ข้อสงสัย ธรรมะจากพระไตรปิฏก โปรดชี้แนะ

 
fivep
วันที่  28 มี.ค. 2552
หมายเลข  11790
อ่าน  847

รบกวนโปรดชี้แนะพอดีไปฟังธรรมะจากพระไตรปิฏก บรรยายโดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มาว่า (สรุป

ใจความตามความเข้าใจได้ว่า) สมัยหลัง พ.ศ.2000 โลกไม่ว่างจากพระอริยะแต่จะว่าง

จากพระอรหันต์ แล้วเรื่องพระอรหันต์ในบ้าน (พ่อแม่) ล่ะคะ ในพระไตรปิฏก บรรยายไว้

ว่าอย่างไร? เป็นแค่ข้อสงสัยค่ะ อย่างไรก็ดูแลท่านไม่แพ้การเกื้อกูลพระอรหันต์ค่ะ

อีกอย่าง การเอาทานมาเป็นอารมณ์พิจารณา ทำอย่างไรคะ? โปรดชี้แนะได้ไหมคะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 29 มี.ค. 2552

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่ามารดาบิดาเปรียบเหมือนพระอรหันต์ของลุกๆ

ถ้าทำดีกับท่านก็มีคุณมาก ถ้าทำไม่ดีกับท่านก็มีโทษมาก แต่มิได้หมายความว่า

ท่านเป็นพระอรหันต์จริงๆ

ขอเชิญคลิกอ่าน มารดาบิดาเสมือนพระอรหันต์ในบ้าน มีความหมายอย่างไร

มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร [สพรหมสูตร] การเลี้ยงมารดาบิดาเป็นความดี [มาตุโปสกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 29 มี.ค. 2552

เวลาที่เราให้ทานไปแล้ว หลังจากนั้นสติเกิดระลึกถึงทานที่เราเสียสละกิเลสเป็นจาคานุสสติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

มารดา บิดาท่านเป็นเหมือนพระอรหันต์ของลูก ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับบุตร เป็นต้น ดังข้อความดังต่อไปนี้ครับ ประโยค๔ - มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 201 [มารดาบิดาเป็นบุรพเทพของบุตร]

เหมือนอย่างว่า วิสุทธิเทพกล่าวคือพระขีณาสพ (พระอรหันต์) ไม่คำนึงถึงความผิด

อันพวกชนพาลทำแล้ว หวังแต่ความเสื่อมไปแห่งความพินาศและความเกิดขึ้นแห่ง

ความเจริญ ปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขแก่พวกเขาโดยส่วนเดียวแท้ๆ , และย่อมนำความ

ที่สักการะทั้งหลายของพวกเขามีผลานิสงส์มากเพราะเป็นทักษิไณยบุคคล ฉันใด ;

มารดาและบิดาแม้นั้น ก็ฉันนั้น ไม่คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลายปฏิบัติเพื่อ

ประโยชนสุขแก่บุตรเหล่านั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น เป็นผู้สมควรแก่ทักษิณา นำความ

ที่สักการะของบุตรเหล่านั้นอันเขาทำแล้วในตน มีผลานิสงส์มาก ; เพราะฉะนั้น ท่าน

ทั้ง ๒ นั้นจึงชื่อว่าเทพเพราะเป็นผู้มีความประพฤติเช่นดังเทพ.

ส่วนการระลึกถึงทานที่ทำแล้วคือต้องมีปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นทาน

เมื่อรู้ลักษณะขงอทานจึงระลึกถึงสภาพธรรมที่เป็นกุศลนั้น ไม่ใช่การระลึกถึงเรื่องของ

ทานครับ อีกนัยหนึ่งขณะที่ให้ทานเป็นสภาพธรรมที่มีจริง การอบรมวิปัสสนาสามารถรู้

ความจริงขณะที่เป็นกุศลขั้นทานว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
fivep
วันที่ 6 เม.ย. 2552
ขอบคุณมากที่ช่วยให้ได้รับความกระจ่างค่ะ คุณ prachern.s, คุณwannee.s, คุณpaderm :-) & _/||\_
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
fivep
วันที่ 6 เม.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11790 ความคิดเห็นที่ 3 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

มารดา บิดาท่านเป็นเหมือนพระอรหันต์ของลูก ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับบุตร เป็นต้น ดังข้อความดังต่อไปนี้ครับ ประโยค๔ - มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 201 [มารดาบิดาเป็นบุรพเทพของบุตร]

เหมือนอย่างว่า วิสุทธิเทพกล่าวคือพระขีณาสพ (พระอรหันต์) ไม่คำนึงถึงความผิด

อันพวกชนพาลทำแล้ว หวังแต่ความเสื่อมไปแห่งความพินาศและความเกิดขึ้นแห่ง

ความเจริญ ปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขแก่พวกเขาโดยส่วนเดียวแท้ๆ , และย่อมนำความ

ที่สักการะทั้งหลายของพวกเขามีผลานิสงส์มากเพราะเป็นทักษิไณยบุคคล ฉันใด ;

มารดาและบิดาแม้นั้น ก็ฉันนั้น ไม่คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลายปฏิบัติเพื่อ

ประโยชนสุขแก่บุตรเหล่านั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น เป็นผู้สมควรแก่ทักษิณา นำความ

ที่สักการะของบุตรเหล่านั้นอันเขาทำแล้วในตน มีผลานิสงส์มาก ; เพราะฉะนั้น ท่าน

ทั้ง ๒ นั้นจึงชื่อว่าเทพเพราะเป็นผู้มีความประพฤติเช่นดังเทพ.

ส่วนการระลึกถึงทานที่ทำแล้วคือต้องมีปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นทาน

เมื่อรู้ลักษณะขงอทานจึงระลึกถึงสภาพธรรมที่เป็นกุศลนั้น ไม่ใช่การระลึกถึงเรื่องของ

ทานครับ อีกนัยหนึ่งขณะที่ให้ทานเป็นสภาพธรรมที่มีจริง การอบรมวิปัสสนาสามารถรู้

ความจริงขณะที่เป็นกุศลขั้นทานว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


แล้วลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นทาน เป็นอย่างไรคะ ขอความกรุณาช่วยยกตัวอย่างได้ไหมคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 6 เม.ย. 2552
สภาพธรรมที่เป็นทาน คือ จาคะเจตนา ความตั้งใจบริจาคครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
fivep
วันที่ 7 เม.ย. 2552
ขอบคุณค่ะ _/||_ นั่นหมายถึงลักษณะของจิต เนื่องด้วยสภาพ อย่างเช่น ลักษณะของจิตที่อิ่มเอิบจากความสงบอันเป็นสภาพ หรือ ลักษณะของจิตที่หนักจากความเครียดอันเป็นสภาพ หรืืิอเปล่าคะ โปรดให้ความกระจ่างอีกนิดนะคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 7 เม.ย. 2552

แน่นอนครับถ้าเป็นเจตนาเสียสละจริงๆ ลักษณะของจิตต้องอิ่มเอิบและความสงบ

จากอกุศลเป็นสภาพ..

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
fivep
วันที่ 8 เม.ย. 2552

ขอบคุณค่ะ _/||\_ เข้าใจแล้วค่ะ :-)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ