ทมะ ขันติ โสรัจจะ [ปฐมขมสูตร]

 
JANYAPINPARD
วันที่  2 เม.ย. 2552
หมายเลข  11863
อ่าน  4,853

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 393

๔. ปฐมขมสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน? บุคคลบางคนเขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาโกรธ ย่อมโกรธตอบ เขาวิวาท ย่อมวิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.

ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน? บุคคลบางคน เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาโกรธไม่โกรธตอบ เขาวิวาท ไม่วิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน ปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัย เห็นรูปด้วยตาแล้วเป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือตา เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์คือตาอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์คือตาอันนั้น รักษาอินทรีย์คือ ตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ่นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้วรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ.อภิชฌาโทมนัสอกุศลบาปธรรมทั้งหลายจะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า ปฏิบัติข่มใจ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 2 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ฯลฯ

[๗๖๓] พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะดังนี้แล้วจักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้แล ดูก่อนปุณณะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้เถิด ฯลฯ คำว่า ข่มใจ ในคำว่า ด้วยความข่มใจและความเข้า ไปสงบ นี้ เป็นชื่อแห่งการสำรวมอินทรีย์เป็นต้น. จริงอยู่ ความสำรวมอินทรีย์ในคำว่า ข่มแล้วด้วยสัจจะเข้าถึงการข่มใจ ถึงที่สุดพระเวทอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ ปัญญาในคำว่าหากยังมีอะไรที่ยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติในกรณีนี้ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะด้วยกล่าวว่าเป็นความข่มใจ อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสัญญมะ ด้วยการกล่าวคำจริง นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความข่มใจ แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ความอดทน คือ ความข่มใจ คำว่า ความเข้าไประงับ เป็นคำใช้แทน คำว่า ความข่มใจ นั้นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 2 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

คำว่า ขนฺติ ได้แก่อธิวาสนขันติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันติ คืออะไร คือ ความอด ความทน ความกลั้น ความไม่เดือดดาล ความไม่หุนหันพลันแล่น ความใจเย็น แห่งจิต" คำว่า โสรจฺจํ ได้แก่ ความเสงี่ยม ที่ท่านกล่าวไว้อยู่ไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสรัจจะคืออะไร คือ ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกาย ความไม่ล่วงล้นออกมาทางวาจาความไม่ล่วงล้นออกมาทางกายและวาจา นี้เรียกว่า โสรัจจะ แม้ศีลสังวรทั้งหมด ก็จัดว่าเป็นโสรัจจะ".

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 24 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 20 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ