ท่านผู้ฟังถามว่า...เหตุใดอาจารย์จึงไม่บวช?

 
พุทธรักษา
วันที่  18 พ.ค. 2552
หมายเลข  12406
อ่าน  1,406


ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน จาก เทปวิทยุ แผ่นที่ ๑๖ ครั้งที่ ๙๒๖ (๐๘.๐๘/๒๒.๕๘)

ท่านอาจารย์ ขอตอบจดหมาย ของท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง ซึ่ง ท่านเขียนถามมาว่า ...

ท่านผู้ฟัง อาจารย์ ได้ศึกษาและมีความรู้ในพระธรรมวินัยมามาก และมีความเข้าใจลึกซึ้งดี เหตุใด อาจารย์จึงไม่บวช เพื่ออุทิศตนต่อพระพุทธศาสนา

ท่านอาจารย์ ซึ่งก็ไม่ทราบนะคะ ว่า ท่านผู้ฟัง จะให้บวช เป็นอะไร ซึ่ง พุทธบริษัท นั้น มี ๔ คือ ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ซึ่ง แต่ละท่านนี้นะคะ ควรทราบว่าก่อนจะกระทำสิ่งใด ก็ควรที่จะมี "จุดประสงค์ที่แท้จริง" ในการที่จะกระทำสิ่งนั้น ว่า เพื่อ "ประโยชน์"อะไร ในการที่จะกระทำอย่างนั้น.!เพราะฉะนั้นผู้ที่บวช เป็น บรรพชิต ก็ควรที่จะมีจุดประสงค์จริงๆ ว่า ท่านจะบวชเพื่ออะไร และ ท่านจะบวช เป็นอะไร และ ควรทราบ ว่า "จุดประสงค์ที่แท้จริงของการบวช" เพื่ออะไร เพราะว่า ถ้าไม่มี "จุดประสงค์ ก็ไม่ถึง "จุดหมาย" อะไรเลย ขอทราบความคิดเห็นของท่านผู้ฟังท่านอื่น ว่าท่านผู้ฟัง มีความคิดเห็นอย่างไร ท่านคิดว่า การบวชนั้น เพื่อ "จุดประสงค์" อะไร แต่ละท่าน มีสิทธิ์ ที่จะคิด

ท่านผู้ฟัง การบวชในสมัยนี้ส่วนใหญ่ เป็นการบวชตามประเพณี หากครบอายุที่จะบวชได้แล้ว ก็บวช เช่น บางคน ก็บวชโดยมี จุดประสงค์ เพื่อ ใช้หนี้บุญคุณของพ่อแม่และ เมื่อบวชแล้ว ก็ถือว่า ได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่แล้ว (เป็นต้น)
แต่ ระหว่างที่บวชเป็นพระภิกษุอยู่นั้นเวลาในวันหนึ่งๆ ก็แสนที่จะยาวนาน กว่าจะครบวัน ผ่านไปแต่ละวัน แสนที่จะทรมาน

ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟัง เคยบวชหรือยังคะ

ท่านผู้ฟัง ยังครับ แต่ว่า ชีวิตของผม คลุกคลีอยู่กับวัด และได้เห็นว่า พระภิกษุบางรูป ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมะ โดยมากแล้วท่านก็จะไปก่อสร้าง ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ฯลฯ คือ ท่านไม่มี "เครื่องอยู่" ครับ พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนไว้แล้ว ว่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีธุระอยู่ ๒ อย่าง คือ คันถะธุระ และ วิปัสสนาธุระ เมื่อไม่ได้ทำธุระทั้ง ๒ อย่างนี้ ท่านก็ไม่มี "เครื่องอยู่" ปกติของคนเราเมื่อไม่มีอะไรจะทำแล้ว วันหนึ่งๆ ก็ดูเหมือนจะยาวเสียจริงๆ เพราะฉะนั้น พระภิกษุบางรูป ท่านก็ไปกระทำการก่อสร้าง ขณะที่ก่อสร้างก็เกิดความสนุกสนาน พอใจฯ และยังมี การกระทำอื่นๆ อีก วันหนึ่งๆ (ของท่าน) ก็หมดไป ผ่านไปอย่างนี้ นี่คือ "จุดประสงค์ของการบวช" ประเภทหนึ่ง ครับ

ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านผู้ฟัง (ที่ถามมาในจดหมาย) คงไม่อยากให้ดิฉันบวช ในลักษณะอย่างนี้ ใช่ไหม และ ดิฉัน บวชไม่ได้ แน่นอน.! บวช เป็นพระภิกษุ ก็ไม่ได้ บวช เป็นพระภิกษุณี ก็ไม่ได้

ท่านผู้ฟัง ในปัจจุบันนี้นะครับ สังเกตเห็นว่า ถ้าเป็นคำพูด ของพระภิกษุ แล้วละก็ รู้สึกว่าจะหนักแน่น ไม่ว่าจะพูดผิด พูดถูก อย่างไร ก็เป็นที่น่าเลื่อมใส น่าเชื่อถือ แต่ถ้าเป็น ฆราวาส ที่พูด (ธรรมะ) ก็ไม่ค่อยจะเลื่อมใสกันสักเท่าไร. คือ เชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ มีบุคคลประเภทนี้เยอะ ครับ

ท่านอาจารย์ แล้ว "จุดประสงค์ที่ดีในการบวช" ละคะ มีอะไรบ้างคะ.? นอกจากการบวชเพื่อตอบแทนบุญคุญ. "จุดประสงค์ที่ดี" สำหรับ "ท่านผู้ที่จะบวช" เอง น่ะค่ะ มีอะไรบ้าง

ท่านผู้ฟัง ก็มีอยู่ ครับ เช่น ถ้าเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสนั้น คับแคบ แล้วก็ไปบวช บวชเพื่อ ปฏิบัติธรรม นี่คือ จุดประสงค์ที่ดี

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้นะคะ ว่า ผู้ที่สามารถที่จะบวชได้ นั้น "ต้องพิจารณาตนเอง" จะต้องรู้ถึง "ความสามารถจริงๆ ของตนเอง" ว่าสามารถที่จะประพฤติ ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้อย่างละเอียด ได้จริงๆ แล้วจึงไปบวช เป็น บรรพชิต แต่ ถ้าไม่สามารถ นะคะ แม้แต่การเป็น "คฤหัสถ์ที่ดี" ก็ยังยาก จริงหรือไม่จริง

"คฤหัสถ์ที่ดี" เป็นยาก หรือง่าย และถ้ายิ่ง "เป็นบรรพชิต" ซึ่ง เป็นผู้ที่ต้องประพฤติ ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้ โดยละเอียด ซึ่ง พระองค์ ทรงแสดงพระวินัยไว้ เพื่อให้พระภิกษุ "งามพร้อม" ทั้ง กาย วาจา และ ใจ แต่ อย่าลืมนะคะ ว่า ถ้ายังไม่ใช่ "ผู้ที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท" แล้ว "ความงามพร้อม" จะพร้อมได้ไหม ทั้งกาย วาจา และ ใจ

เพราะเหตุว่า บางท่าน ลืมไป ว่าการเป็น "บรรพชิต" เป็นการ "สละ ทั้งหมด" นอกจากที่จะ "สละ" วงศาคณาญาติ มิตรสหาย และ ทรัพย์สมบัติ ทั้งหมดแล้ว ยังต้องเป็น "ผู้ที่ไม่มีสมบัติทางโลก" แต่จะต้องเป็น "ผู้ที่พร้อมไปด้วยสมบัติทางธรรม" ได้แก่ ศรัทธา ศีล จาคะ สุตตะ และ ปัญญา เพราะฉะนั้น "การมีเครื่องหมาย" ของ บรรพชิต เช่น "ผ้ากาสาวพัตร์" ไม่ใช่เป็นการแสดง ถึง "กิเลส" ที่มีอยู่มาก (ที่สะสมอยู่) ในจิตใจ ซึ่ง ผู้ที่จะบวชเป็นบรรพชิต ต้องเป็น "ผู้ที่พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ" จริงๆ ถึง "จุดประสงค์ที่แท้จริงของการบวช" ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงให้เป็น "ผู้ที่สละ" ซึ่งนอกจากจะ "สละ" วงศาคณาญาติ มิตรสหาย ทรัพย์สมบัติ แล้ว ยังต้อง "สละแม้แต่กิเลสของตนเอง" เป็นการ "ขัดเกลากิเลสอย่างมาก" มากกว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์.!เพราะฉะนั้น บางท่าน เมื่อได้ครอง "ผ้ากาสาวพัตร์" แล้วก็กลับลืมคิดถึง "การสละกิเลส" แต่กลับคิดว่า ผู้อื่นจะต้องแสดงความนอบน้อม ต่อ ผู้ที่เป็นบรรพชิต ซึ่ง การนอบน้อมต่อผู้ที่เป็นบรรพชิต นั้น เป็น "กุศลของบุคคลผู้ที่นอบน้อม" นั้นเอง

แต่ มิได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นบรรพชิต มีความปรารถนาในความนอบน้อม และสักการะ หรือ ในลาภ ยศ สรรเสริญ จากบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น "การขัดเกลาในเพศบรรพชิต" จึงเป็น "การขัดเกลาอย่างละเอียด" ซึ่งจะต้อง "ศึกษาจากพระธรรมวินัยให้ละเอียด"

ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ผู้ที่เป็นบรรพชิต ต้องละกิเลส มานะ ความสำคัญตน ด้วย. เช่น ท่านพระสารีบุตร ซึ่งท่านมีความประพฤติเหมือน "โคเขาขาด" หรือ ท่านมีความรู้สึกว่า ท่านเสมือน "บุตรของคนจัณฑาล" แม้ว่า ท่านจะเป็นถึง "อัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศทางปัญญา" เวลาที่ท่านพระสารีบุตร ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคฯ (บางครั้ง) ท่านก็ไม่มีที่พัก แต่ท่านก็สามารถที่จะกระทำทุกอย่างได้ เพราะว่าท่าน "ไม่มีความสำคัญตน"เลย เพราะไม่ว่าท่านจะอยู่ที่กุฎี หรือ โคนไม้ ท่านก็เป็น ท่านพระสารีบุตร นั่นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นบรรพชิต อย่าลืมว่า บรรพชิต เป็น "ตัวอย่างของความดีงาม" ความดีงามที่พร้อมทั้ง กาย วาจา และ ใจ อย่างนี้ จึงสมควรที่จะเป็นบรรพชิต คือ สมควรที่จะบวช และ บรรพชิต จึงเป็นเพศที่สูงกว่า คฤหัสถ์เพราะเหตุว่า คฤหัสถ์ ไม่สามารถที่จะกระทำตามพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยละเอียด อย่างครบถ้วน ได้อย่างเช่น ผู้ที่อยู่ในเพศบรรพชิต เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ จึงกราบไหว้ นอบน้อม ต่อผู้ที่บวชเป็น "บรรพชิต" .. "บรรพชิต" ผู้ซึ่งสามารถประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย ได้จริงๆ

เพราะฉะนั้น ก็จะต้อง เป็นผู้ตรง มีสัจจะ มีความจริงใจในการที่จะเป็น เพศหนึ่ง เพศใด. ว่า ท่านสามารถที่จะเป็น "เพศบรรพชิต" หรือว่า ท่านสามารถเป็นได้เพียง "เพศคฤหัสถ์" ซึ่ง เมื่อเป็น "พุทธบริษัท" แล้ว ก็ควรที่จะประพฤติ ปฏิบัติ ตามธรรม เท่าที่ พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง ว่า นี้ เป็น "ธรรมของของคฤหัสถ์" .. "เป็นความประพฤติของคฤหัสถ์ที่ดีงาม" .. "เป็นตัวอย่างที่ดีงามของคฤหัสถ์" เช่น การศึกษาธรรมะ การประพฤติปฏิบัติตามธรรมะ
และถ้าสามารถที่จะ เผยแพร่พระธรรม ก็เผยแพร่พระธรรม ด้วย ตามกำลังความสามารถ

เป็นตัวอย่างที่ดีของคฤหัสถ์ โดยแล้วแต่ ว่า ท่านจะเป็น คฤหัสถ์ที่รักษาศีล ๕ หรือ รักษาศีล ๘ หรือว่าสามารถที่จะถึงการรักษาศีล ๑๐ โดยการเป็น "พระอนาคามีบุคคล" ตามความเป็นจริง

ทุกคน มีชีวิตที่ต่างกัน ตามการสะสม แต่ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเพศใด คือ เป็นคฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน หรือ เป็นคฤหัสถ์ ผู้ไม่ครองเรือนท่านสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตนเพื่อเป็น "ตัวอย่างที่ดี" ของพุทธบริษัท แล้วแต่ ว่าจะเป็นเพศบรรพชิต หรือ ฆราวาส (คฤหัสถ์) ก็ได้.อย่างนี้ ไม่ทราบว่า ท่านผู้ฟัง (ที่ถามมา) จะคิดว่า เป็น "การอุทิศตัวเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา" หรือยัง ที่ได้ศึกษาพระธรรม และ กระทำกิจในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเท่าที่สามารถกระทำได้ ในฐานะของ "อุบาสิกาผู้รักษาศีล ๕" ตามความเป็นจริง

และก็ควรที่จะพิจารณาว่า "การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม" แม้ไม่ได้อยู่ในเพศบรรพชิต ก็สามารถที่จะ "รู้แจ้งอริยสัจจธรรม" ได้ โดย เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ในเพศคฤหัสถ์ก็ได้ ต่อเมื่อได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันต์แล้ว จึงบวชเป็นเพศบรรพชิต.เพราะฉะนั้น มีอะไรที่ต่างกัน สำหรับ "การอบรมเจริญปัญญา" เพื่อ "การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม" มีไหม

ที่ต่างกัน ก็คือ "อัธยาศัย" ที่สะสมมาที่ต่างกัน

ขออนุโมทนา และ ขอขอบพระคุณ ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
natnicha
วันที่ 18 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาท่านอาจารย์ และขออนุโมทนาคุณพุทธรักษาที่นำธรรมะดีๆ มาให้อ่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 18 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
aiatien
วันที่ 18 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 18 พ.ค. 2552

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 18 พ.ค. 2552

ท่านอาจารย์แสดงธรรมได้แจ่มแจ้ง มั่นคง และเป็นผู้ตรง อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khondeebkk
วันที่ 19 พ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 19 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 19 พ.ค. 2552
ไพเราะ จับใจมากครับ กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อิสระ
วันที่ 20 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ :)
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 20 พ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ทศพล.com
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ท่านอาจารย์ ทราบดี ว่าอะไรเป็นประโยชณ์ อะไรคือความจริงแท้แน่นอน ความเหมาะสมในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ และท่านก็ได้ศึกษาอย่างละเอียด และ รอบคอบ เป็นอย่างยิ่งแล้ว

ขออนุโมทนาทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เมตตา
วันที่ 20 พ.ค. 2552

การที่จะบวชเป็นบรรพชิตก็เป็น "อัธยาศัย" ที่สะสมมาที่จะอยู่ในเพศบรรพชิต ผู้ซึ่งสามารถประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยได้จริงๆ มีอัธยาศัยที่จะละกิเลส สละกิเลส สละวงศาคณาญาติ มิตรสหาย ทรัพย์สมบัติ แล้ว ยังต้อง "สละแม้แต่กิเลสของตนเอง"

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ajarnkruo
วันที่ 20 พ.ค. 2552

เป็นอุบาสิกาที่รักษาศีล ๕ และศึกษาพระธรรม เพื่อความเข้าใจถูก ดีกว่าบวชไปเป็นอะไรก็ไม่รู้ บวชแล้วเข้าไปทำอะไรก็ไม่รู้ ด้วยความเข้าใจผิด

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
hadezz
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

ทำให้เข้าค่ะว่าความแตกต่างคือ ที่ต่างกันคืออัธยาศัยที่สะสมกันมา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wirat.k
วันที่ 22 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
คุณ
วันที่ 26 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
อภิรดี
วันที่ 21 ก.ย. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
lovedhamma
วันที่ 9 เม.ย. 2554

การจะบวชเป็นบรรพชิตนั้น ก็เป็นไปตามอัธยาศัยและศรัทธาอย่างแท้จริงที่จะบวช คงมิอาจไปบังคับกันได้ "สู้ชีวิตนี้อยู่เป็นอุบาสก-อุบาสิกาที่ดียังดีกว่า" ดีกว่าไปบวช แล้วเป็นอะไรก็ไม่รู้ เค้าให้ปฏิบัติตนอย่างไร อะไร กลายเป็นบ่นในใจว่า "ให้ทำอะไรวะเนี่ย ทรมานจ้ง" แบบนั้นอาบัตินะครับ

ขออนุโมทนากับคำสอนของอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 12 เม.ย. 2554

กราบเรียนท่านอาจารย์ ผมเคยบวชตอนนั้นตกงาน พอเป็นบรรพชิตก็รู้สึกว่าวันๆ หนึ่ง ยาวนานมากและไม่มีประโยชน์ มีแต่เพิ่มอกุศลเพราะไม่ได้ศึกษาธรรมที่ตรงตามพระอรหันต์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า จึงขอเตือนคนที่คิดจะบวชจากที่ผมคิดตั้งแต่เด็กว่าผมอยากจะบวชครับ กราบท่านอาจาร์ยมาก

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
danai2523
วันที่ 2 มิ.ย. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ