ความสุข

 
ajarnkruo
วันที่  25 พ.ค. 2552
หมายเลข  12484
อ่าน  2,232

ช่วงนี้ ได้ดูรายการโทรทัศน์ และได้ยินประโยคหนึ่งที่หลายคนชอบๆ พูดกัน ซึ่งเป็นความคิดเห็นของชาวโลกทั่วๆ ไป...ที่ว่ากันว่า...

"อะไรทีทำแล้วมีความสุข ก็รีบๆ ทำเสียก่อนเถิด ก่อนที่จะไม่มีโอกาสจะได้ทำ"

แต่ในทางธรรมแล้ว สิ่งที่ควรเร่งรีบกระทำคือสิ่งใด และทำเพื่ออะไร

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ในทางธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่ควรเร่งรีบกระทำก็คือ กุศลธรรม หรือ ความดีครับ เพราะกุศลธรรมหรือความดีนั้นย่อมนำมาซึ่งประโยชน์และความสุขโดยเฉพาะกุศลธรรมคือสติปัฏฐาน หรือ อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นเหตุให้กิเลสดับ สิ้นทั้งหมด แต่ต้องค่อยๆ เป็นไปตามลำดับจะข้ามขั้นไม่ได้

เริ่มตั้งแต่การศึกษา การฟังพระธรรมให้เข้าใจครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 25 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Khaeota
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอคัดลอกจากข้อความส่วนหนึ่งของ Ajarnkruo

"อะไรทีทำแล้วมีความสุข ก็รีบๆ ทำเสียก่อนเถิด ก่อนที่จะไม่มีโอกาสจะได้ทำ"

ความสุขอื่นใดไม่เทียบเท่ากับการได้ทำคุณงามความดี เพราะคุณงามความดีที่ ทำด้วยความบริสุทธิใจ ไม่หวังผล จะไม่นำทุกข์มาให้ ปกติแล้วมักจะคิดว่าคุณงามความดีจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่แท้จริงแล้วต้องไม่ลืม "ธรรมทุกอย่างเป็น อนัตตา"

จึงขอให้ทุกๆ ท่านมีแต่โอกาสไม่ละเลยนาทีทองที่จะเจริญกุศลในทุกๆ ด้านค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 157

"ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุขพอประมาณเสีย ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ก็พึงสละสุขพอประมาณเสีย [จึงจะได้พบสุขอันไพบูลย์] ."

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "มตฺตาสุข."สุขอันโอฬาร ได้แก่สุขคือพระนิพพาน

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " ก็ชื่อว่าสุขพอประมาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้จัดแจงถาดโภชนะถาดหนึ่ง แล้วบริโภคอยู่, ส่วนชื่อว่า นิพพานสุข อันไพบูลย์ คืออันโอฬาร ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สละสุขพอประมาณนั้นเสียแล้ว ทำอุโบสถอยู่บ้าง ให้ทานอยู่บ้าง เพราะเหตุนั้นถ้าบุคคลเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุขพอประมาณนั้นเสีย อย่างนั้น,เมื่อเช่นนั้นบัณฑิตเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์นั่นโดยชอบ ก็พึงสละสุขพอประมาณนั้นเสีย.

ขอให้ทุกท่านสละความสุขพอประมาณ แล้วอบรมเจริญกุศลทุกๆ ประการ โดยไม่เลือก ว่าเป็นกุศลใดและสละเวลาเพื่อฟังธรรม อบรมปัญญาอันเป็นปัจจัยแห่งสุขทีแท้จริงอัน ไม่นำมาซึ่งความทุกข์เลยคือพระนิพพานครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ผมเคยเห็นหนังสือของฝรั่งที่วางจำหน่ายเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ เช่น

สถานที่ ๑๐๐๑ แห่ง ที่คุณต้องไปเที่ยวก่อนตาย

ภาพยนต์ ๑๑๐๐ เรื่อง ที่คุณต้องดูก่อนตาย เป็นต้น

พอมาศึกษาธรรมะแล้ว ก็เห็นความไร้สาระของเรื่องประเภทนี้

ซึ่งก็หารู้ไม่ว่าได้เที่ยวได้ดูกันมากี่ภพกี่ชาติแล้ว และก็คงได้เวียนว่ายอยู่ในเรื่องพวกนี้อีกต่อๆ ไป หากยังไม่มีปัญญาที่จะมองเห็นสัจจธรรมความเป็นจริง

ขออนุโมทนาในความเห็นของท่านอาจารย์ประเชิญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเนินไปในแต่ละวัน ในภพนี้ชาตินี้นั้น ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ไม่มีใครสามารถรู้ได้เลย ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ควรที่จะเป็นผู้ตั้งตนไว้ชอบ คือ ตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ ของบุคคลอื่นมาเป็นของตน ไม่พยาบาทปองร้าย มีการให้อภัยแก่ผู้ที่ประพฤติไม่ดีเสมอ และที่สำคัญคือ เป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง อีกทั้งแม้ในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็ต้องตั้งตนไว้ชอบด้วยเช่นกัน เพื่อจุดประสงค์เดียว คือ เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง

เมื่อมีความเข้าใจธรรมไปตามลำดับ กุศลประการต่างๆ ก็จะเจริญขึ้นตามระดับของความเข้าใจ กุศลธรรมทั้งหลาย นำมาซึ่งความสุข ไม่นำความทุกข์ใดๆ มาให้ รักษาไม่ให้ตกไปในอกุศล และรักษาไม่ให้ตกไปในภพภูมิที่ต่ำ จนกว่าจะบรรลุถึงซึ่งความสุขที่แท้จริง นั่นก็คือ การละทุกข์ทั้งปวง ได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น..

ชีวิตนั้น ถึงแม้จะมีที่พึ่ง ที่อาศัย ทางกาย โดยพร้อมมูลแล้วก็ตาม. แต่ก็หาเป็นความสุข อันแท้จริงไม่.! เพราะจิตใจ ของผู้ที่ยังยินดีในวัตถุนั้นยังไม่เป็นอิสระ จากกิเลส. ยังติดข้อง ยังยินดียินร้าย ทำให้เกิดความทุกข์กังวล เช่น เกรงว่า จะต้องพลัดพราก...จากสิ่งที่ตนรักบ้าง. จะต้องประสบ กับสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รักบ้าง. สภาพจิตเช่นนั้น ขาดที่พึ่งทางใจ.!

การศึกษาพระธรรม ขององค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม ตามกำลังความสามารถ เป็นหนทาง ที่จะทำให้พบ ที่พึ่งอันประเสริฐ ที่ช่วยขจัดปัญหา ความทุกข์ ความขัดข้องใจใดๆ กุศล ที่เป็น ที่พึ่งอันประเสริฐ ของจิตใจนั้น ก็คือ บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐.

ข้อความบางตอน จากหนังสือ "คุยกันวันพุธ"โดย "คณะสหายธรรม"

เรื่อง "ที่พึ่งอันประเสริฐ"

ขออนุโมทนา

(ขอขอบพระคุณ ท่าน...ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ธรรมใด..ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม จงรีบขวนขวายในธรรมนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ข้อความบางตอนจาก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค.

สุพรหมสูตร

สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ.ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า..."จิตนี้ สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้ หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ทั้งเมื่อกิจ ไม่เกิดขึ้น ทั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
ถ้าความสะดุ้งกลัวมีอยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้วโปรดตรัสบอก ความไม่สะดุ้งนั้น แก่ข้าพระองค์เถิด"

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า... "เรายังมองไม่เห็น ความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจาก ปัญญา และ ความเพียรนอกจาก ความสำรวมอินทรีย์นอกจาก ความสละวาง ทุกสิ่งทุกอย่าง"

สุพรหมเทวบุตร ได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อันตรธานไป ในที่นั้นเอง

ขอเชิญอ่าน ข้อความ โดยละเอียด พร้อม อรรถกถาที่นี่ค่ะ.

สุพรหมสูตร

ขอขอบพระคุณ ท่าน...ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 26 พ.ค. 2552

พึงไม่ประมาท ในการละอกุศลทุกประการ เจริญกุศลทุกประการ และอย่าได้ล่วงขณะที่จะฟังพระธรรมให้เข้าใจ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 26 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
choonj
วันที่ 26 พ.ค. 2552

การที่จะกล่าวว่า ควรเร่งทำสิ่งใดและเพื่ออะไรก่อนตายก่อนที่จะไม่ได้ทำ แล้วก็บอกว่า ควรเจริญกุศลทุกประการ ละอกุศลทุกประการ บางท่านก็ไม่รู้ว่าจะเจริญกุศลทุกประการยังไง ไม่ใช่ง่ายนะในชีวิตประจำวัน เพราะส่วนใหญ่ก็จะเต็มไปด้วยโลภะโทสะ การไปเทียว ๑๐๐๑ แห่ง ดูหนัง ๑๑๐๐ เรื่อง จิตก็สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจก็หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ คงไม่อยากที่สะดุ้งหวาดเสียวไปจนตาย

ทีนี้ถ้าเปลียนใหม่ เมื่อมี ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็สามารถรู้ สี เสียง กลิ่น รส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว คิดนึก ได้ในชิวิตประจำวัน มีการรู้สิ่งเหล่านี้บ่อยๆ เนืองๆ ก็เป็นการเริ่มต้นเจริญกุศลทุก ประการ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า เราไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย นอก จาก ปัญญา ความเพียร ความสำรวม ความละวาง เป็นสิ่งที่ควรเร่งทำก่อนที่จะตายไป และไม่ได้ทำ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pornpaon
วันที่ 26 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ประสาน
วันที่ 26 พ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
opanayigo
วันที่ 27 พ.ค. 2552

ความสุขจริงๆ ไม่มี

มีแต่ทุกข์มาก กับ ทุกข์น้อย

การศึกษาพระธรรมคำสอน เพื่อรู้ เข้าใจ เพื่อ หนทางไม่มีทุกข์

ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"

(เมื่อใดสงบจากกิเลส เมื่อนั้นจึงชื่อว่าสุข)

อนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
เมตตา
วันที่ 28 พ.ค. 2552

แต่ในทางธรรมแล้ว สิ่งที่ควรเร่งรีบกระทำคือสิ่งใด และทำเพื่ออะไร คือการฟังพระธรรม พิจารณาธรรมให้เข้าใจถูกต้องจริงๆ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อขัดเกลากิเลสที่สะสมมานานแสนนาน...

และอบรมเจริญกุศลทุกประการค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
kanchana.c
วันที่ 29 พ.ค. 2552

ความสุขเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ในพระไตรปิฎกทรงแสดงเรื่องเหตุเกิดของความสุขไว้ ๑๐ สูตร มีตั้งแต่ขั้นธรรมดา จนกระทั่งถึงขั้นไม่เกิด คือ ความสุข ขอยกพระสูตรหนึ่งที่คิดว่าเป็นเหตุเกิดสุขของปุถุชน ซึ่งพอจะปฏิบัติตามได้ คือ สุขสูตรในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ข้อ ๒๕๔ มีข้อความว่า

จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข ๓ ประการนี้ พึงรักษาศีล ๓ ประการเป็นไฉนคือ บัณฑิตปรารถนาอยู่ว่า ขอความสรรเสริญจงมาถึงแก่เรา ๑ ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา ๑ เมื่อตายไป เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ พึงรักษาศีล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข ๓ ประการนี้แล พึงรักษาศีล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า นักปราชญ์ปรารถนาสุข ๓ ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้โภคทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ๑ ความบันเทิงในสวรรค์ในโลกหน้า ๑ พึงรักษาศีล ถ้าว่าบุคคลแม้ไม่กระทำความชั่ว แต่เข้าไปเสพบุคคลผู้กระทำความชั่วอยู่ไซร้ บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลพึงรังเกียจในเพราะความชั่ว และโทษของบุคคลผู้เสพคนชั่วนี้ ย่อมงอกงาม บุคคลย่อมกระทำบุคคลเช่นใดให้เป็นมิตร และย่อมเข้าไปเสพบุคคลเช่นใดบุคคลนั้นแลเป็นผู้เช่นกับด้วยบุคคลนั้น เ พราะว่าการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น คนชั่วส้องเสพบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปรกติอยู่ ย่อมทำบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์ โดยปรกติที่ส้องเสพตน ให้ติดเปื้อนด้วยความชั่ว เหมือนลูกศรที่แช่ยาพิษ ถูกยาพิษติดเปื้อนแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรซึ่งไม่ติดเปื้อนแล้วให้ติดเปื้อนด้วยยาพิษฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็นเพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไปติดเปื้อน คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป การเข้าไปส้องเสพคนพาล ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของคนนั้นย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไปการเข้าไปส้องเสพนักปราชญ์ ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความสำเร็จผลแห่งตนดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัตบุรุษ พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
สิริพรรณ
วันที่ 19 ก.พ. 2566

อ่านข้อความของทุกท่านแล้ว ทำให้คิดถึงว่า ชีวิตเหลือน้อยลงในความเป็นบุคคลนี้ ทุกขณะจิต
แต่ขณะจิตใดที่จะได้สะสมการเห็นคุณค่าของการฟังพระธรรม การอบรมปัญญา และเจริญกุศลเท่าที่จะทำได้ แม้เล็กน้อย ก็มีค่าที่สุดในขณะจิตนั้น
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณทุกท่านด้วยความเคารพค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ