ประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่างในปิฎก ๓

 
opanayigo
วันที่  12 พ.ค. 2552
หมายเลข  12322
อ่าน  1,724

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 100

ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่า แต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะ ทั้ง ๔ คือความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ. ในคัมภีร์-ภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้น แหละเทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้น อันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธ ได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง ก็เพราะธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในแต่ล่ะปิฎกด้วยประการฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่าญาณในเหตุ ชื่อธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา เทศนาได้แก่บัญญัติ อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม อีกอย่างหนึ่ง การแสดงด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม สังเขปและพิสดารเป็นต้นเรียกว่า เทศนา. ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้น เป็นได้ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ได้แก่ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุทั้งหลายสมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้นๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
opanayigo
วันที่ 12 พ.ค. 2552

สภาวธรรมที่มีเหตุใดๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใดๆ ก็ดี เนื้อความที่ควรให้รู้ด้วยประการใดๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งญาณของผู้ฟังทั้งหลาย เทศนานี้ใด ที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้นๆ ก็ดี ปฏิเวธใดกล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้ อย่างหนึ่ง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่ไม่วิปริต กล่าวคือ ที่บัณฑิตกำหนดเป็น มาตราฐาน ควรแทงตลอด คุณชาตินี้ทั้งหมด ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย ซึ่งมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ หยั่งรู้ได้ยาก และพึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ เพราะเหตุนั้นสภาวธรรมที่มีเหตุหรือสภาวธรรมที่มีผลนั้นๆ จึงลึกซึ้ง คัมภีรภาวะทั้ง ๔อย่าง ในปิฎก ๓ นี้ แต่ละปิฎก ผู้ศึกษาพึงทราบในบัดนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้. ก็คาถานี้ว่า

พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา ประเภทของกถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ดังนี้

เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ส่วนประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่าง ในปิฎก ๓ ในคาถานี้ว่า

ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดง ซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการ นั้น ดังนี้ พึงทราบต่อไป.

จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียน เหมือนจับงูข้างหาง นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกไป ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง. ในปริยัติ ๓ ประเภทนั้น ปริยัติใด ที่บุคคลเรียนผิดทาง คือเรียน เพราะเหตุมีติเตียนผู้อื่นเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อ อลคัททูปมา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 12 พ.ค. 2552

จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ

อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง

นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป (จากองทุกข์)

ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง.

สาุธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ