รูปหรือทสกที่เกิดในภูมิต่างๆ [วิภังค์]

 
JANYAPINPARD
วันที่  31 ก.ค. 2552
หมายเลข  13036
อ่าน  2,177

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

คำว่า มี ๒ ทสกะบ้าง มี ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำเกิดพร้อมกับ วิญญาณที่ระคนกับรูปเบื้องต้น ความว่า ในวิญญาณเหล่านั้น วิญญาณ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูป และไม่ระคนกับรูป ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูป อันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน ๒ ทสกะ คือ กายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ ๓ ทสกะ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลง กว่านั้น

ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิด ขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาใส ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง ๒ อันมีชื่อว่า อัณฑชะ และ ชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดขึ้นกำเนิดเหล่านั้น ด้วย สามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย

จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ เทเวสุ จ น โยนิโย ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ จตสฺโสปิ คติตฺตเย กำเนิด ๓ ข้างต้น * ย่อมไม่มีในนรก และไม่มีในพวกเทพทั้งหลาย เว้น ภุมมเทวดา กำเนิด ๔ ย่อมมีในคติ ๓

ในคาถานั้น ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด ๓ ข้างต้น

พึงทราบว่า ไม่มีในนิชฌามตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและในเทพทั้งหลาย เว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่างเดียว แต่กำเนิด ๔ มีในคติ ๓ ที่เหลือกล่าวคือ สัตว์เดรัจฉาน ปีตติวิสัย และมนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น บรรดากำเนิดเหล่านั้น

ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป ๓๙ กลาป ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด ย่อมเกิดรูป ๗๐ กลาป โดยกำหนดอย่างสูง หรืออย่างต่ำมี ๓๐ กลาป

ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป ๓๙ กลาป ย่อมเกิดพร้อม กับปฏิสนธิวิญญาณด้วยสามารถแห่งกลาป ๔ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตนวกะ ส่วนในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด เหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป ๗๐ กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่ง วัตถุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และ วัตถุทสกะ และรูป ๗๐ กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูป ที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป ๑๐ เหล่านั้น คือ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑


Tag  ทสก  รูป  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ