วันมาฆบูชา

 
พุทธรักษา
วันที่  8 ก.พ. 2552
หมายเลข  11202
อ่าน  1,331

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"วันมาฆบูชา"

เนื่องด้วยวันพรุ่งนี้ ... เป็นวันพิเศษ เป็นวันมาฆบูชาคณะของเรา จึงขอเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ วันมาฆบูชา ความจริง เรื่องวันมาฆบูชานี้ เป็นเรื่องที่ชาวพุทธทราบกันดีแต่เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้นรวมทั้งน้อมระลึกถึงพระธรรม ที่พระบรมศาสดา ทรงยกขึ้นมาแสดงในท่ามกลางพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เหล่านั้นด้วย

วันมาฆบูชานี้ ตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะซึ่งตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของไทยเรา เมื่อนับย้อนหลังไป ในสมัยที่พระพุทธองค์ ทรงพระชนม์อยู่ได้มีเหตุการณ์สำคัญ อันเป็นเหตุให้ชาวพุทธทั้งหลายได้น้อมรำลึกถึงวันนี้ ... มาจนตราบเท่าปัจจุบัน เหตุการณ์ที่ว่านั้น ... เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวันมหาวิหาร
ใกล้เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ อันเป็นแคว้นที่อยู่ในการปกครอง ของพระเจ้าพิมพิสาร

ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ... ได้มีการประชุมใหญ่ของพระอรหันตสาวกที่เรียกว่า ... สาวกสันนิบาต เกิดขึ้นการประชุมใหญ่ครั้งนี้ ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ซึ่งเป็นเหตุ ให้เรียกการประชุมนี้ว่า "จาตุรงคสันนิบาต" (จาก เวทนาปริคคหสูตร) อันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ

๑. เป็นวันมาฆนักขัตตฤกษ์ พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันอุโบสถ

๒. บรรดาภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ได้มาประชุมกัน ตามธรรมดาของตน โดยที่มิได้นัดหมาย

๓. บรรดาภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ไม่มีภิกษุรูปใดเลย ที่เป็นภิกษุปุถุชนทุกรูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ ทั้งสิ้น

๔. บรรดาภิกษุทั้งหมด ล้วนแต่มิได้ปลงผมออกบรรพชาอุปสมบทหากแต่เป็นภิกษุ ด้วย "เอหิภิกขุอุปสมบท" ทั้งสิ้น

"อภิญญา ๖"

พระภิกษุทุกรูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ ทั้งสิ้น อภิญญา แปลว่าความรู้ยิ่ง, ความรู้พิเศษฉะนั้น ผู้ได้อภิญญา จึงเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถพิเศษกว่าผู้อื่นความรู้พิเศษนี้ ... มีทั้ง โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม ความรู้พิเศษ ขั้นโลกียธรรม มีอยู่ ๕ อย่าง คืออิทธิวิธะ คือ การแสดงฤทธิ์ ๑.ทิพพโสต คือ หูทิพย์ ๑.เจโตปริยญาณ คือ การกำหนดรู้ใจของผู้อื่น ๑.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ การระลึกชาติในหนหลังได้ ๑.ทิพพจักขุญาณ (จุตูปปาตญาณ) คือ ตาทิพย์คือการรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยตาทิพย์ ๑

ทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็น โลกียอภิญญาติเหตุกปุถุชนธรรมดา และ พระอริยบุคคลทั้งหมด ที่ได้สมาบัติ ๘ สามารถที่จะอบรมให้เกิดขึ้นได้ ส่วนความรู้พิเศษ ที่เป็น "โลกุตตรอภิญญา" มีประการเดียว คืออาสวักขยญาณ คือ ญาณที่เป็นเหตุให้อาสวะสิ้นไปความรู้พิเศษชนิดนี้ ... เป็นความรู้พิเศษของพระอรหันต์เท่านั้นบุคคลอื่นไม่มีความรู้พิเศษชนิดนี้

"อาสวักขยญาณ" จึงจัดเป็น "ยอดของความรู้ทั้งหลาย"

"เอหิภิกขุอุปสมบท" หมายถึง พระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงในสมัยปฐมโพธิกาล เมื่อผู้ใดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและทูลขอบรรพชาถ้าผู้ขอบรรพชา ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า "เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริยํ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย" แปลว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบเถิดเพียงเท่านี้ ผู้นั้นก็เป็นภิกษุแล้ว แต่ถ้าผู้ขอได้เป็นพระอรหันต์แล้ว พระองค์ทรงตรัสเพียงว่า "เอหิ ภิกขุ"แปลว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เพียงเท่านี้ ผู้นั้นก็เป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ พระภิกษุรูปแรก ที่เป็น เอหิภิกขุอุปสมบท คือ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งเป็น พระภิกษุรูปแรก ในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้

"พระโอวาทปาฏิโมกข์"พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐฺยนฺโต ฯสพฺพาปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทาสจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯอนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ แปลว่า ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสพระนิพพาน ว่า เป็นยอดผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่จัดว่าเป็น บรรพชิต ... ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าป็น สมณะการไม่ทำบาปทั้งปวง ๑. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑. ความยังจิตใจให้ผ่องแผ้ว ๑

"นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" การไม่ว่าร้าย ๑. การไม่ทำร้าย ๑. ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑. ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑. ที่นั่ง ที่นอน อันสงัด ๑. การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑. "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทั้งหมดนี้ เป็นใจความใน "พระโอวาทปาฏิโมกข์"ซึ่งพระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้ใน ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร

มิใช่แต่พระพุทธเจ้า พระองค์นี้เท่านั้น ที่ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ในพระสูตรนี้ แม้พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทุกพระองค์ ก็ทรงแสดงมาแล้ว แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระภิกษุ แต่ "คฤหัสถ์" ผู้มุ่งที่จะประพฤติดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบก็สามารถนำคำสอนของพระองค์ มาประพฤติปฏิบัติตามได้ด้วย

พระองค์ทรงสอนให้สาวกทั้งหลาย มีความอดทน อดกลั้น ฯลฯเพราะผู้ที่ขาดความอดทน ขาดความอดกลั้น ย่อมไม่สามารถละบาปธรรมและ ไม่สามารถเข้าถึง พระนิพพาน อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายได้ ทรงสอน ให้ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคือทรงสอน ให้มีศีล มีความสำรวมระวังอยู่เสมอทรงสอนว่า ไม่ควรเจริญอกุศลทุกประการ แต่ ควรเจริญกุศลทุกประการตั้งแต่ กุศลขั้นต่ำที่สุด ไปจนถึงกุศลขั้นสูงสุด คือ อรหัตตมรรคกระทำจิตของตน ให้ผ่องแผ้ว ปราศจากกิเลสทั้งปวง ด้วย อรหัตตมรรค ทั้งหมดนี้ เป็น "คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์"

จากหนังสือ "คุยกันวันพุธ" เรื่อง มาฆบูชา ศรัทธาสามัคคี

โดย คณะสหายธรรม

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
saifon.p
วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 9 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 9 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 19 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ