ที่อโคจร.

 
oom
วันที่  30 มี.ค. 2552
หมายเลข  11817
อ่าน  19,517

ที่อโคจร สำหรับพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงที่ใดบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 30 มี.ค. 2552

คำว่า "อโคจร" หมายถึง สถานที่ที่ไม่ควรเที่ยวไป ในอรรถกถาท่านอธิบายเกี่ยวกับบรรพชิตโดยตรง คือเมื่อไปสถานที่ที่ไม่ควรไปจะทำให้เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ และทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา หญิงหม้าย โรงมหรสพโรงสุรา หรือตามห้าง เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคท่านอธิบายไว้โดยละเอียดขอเชิญอ่านข้อความโดยตรง

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 37

โคจร อโคจร

คำว่า โคจร มีนิเทศว่า โคจร ก็มี อโคจร ก็มี

ใน ๒ อย่างนั้น อโคจรเป็นไฉน

ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ก็เป็นผู้หญิงมีแพศยาเป็นโคจร หรือมีหญิงหม้าย สาวเทื้อ บัณเฑาะก์ ภิกษุณี และโรงสุราเป็นโคจร เป็นผู้คลุกคลีอยู่กับพระราชา กับมหาอำมาตย์กับเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์กับคฤหัสถ์อย่างไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ที่ด่าว่าเอา ที่มุ่งสิ่งอันไม่มีประโยชน์ (ให้) มุ่งสิ่งที่ไม่เกื้อกูล (ให้) มุ่ความไม่ผาสุก (ให้) มุ่งความไม่เกษมจากโยคะ (ให้) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เรียกว่า อโคจร

ใน ๒ อย่างนั้น โคจรเป็นไฉน

ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ฯลฯ ไม่เป็นผู้มีโรงสุราเป็นโคจร ไม่คลุกคลีอยู่กับพระราชา ฯลฯ กับสาวกของเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น (ดุจ) บ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ มีกลิ่นอายฤษีเข้าออก มุ่งประโยชน์ (ให้) ฯลฯ มุ่งธรรมที่เกษมจากโยคะ (ให้) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกานี้เรียกว่า โคจร

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 30 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 มี.ค. 2552

เป็นพระวินัยบัญญัติ แต่เข้าใจว่าแม้เป็น คฤหัสถ์ ก็ไม่ควรไป เพราะจะเป็นเหตุปัจจัย ให้คลุกคลี กับ อกุศลธรรมต่างๆ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลงเป็นทางที่ไม่ควรไป เป็นทางแห่งความประมาทประมาทในกิเลสของตน ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
oom
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ในกรณีที่พระภิกษุสงฆ์ ไปเดินซื้อของเช่น หนังสือเรียน ตามศูนย์การค้า ซึ่งเป็นที่อโคจร ถือว่าผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ และพระสงฆ์ต้องปลงอาบัติหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ผิดพระวินัยหลายข้อเลยครับ เช่น มีเงิน ซื้อของ เป็นต้น และเมื่อเป็นอาบัติแล้วต้องแก้ไขด้วยการปลงอาบัติ แต่มีรายละเอียดอีกมาก เช่น รับเงิน หรือซื้อของ ก่อนปลงอาบัติจะต้องทิ้งเงินและสิ่งของนั้นเสียก่อน มิฉะนั้นการปลงอาบัตินั้นใช้ไม่ได้..

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมเป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยากไปก็ได้ไป มีเหตุปัจจัยก็ไปในที่อโคจรแต่การอบรมปัญญา เป็นการรู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ว่าที่ไหนปัญญาก็สามารถเกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมให้รู้ หากไปแล้วมีธรรมที่มีจริงให้รู้ไหม ธรรมทั้งหลายที่มีจริงนี่แหละครับ เป็นที่ที่สติสามารถรู้เป็นโคจรของสติ สติปัฏฐานสามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราได้ เป็นโคจรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า อุปนิพันธโคจร คือ สิ่งที่ผูกไว้เป็นที่เที่ยวไปของภิกษุคือ สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง ซึ่งสามารถอบรมได้ในทุกสถานที่ เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานจึงเป็นโคจรของภิกษุ (อุปนิพันธโคจร) สามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่องอาจารและโคจรที่นี่ครับ

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 394

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 1 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 1 เม.ย. 2552

เมื่อเกิดมาแล้ว ไม่มีใครไม่ไป แล้วแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยให้ไป ณ สถานที่ไหน และไปด้วยอำนาจของธรรมฝ่ายใด ไปเพราะกุศล หรือไปเพราะอกุศล (สำหรับผู้ที่ยังดับกิเลสไม่หมด) หรือไปเพราะกิริยาจิต (สำหรับพระอรหันต์) พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้สาวกมีปัญญารักษาตน ไม่เป็นผู้ประมาท มีปกติเจริญสติฯ ทุกสถานที่ๆ ได้ไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 2 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

พอดีผมได้อ่าน มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามงกุฎราชวิทยาลัย ในส่วนของอนุมานปัญหา (อุปมานกถาปัญหา) ที่พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสน ว่า ภิกษุมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ (องค์ประกอบ) ทั้งหลายเท่าไร จึงกระทำให้แจ้งพระอรหัต

พระนาคเสนทูลว่า ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ใคร่จะกระทำให้แจ้งพระอรหัต ต้องถือเอาองค์ซึ่งมีประการต่างๆ ของสิ่งต่างๆ เช่น สัตว์ ต้นไม้ หรือ สิ่งของ ซึ่งเป็นชีวิตปกติตามความเป็นจริง มาเปรียบเทียบกับธรรมะแห่งความหลุดพ้น เพื่อเป็นเครื่องระลึกเครื่องเตือนสติ และมีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการโคจรหรือท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ ด้วยครับ ความว่า

พระนาคเสนกล่าวในตอนหนึ่งว่า พึงถือองค์ ๓ แห่งงู

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ ๓ ประการแห่งงู เป็นไฉน"

พระนาคเสนทูลว่า "ขอถวายพระพร งูย่อมเลื้อยไปด้วยอก ฉันใด โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเที่ยวอยู่ด้วยปัญญา เมื่อโยคาวรจรเที่ยวอยู่ด้วยปัญญา จิตก็เที่ยวอยู่ในมรรคาอันนำออกไปจากภพ เว้นสิ่งที่ไม่มีเครื่องหมายเสีย ยังสิ่งที่มีเครื่องหมาย (ไตรลักษณญาณ) ให้เจริญ ฉันนั้น นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ต้นแห่งงู

อนึ่ง งูเมื่อเที่ยวไป เว้นยาเสีย (หลีกเหลี่ยงไปให้พ้นต้นยา) เที่ยวไปอยู่ ฉันใด โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเว้นทุจริตเสียเที่ยวอยู่ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งงู.

อนึ่ง งูเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเดือดร้อน เศร้าโศก เสียใจ ฉันใด โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ตรึกถึงความตรึกอันชั่วแล้ว ยังความไม่ยินดีให้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องเดือดร้อน เศร้าโศกเสียใจว่า วันแห่งเราเป็นไปล่วงแล้วด้วยความประมาท วันที่เป็นไปล่วงแล้วนั้น เราไม่อาจได้อีก ฉะนี้ ฉันนั้น พึงถือเอาองค์สามแห่งงู

ธรรมะเปรียบเทียบข้างต้นเป็นเรื่องของการไม่ประมาท และเจริญสติอยู่ทุกเมื่อเลยครับ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด ไม่ว่าที่นั้นจะเป็นอย่างไร จะดีหรือไม่ดี เมื่อไปแล้ว อยู่แล้วเป็นสิ่งที่หลึกเหลี่ยงไม่ได้ แต่หาก ณ ขณะนั้นมีธรรมะดังองค์แห่งงูแล้ว ย่อมเดินอยู่บนทางแห่งความหลุดพ้น ไม่ได้หลุดไปทางอื่นนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
choonj
วันที่ 2 เม.ย. 2552

คนเราคบกันด้วยธาตุ เช่นเราผู้ศึกษาธรรมก็มีธาตุตรงกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีธาตุในสังคมของอโคจร ธาตุทั้งสองก็สังสมแข่งกันไปดูสิว่าใครจะชนะ ผู้ที่ศึกษาธรรมก็มีโอกาส ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
oom
วันที่ 2 เม.ย. 2552

ในสมัยพระพุทธกาล สถานที่อโคจรสำหรับพระภิกษุสงฆ์ คงมีไม่มากเหมือนปัจจุบันนี้และในการออกบวชของคนสมัยนี้ก็จะต่างจากในสมัยก่อน ดังนั้น การรักษาพระธรรมวินัยจึงไม่เคร่งคัดเท่าใดนัก จึงมีข่าวอยู่บ่อยๆ ที่พระภิกษุทำตัวไม่เหมาะสม ทำให้คนเสื่อมศรัทธาในเรื่องของศาสนา ธรรมะก็เป็นอนัตตา เมื่อมีเหตุปัจจัยก็ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดาบังคับบัญชาไม่ได้ คิดว่าจะประพฤติปฏิบัติตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทุกๆ ภพ ถ้าไม่ตกนรกเสียก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
choonj
วันที่ 2 เม.ย. 2552

นั้นสินะถ้าไม่ตกนรกเสียก่อน ศึกษามาจนขณะนี้การมั้นใจยังเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ตกนรก แต่อย่างน้อยๆ ก็พอจะรู้ทางไปสุคติภูมิว่าอยู่ทางไหน ปัญญาที่สังสมอยู่น้อยนิดนี้ก็ยังพอช่วยได้ ชาตินี้ก็ต้องภูมิใจที่เกิดมาไม่เสียชาติเกิดได้ศึกษาธรรมจาก อ. ผู้รู้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 4 เม.ย. 2552

ทางเสื่อมของคฤหัสถ์ เช่น เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร ดื่มสุราและอะไรที่เป็นเครื่องกั้นของกุศลทั้งหลายก็ชื่อว่าทางเสื่อมของปัญญาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ