สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๕) ความสำคัญของเวทนา...?

 
พุทธรักษา
วันที่  20 เม.ย. 2552
หมายเลข  12001
อ่าน  1,313

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม ที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ อวิชชา คือ ความไม่รู้ แม้ "ธรรมะ" แท้ๆ กำลังเผชิญหน้าอยู่ ก็ไม่รู้.อวิชชา เป็น "มูล" ของทุกอย่างเลย เป็น "มูล" เพราะว่า เมื่อมี อวิชชา ก็ต้องมี โลภะ ซึ่งเป็นของคู่กัน.เพราะฉะนั้น"สมุทัย" มี ๒ อย่าง คือ อวิชชา และ โลภะ

ท่านผู้ฟัง แล้ว เวทนา (ที่ว่า) เป็นตัวร้าย นี่ละคะ อาจารย์ช่วยอธิบาย ขยายความ เพิ่มเติมหน่อยค่ะ

ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน.สำหรับ "นิพพาน" นั้นยกไว้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกับ จิต เจตสิก รูป เมื่อมี จิต เกิดขึ้นเราจึงรู้ว่า นี่คือเห็น นี่คือได้ยิน (เป็นต้น) ถ้า จิต ไม่เกิดขึ้น ก็ไม่มีเห็น ไม่มีได้ยิน เพราะ จิต เกิดขึ้นสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด จึงปรากฏ เพราะฉะนั้น สิ่งใด ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้น ปรากฏหรือ สิ่งใดที่ปรากฏ ก็เพราะว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว."นิพพาน" ตรงกันข้ามกับ จิต เจตสิก รูปเพราะว่า ไม่เกิด ไม่ดับ และ ปรากฏกับ "โลกุตตรปัญญา" ซึ่ง ชินต่อลักษณะของสภาพธรรม จนแจ่มแจ้งแทงตลอด.เพราะไม่ใฝ่ หรือ ติดข้องในสภาพธรรมใดๆ ด้วยความเห็นผิดจึงจะสามารถประจักษ์ "ลักษณะ" ของนิพพาน ได้ เพราะฉะนั้น จิต เจตสิก รูป เมื่อ แยกประเภท โดยความเป็น"ขันธ์"คือ ขันธ์ ๕

ขันธ์ที่ ๑ คือ รูปขันธ์จาก จิต เจตสิก รูป นับ รูป เป็น รูปขันธ์ รูป เป็นขันธ์ เพราะอะไร

เพราะว่า รูป เกิดแล้วก็ดับและ เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคตและสิ่งที่ดับนี้ อย่าคิดว่าเหลือนะคะ เมื่อดับแล้ว ก็ดับเลย เมื่อเกิดมา ตั้งแต่เด็กจนโต จนแก่ แล้วต่อไป ... ก็จะแก่ไปอีกเป็นโรค เป็นภัยต่างๆ หมายความว่า รูป เกิดแล้วดับ หารูปเก่าไม่เจอเลยเช่น ผลไม้ ค่อยๆ โตขึ้น วันละนิดๆ เวลาโตแล้ว ก็หารูปเก่าไม่เจอ แล้วรูปเก่านั้น หายไปไหน

เพราะฉะนั้น ความจริงที่ซ่อนอยู่ คือ "อาการเกิดดับ" ซึ่งเร็วมาก จนกระทั่งปกปิด ให้เห็นแต่เพียง "สภาพที่เปลี่ยนแปลง" แต่ถ้าไม่มีการเกิดดับ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และ จะต้องคงที่เมื่อมีการเกิดดับอย่างรวดเร็ว ก็มีการเปลี่ยนแปลง.เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่เกิด แล้วดับสิ่งนั้น ต้องเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต นี่คือ ความหมายของ "ขันธ์"ขันธ์ทุกอย่าง เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งนั้น ขันธ์ จึงเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต หยาบ ละเอียด ใกล้ ไกล ประณีต ฯซึ่งแยกเป็นรายละเอียดออกไปอีก แต่ใช้หลักว่า เมื่อมี "อาการเกิดแล้วดับ" สิ่งนั้นเป็นขันธ์และ รูป ก็เป็นขันธ์หนึ่ง ในขันธ์ ๕

ในวันหนึ่งๆ หรือในชาติหนึ่งๆ ที่เกิดมา เราติดใน รูปขันธ์ ไม่มีใครเลย ที่จะไม่ติดในรูป.เช่น ทางตา ก็เป็นเพชรนิลจินดา แก้วแหวนเงินทอง ฯลฯ หรือ ทางหู ก็เป็นเสียงต่างๆ ตลอดจนกลิ่น รส และ สิ่งที่กระทบสัมผัส ทางกาย รูป ที่เราติดนี้ ไม่เที่ยง และ ขณะที่เกิดแล้วดับไปนั้น อวิชชา ทำให้ไม่รู้ "อาการเกิดดับ" และ "ความไม่เที่ยง" เมื่อไม่รู้ อาการที่เกิดดับ และ ไม่เที่ยง โลภะก็ติดทันที (ติดทันที ที่รูปนั้นเกิด และ เป็นอารมณ์)

เพราะฉะนั้นเราต้องการ รูปขันธ์ เพื่อเวทนา คือ ความรู้สึกที่เป็นสุข เท่านั้นเองความสำคัญของ เวทนา คือ อย่างนี้ สมมติว่า เราไม่มีความรู้สึก เช่น เห็นแล้ว ก็เห็นไปก็คงจะไม่มีความต้องการอะไรเลย.แต่ถ้าเห็นแล้ว มีความรู้สึกเป็นสุขขึ้นมา ก็เป็นเหตุให้มีการแสวงหา และการแสวงหานี้ สารพัดทุกข์ เพราะว่า กว่าจะหามาได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มีการสร้างสรร คือ "สร้างสังสารวัฏฏ์" อยู่ตลอดเวลาเพราะ ความไม่รู้ และ ความติดข้อง (อวิชชาและโลภะ)

เราอยู่ในโลก ซึ่งมีรูป และ มีโลภะ ... โลภะ ซึ่งเกิดจาก ความไม่รู้ เพราะฉะนั้น หนทางเดียว ก็คือ ไม่ใช่ว่าเราจะไปฝืน ว่า เราจะไม่รัก เราจะไม่ชอบ เราจะไม่ติด เพราะว่า ถ้าไปฝืน ก็จะยิ่งเป็นอวิชชา มากขึ้น เพราะว่า ไม่รู้ความจริงเลยคิดว่า เราจะบังคับได้ ใช่ไหม

แต่ความจริงแล้ว เป็นหน้าที่ของ "ปัญญา" และกว่า "ปัญญา" จะถึง "วิปัสสนาญาณ" แต่ละขั้นจะต้องมี "ปัญญาที่ถึงสติขั้นระลึก" ซึ่งต้องอาศัย "ปัญญาขั้นการฟัง"

อวิชชา คือ ความไม่รู้ แม้ "ธรรมะ" แท้ๆ กำลังเผชิญหน้าอยู่ ก็ไม่รู้.อวิชชา เป็น "มูล" ของทุกอย่างเลย

เป็น "มูล"เพราะว่า เมื่อมี อวิชชา ก็ต้องมี โลภะ ซึ่งเป็นของคู่กัน.เพราะฉะนั้น"สมุทัย" มี ๒ อย่าง คือ อวิชชา และ โลภะ เพราะว่า กว่าจะหามาได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มีการสร้างสรร คือ "สร้างสังสารวัฏฏ์" อยู่ตลอดเวลาเพราะ ความไม่รู้ และ ความติดข้อง (อวิชชาและโลภะ) เราอยู่ในโลก ซึ่งมี รูป และ มีโลภะ ... โลภะ ซึ่งเกิดจาก ความไม่รู้

นายช่างผู้สร้างเรือน

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

ในราตรีปฐมยาม ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณา ปัจจยาการ ทรงออกจาก . จตุตถฌานที่มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ ทรงหยั่งสำรวจ ใน "ปัญจขันธ์" ก็ ทรงเห็น "ลักษณะทั้งหลาย"ด้วย "ปัญญา" อันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ

ทรงเจริญวิปัสสนา จนถึงโคตรภูญาณ ทรงแทงตลอดมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ และ พระพุทธคุณ ทั้งสิ้น. ทรงมีความดำริ บริบูรณ์แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ ที่ตรัสรู้ ทรงเปล่งอุทาน อย่างนี้ ว่า เราแสวงหา "ตัณหา" นายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสาร เป็นอันมาก ชาติความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

ดูก่อน "ตัณหา" นายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือน อีกไม่ได้ โครงสร้างเรือนของท่าน เราหักหมดแล้วยอดเรือน เราก็รื้อออกแล้ว จิตของเรา ถึงธรรม เป็นที่ "สิ้นตัณหา" แล้ว

ขอบพระคุณ ... ท่านผู้เอื้อเฟื้อ รูปภาพสังเวชนียสถาน

... ขออนุโมทนา ...

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๑) เรากำลังปฏิบัติ

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๒) การประจักษ์

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๓) สติปัฏฐาน ละ อภิชฌา และ โทมนัส

สนทนาธสนทนาธรรมที่เขาเต่า (๔) รู้ ว่า กิเลสมาก

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๕) ความสำคัญของเวทนา...?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 20 เม.ย. 2552
สาธุ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 21 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สุภาพร
วันที่ 22 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mikemongo1
วันที่ 11 พ.ค. 2552

อ้างอิงข้อความ:-

สิ่งใด ที่เกิดขึ้น ... สิ่งนั้น ปรากฏหรือ สิ่งใดที่ปรากฏ ก็เพราะว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว "นิพพาน" ตรงกันข้ามกับ จิต เจตสิก รูปเพราะว่า ไม่เกิด ไม่ดับ และ ปรากฏกับ "โลกุตตรปัญญา"

ขออภัยที่ทำให้เข้าใจไปว่านิพพานปรากฏ เมื่อปรากฏ ก็เกิด ช่วยอธิบาย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 12 พ.ค. 2552

พระนิพพานเป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต การที่พระนิพพานเป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต มิได้หมายความว่าพระนิพพานเกิดปรากฏ แม้บัญญัติไม่เกิดไม่ดับ

บัญญัติก็เป็นอารมณ์ของจิตได้ แต่บัญญัติไม่เกิดไม่ดับ พระนิพพานก็เช่นเดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ