วิริยบารมี

 
opanayigo
วันที่  22 ม.ค. 2552
หมายเลข  10971
อ่าน  1,482

อังคุตตรนิกาย ติกกนิบาต

อาตัปปสูตร

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียรพึงกระทำโดยสถาน ๓ สถาน ๓ คืออะไร คือความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกายอันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ขมขื่น ไม่เจริญใจ พอจะคร่าชีวิตได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุกระทำความเพียร เพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่ เกิดในกายอันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ขมขื่น ไม่เจริญใจ พอจะคร่าชีวิตได้ภิกษุ นี้ เราเรียกว่าเป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา มีสติ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ แม้ข้อความสั้นมาก แต่ก็ทำให้ระลึกได้ถึงความเพียรที่พึงกระทำโดยสถาน ๓ ซึ่งจะต้องเพิ่มขันติความอดทนขึ้น


ข้อความบางตอน จาก หนังสือ บารมีในชีวิตประจำวัน โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 25 ม.ค. 2552

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่...

ลักษณะของวิริยะ

อาตัปปสูตร .. ว่าด้วยความเพียร ๓ ประการ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 25 ม.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเพียร (วิริยเจตสิก) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปเกิดร่วมกับจิตเกือบทุกประเภท เป็นปกิณณกเจตสิก (เกิดร่วมกับจิตได้ทุกชาติ) เช่นในขณะที่ฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แล้วมีความเข้าใจค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ขณะเจริญกุศลประการต่างๆ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย หรือแม้กระทั่งขณะที่อกุศลจิตเกิด เวลาโกรธ ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ หรือ ขณะที่ติดข้องยินดีพอใจ ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย ดังนั้น ความเพียรใดๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้วเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของอกุศล ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้นไม่ควรเริ่มตั้ง ไม่ควรประกอบ ในทางตรงกันข้าม ความเพียรใดๆ ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้น ควรเริ่ม ควรประกอบ สำหรับในชีวิตประจำวัน ความเพียรที่เป็นไปกับการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวันเป็นความเพียรที่ควรประกอบ ควรอบรมให้มีขึ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 25 ม.ค. 2552

เชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกในเรื่องอาตัปปสูตรได้ที่...

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 208

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
opanayigo
วันที่ 25 ม.ค. 2552

ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ของเพื่อนธรรมนะคะ

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 25 ม.ค. 2552

สาธุ

จากลิงค์ อาตัปปสูตร ในความเห็นที่ 1 ของพี่เมตตา ผมเข้าใจว่า ความเพียรสถานที่ 1 ในกระทู้น่าจะเป็น ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็น บาปอกุศลอันยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
opanayigo
วันที่ 25 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาคุณสุวิทย์นะคะ พิมพ์ตกไปค่ะ หาทางแก้ไขอยู่นะคะ

ขอบพระคุณที่กรุณาแก้ไข ให้ถูกต้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 26 ม.ค. 2552

ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่ะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 27 ม.ค. 2552

พี่เมตตาได้ช่วยแก้ไขเพิ่มเติมให้คุณ opanayigo แล้ว

ขออนุโมทนาพี่เมตตาครับ

ขอพระสัทธรรมอันงดงาม บังเกิดแต่ดอกบัว คือพระโอษฐ์ของพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทำให้ใจของท่านทั้งหลายเบิกบาน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เมตตา
วันที่ 27 ม.ค. 2552

ฉะนั้น ในกระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ พิมพ์ตก ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยังไม่เกิด พิมพ์ตกคำว่ามิให้เกิดขึ้น ได้แก้ไขแล้วค่ะ ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณsuwit02 อย่างมากค่ะ ขออนุโมทนาเจ้าของกระทู้และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ