าสภาวะธรรมอย่าง แต่ยังปล่อยวางไม่ได้เท่านั้นเอง

ถ้าความเห็นของผมผิดพลาดประการใด ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะตอบโต้ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ พอดีมีเหตุปัจจัยให้กลับมาอ่านความเห็นอีกครั้งหนึ่ง กะว่าจะมีคนชม อาจจะได้อวดภูมิธรรมอีกรอบ (อาจจะเป็นเพราะ ขุ่นเคืองนิดๆ จึงเป็นเหตุให้ทำกรรม กว่าจะระลึกได้ว่าเป็นธรรมะก็กลายเป็นการแสดงความเห็นอีกรอบไปแล้ว)

- ผมเห็นดีด้วยกับท่านครับ

๒๕๐๐ กว่าปีแล้ว ไม่มีอะไรถูกทั้งหมดในตัวมันเอง ต่างคนก็เข้าใจดี ยิ่งยกตัวอย่างยิ่งเข้าใจดี แต่ก็เป็นธรรมดานะเรื่องแบบนี้ เราก็ทำหน้าที่ดีแล้วต่อเพื่อนๆ เรา ทุกท่านก็ทำหน้าที่ได้ดีเท่าที่กำลังของตัวมี สาธุทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
กิเลสเน่าหนา
วันที่ 16 ส.ค. 2552

จริงๆ แล้วจะมีหรือไม่มีก็ไม่มีผลต่อการอบรมเจริญปัญญาใช่ไหมครับ

ถ้ารู้ว่าตอนนี้ไม่มีแล้วยังไงหรือ?

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เซจาน้อย
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
nopwong
วันที่ 24 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ไกร
วันที่ 2 ม.ค. 2560

ท่านที่มีบัตรประจำตัวประชาชนๆ บอกว่าศาสนาพุทธ ควรจะได้อ่านพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนามากๆ จะได้รู้วิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา พระไม่ทำตามพระวินัยสงฆ์ ฆราวาสทำบุญผิดพระวินัยสงฆ์ จะได้บุญหรือได้บาป ตัวอย่างก็เห็นกันอยู่ ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ