การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

 
JANYAPINPARD
วันที่  25 มี.ค. 2552
หมายเลข  11754
อ่าน  2,963

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 422

... ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควร กล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติ การสมาทานธุดงค์ สัมมาปฏิปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา.

เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตนทั้งหมดที่ขีดขั้นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย ภิกษุนี้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

แม้ในภิกษุณีก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม บูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

แม้ในอุบาสิกาก็นัยนี้เหมือนกัน.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 มี.ค. 2552

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 77

ใน ธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย.

บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด.

บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.

ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตมรรค.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า อนุธมฺมภูตํ ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร.

บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่ เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป.

บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔.

บทว่า ...

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 347

ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส. อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค. ข้อว่า สปฺปุริสสํเสโว ความว่า การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ ความว่า การฟังธรรม คือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย. ข้อว่า โยนิโสมนสิกาโร ความว่า การทำไว้ในใจด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น. ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม.

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 84

ในอนุธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙.

บทว่า อยมนุธมฺโม ความว่า ธรรมนี้เป็นอนุโลมธรรม.

บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความกระสัน.

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 134

และเป็นพหูสูตทางปฏิเวธ จึงชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม เพราะจำทรงธรรม คือ ปริยัติและปฏิเวธนั่นเอง. คำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม คือ วิปัสสนาอันเป็นธรรมที่ไปตามธรรมของพระอริยเจ้า. คำว่า สามีจิปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร. คำว่า อนุธมฺมจาริโน คือ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ.

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือ ปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์.

บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด คือ พึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่ พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์) .

จบอรรถกถาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 25 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pamali
วันที่ 5 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 23 ก.ย. 2554

ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตคุณจรรยา และทุกๆ ท่าน ค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 21 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 24 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ