การศึกษาพระอภิธรรม สำหรับผู้เริ่มต้นให้ศึกษาจากขณะนี้เลยหรือเปล่าคะ

 
สามาวดี
วันที่  23 ม.ค. 2552
หมายเลข  10976
อ่าน  1,644

เรียน สอบถามดังนี้ ค่ะ

1. การฟังธรรม ต่างจากการอ่านตำรายังไงคะ เหมือนเคยอ่านเจอในกระทู้ในบ้านธัมมะ ว่าการอ่านจะทำให้ติดในพยัญชนะ ให้ฟังจะดีกว่า (จำไม่ได้ว่าท่านใดโพส) ส่วนดิฉัน มีอัธยาศัย ที่อ่านแล้วเข้าใจ แต่ถ้าฟังจะไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจว่าผู้แสดงธรรม กำลัง พูดถึงคำอะไร แต่พออ่านคำพูด ที่ถอดออกมาเป็นข้อความ กลับเข้าใจความหมาย เพราะเห็นตัวพยัญชนะนั้น จึงสงสัยว่าควรฟังก่อนอ่านหรือเปล่าคะ

2. เคยอ่านเจอในกระทู้ในบ้านธัมมะบ่อยๆ ว่า ให้ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้ แต่ ดิฉันปัญญาน้อยมาก ไม่รู้ว่าจะรู้อะไร และก็มีสหายธรรมแนะว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา ให้ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้เลย และจากที่ถามคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้ เริ่มต้นศึกษาแต่พวกเขาสนใจจะฟัง พอพวกเขาได้ฟังว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา พวก เขาที่มาอ่านเจอก็เข้าใจไปว่า ให้ศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏเลย คิดว่าให้ดูจิต ไม่ต้อง อ่านตำรามาก ก็เลยสงสัยว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา เป็นข้อความที่หมายถึงการอย่า ศึกษามากหรือเปล่าคะ ผู้จะเริ่มศึกษามาอ่านประโยคนี้แล้วชะงักแทบทุกคน เหมือนจะ ให้รู้สภาพที่ปรากฏทันที แล้วเล่าเรียนธรรมนี่ไม่ต้องตามลำดับรึเปล่าคะ ตำราในที่นี้ หมายถึงพระไตรปิฎกหรือเปล่า เพราะดิฉันเชื่อว่า พระไตรปิฎก คือ พระธรรมวินัย และ พระธรรมวินัย คือ พระศาสดาน่ะค่ะ เพิ่งเริ่มต้นจริงๆ ค่ะ ไม่ให้รู้เรื่องราวเลยหรือเปล่าคะ แล้วจะรู้อะไรต่อไปได้คะ งง ที่สำคัญคือดิฉันปัญญาน้อยมาก จริงๆ ค่ะ จะศึกษาข้าม ขั้นได้ยังไง ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในบ้านธัมมะ นอกจากอาจารย์ประเชิญ และอาจารย์ คำปั่น ท่านอื่นๆ เป็นวิทยากรด้วยหรือเปล่าคะ ทำไมถึงพูดออกไปแนวดูจิตได้ ดิฉันยัง ไม่เข้าใจว่าคำว่า สภาพธรรม แปลว่าอะไรเลยค่ะ หรือว่าดูจิตได้เลย ไม่ต้องศึกษาจำมาก แล้วทรงจำโดยเคารพนี่เป็นยังไงคะ

3. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่ท่านพระอนุรุธาจารย์รจนาไว้ มีการแบ่งเป็นปริจเฉท ไม่ได้ ตามลำดับขั้นหรือคะ ดิฉันอ่านความคิดเห็นในกระทู้นี้ สอบถามเกี่ยวกับ อภิธรรมมัตถสังคหะ ทั้ง 9 ปริเฉท ความคิดเห็นที่ 5 เหมือนจะให้ดูจิตเลย เพื่อนดิฉันที่ดูจิต ก็เอาคำนี้มาอ้างว่า อาจารย์ สุจินต์ ก็สอนตรงกับทางที่เค้าดูจิต เหมือนจะบอกว่า พระอภิธรรม ควรศึกษาสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่ได้แบ่งเป็นปริจเฉท แล้วท่านพระอนุรุธฯท่านแบ่งเป็นปริจเฉท ทำไมคะ

พระอภิธรรมแบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ ศึกษาข้ามไปมาได้ใช่มั้ยคะ แต่ดิฉันปัญญา ไม่ถึงจริงๆ ค่ะ อ่านบางท่านโพส ก็จะบอกให้ศึกษาให้เข้าใจก่อนตามลำดับ แต่พออ่าน บางท่านโพสก็เหมือนว่า ควรศึกษาสภาพธรรมในขณะนี้ อย่าไปห่วงจำชื่อจำเรื่องราว แต่ดิฉันรู้เองไม่ได้อ่ะค่ะ แล้วก็ ฟังแล้วก็งงศัพท์ ว่าคุยอะไรกัน พอมาเจอว่าไม่ให้จำชื่อ ก็เลยไม่จำ จนตอนนี้ก็ไม่รู้ ศัพท์นั้นคืออะไร เพราะได้ยินมาว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมเป็นภาษาบาลี แต่พอมาอ่านกระทู้บ้านธัมมะ เลยไม่ได้สนใจจำชื่อยากๆ สำหรับ คนปัญญาน้อย ให้ศึกษาอภิธรรมจากสภาพที่ปรากฏขณะนี้เลยหรือคะ ตามลำดับขั้นนี้ เป็นยังไงคะ ขอกรุณาดิฉันเถอะค่ะ ถามเพราะไม่เข้าใจจริงๆ สับสนค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 25 ม.ค. 2552

๑. แล้วแต่อัธยาศัยครับ แต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นสมัยครั้งพุทธกาล พระสาวกทั้งหลายบรรลุเพราะการฟังจากพระโอษฐ์ มีจำนวนนับไม่ถ้วน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการศึกษาย่อมมีช่องทางมากยิ่งขึ้น ไม่จำกัดแค่ฟังเท่านั้น

๒. คำว่า "ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา" หมายถึง ตัวสภาพธรรมจริงๆ มีอยู่ทุกขณะ แต่มิได้หมายถึงอย่าศึกษามาก ศึกษาเรื่องใดก็เข้าใจเรื่องนั้น ไม่ใช่ไปดูจิตโดยไม่เข้าใจ

๓. การศึกษาควรค่อยๆ เป็นไปตามลำดับครับ ไม่ควรกังวลเรื่องอื่นๆ เรื่องศัพท์ภาษาก็ควรรู้ แต่ที่ควรรู้ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเข้าใจแล้วก็คือตัวธรรมะจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 25 ม.ค. 2552

ขอร่วมสนทนาในฐานะผู้กำลังศึกษาเช่นกันนะคะ และ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ ผิดถูกอย่างไร ต้องขออภัยล่วงหน้า และขอความกรุณาจากคณะวิทยากรและท่านผู้รู้ช่วยแนะนำแก้ไขด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

1. การฟังธรรม ต่างจากการอ่านตำรายังไงคะ การฟังไม่ต่างจากการอ่านเลยค่ะ ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยจริงๆ ไม่มีข้อบังคับเด็ดขาด ว่าต้องอ่านก่อนหรือฟังก่อน ที่สำคัญจริงๆ คือ ก่อนจะตัดสินว่าต้องทำนั่นทำนี่ หรือ ไม่ ทำนั่นทำนี่ ก็คือ ควรศึกษา ก่อนค่ะ จะเป็นโดยการฟังหรืออ่าน ได้ทั้งนั้น ตามแต่ความ สะดวก

การอ่านจะทำให้ติดในพยัญชนะ ให้ฟังจะดีกว่า พยัญชนะ จะเป็นคำศัพท์ที่เกิดจากการได้ยิน หรือเกิดจากการอ่าน ล้วนสามารถ ติดในพยัญชนะได้ทั้งนั้นค่ะ หากเป็นการฟังการอ่านที่เพียงเพื่อจำชื่อไว้ ไม่ได้รู้ชื่อเพื่อ จะเข้าใจในความหมายที่ส่องไปถึงลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ที่มีคำศัพท์นั้นไว้ เพื่อ สื่อให้เข้าใจได้ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ

2. เคยอ่านเจอบ่อยๆ ว่า ให้ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้ ดิฉันปัญญาน้อยมาก ไม่รู้ว่าจะรู้อะไร และก็มีสหายธรรมแนะว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา ให้ระลึกรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏขณะนี้เลย

หากมีสหายธรรมแนะนำให้ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฎขณะนี้ ดิฉันเข้าใจ ว่า เมื่อฟังธรรม ศึกษาพระสัทธรรมมาระยะหนึ่ง จะเริ่มมีความเข้าใจว่า ธรรมะมีอยู่แล้วที่ ตัวทุกขณะ เกิดขึ้นทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เนื่องจากยังสะสมความเข้าใจถูก มาน้อย การจะระลึกรู้สภาพธรรมตรงลักษณะในขณะที่กำลังเกิดขึ้นปรากฎ และดับไป นั้น จึงเป็นเรื่องยากมาก (ดิฉันอยากพูดว่า ยังเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้) แต่สามารถที่จะ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไป จนเกิดความเข้าใจถูกในเรื่องของสภาพธรรม เกิดเป็นความ เข้าใจในขั้นการฟังได้ค่ะ ย้ำ เป็นความเข้าใจในขั้นการฟังนะคะ ฉะนั้น อย่าเพิ่งตกใจ ไปเลยค่ะ

พอพวกเขาได้ฟังว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา พวกเขาที่มาอ่านเจอก็เข้าใจไปว่า ให้ ศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏเลย คิดว่าให้ดูจิต ไม่ต้องอ่านตำรามาก ไม่เคยได้ยินหรืออ่านพบว่า ให้ดูจิต ในที่ไหนเลยนะคะ แต่ถ้าหากจะมีการกล่าว ถึงบ่อยๆ ก็น่าจะเป็น ควรระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ขณะนี้ หรือเมื่อเกิดมีความโกรธ ขึ้นมา ควรรู้ว่า นั่นคือ สภาพของจิตที่เรียกว่าโทสะมูลจิต แต่ไม่ใช่การดูจิตนะคะ เป็น การค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมขณะนั้นมากกว่า คงอ่านแล้วเกิดการคิดเอาเองว่าให้ดูจิต

3. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่ท่านพระอนุรุธาจารย์รจนาไว้มีการแบ่งเป็นปริจเฉท ไม่ได้ ตามลำดับขั้นหรือคะ ดิฉันอ่านความคิดเห็นในกระทู้นี้ สอบถามเกี่ยวกับ อภิธรรมมัตถสังคหะ ทั้ง 9 ปริเฉท ความคิดเห็นที่ 5 เหมือนจะให้ดูจิตเลย เหมือนจะบอกว่า พระอภิธรรม ควรศึกษาสภาพ ธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่ได้แบ่งเป็นปริจเฉท paderm

วันที่ 27 ส.ค. 2551

ความคิดเห็นที่ 5

ขณะนี้มีสภาพธรรม แบ่งเป็นปริเฉทหรือเปล่า

การศึกษาพระธรรมย่อมเป็นไปตามลำดับขั้นแน่นอนค่ะ เริ่มต้นที่การฟัง ฟังไปจน กว่าจะค่อยๆ เริ่มเข้าใจ ซึ่งความเข้าใจของแต่ละคน แม้ฟังมาในระยะเวลาเท่ากัน ก็ยัง เข้าใจมากน้อยต่างกันไปตามการสะสม ที่สำคัญ คคห.5 ในกระทู้ดังกล่าว ไม่ได้พูดถึง การดูจิตเลย เพียงแต่ว่า (ตามความเข้าใจของดิฉัน) ต้องการบอกว่า สภาพธรรมะที่ เกิดขึ้นแต่ละขณะนั้น เลือกไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยที่สภาพธรรมะหนึ่งสภาพธรรมะใด จะ เกิด สภาพธรรมะนั้นๆ ก็ต้องเกิด และแน่นอนว่าไม่ได้เกิดขึ้นเรียงกันมาเป็นลำดับอย่าง การอ่านหนังสือทีละบทๆ แล้วท่านพระอนุรุธฯท่านแบ่งเป็นปริจเฉททำไมคะ เพราะพระอภิธรรมนี้ละเอียดลึกซึ้งและยากมากๆ ท่านพระอนุรุทธาจารย์มีกรุณา แก่ชนรุ่นหลัง จึงได้ทำการเรียบเรียงจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการศึกษา แม้ อย่างนั้น พระอภิธรรม ก็ยังยากแก่การศึกษาและทำความเข้าใจ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความ ว่าท่านจะให้เข้าใจไปว่า สภาพธรรมจะต้องเกิดเรียงจากเรื่องจิตก่อน แล้วจึงเป็นเรื่อง เจตสิก ฯลฯ หรืออะไรทำนองนั้น

ต้องขออนุโมทนาในความสนใจที่จะศึกษาพระธรรมของคุณสามาวดี ไม่อย่างนั้นคงไม่มีคำถามที่มากมายเช่นนี้ แต่ไม่ต้องด่วนตกใจหรือรีบร้อนที่จะเข้าใจเลยค่ะ พระสัทธรรมเป็นของยากเพราะเป็นพระปัญญาของพระผู้มีพระภาค สำคัญที่สุดคือค่อยๆ ฟัง (ถ้าชอบอ่านก็อ่าน ไม่มีใครว่าหรือห้าม) ค่อยๆ ศึกษา จนสะสมเป็นความเข้าใจขึ้นทีละนิดทีละน้อย ดิฉันเคยสงสัยมากกว่าที่คุณถามมาอีกค่ะ แต่ก็อดทนที่จะฟัง เพราะตั้งแต่ที่ได้ฟังครั้งแรกก็รู้ว่ายาก และต้องใส่ใจในการฟังมาก ค่อยเป็นค่อยไปดีกว่านะคะ เราต่างคนต่างยังต้องเป็นเพื่อนร่วมสังสารวัฏฏ์ ต้องศึกษาพระธรรมร่วมกันไปอีกนานแสนนานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 25 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

สำหรับตัวกระผมเอง เมื่อแรกที่ได้พบกับเสียงของท่านอาจารย์ทาง วิทยุ แล้วตามเข้ามาศึกษาทางบ้านธัมมะแห่งนี้ ก็มีความสงสัยอยู่มากมายที่อยากได้คำตอบ แต่จะด้วยความสั่งสมมาในการที่จะไม่ชอบถาม ก็ได้แต่อดทนฟังๆ จนเดี๋ยวนี้ความสงสัยที่เคยมีอยู่มากก็ละคลายหายไปมาก และแน่นอนยังสงสัยอีกมาก จึงฟังๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ได้หวังว่าจะหมดความสงสัยใดๆ เพียงแต่เมื่อได้ ฟังและเข้าใจแล้ว ความสงสัยก็หายไปเอง (ความสว่างมา ความมืดจักยังอยู่ได้ .... ฉัน ใด ฤา) ก็ขออนุโมทนาในความสนใจในพระธรรมของท่านเจ้าของกระทู้ด้วย นะครับ การได้เกิดมา และได้พบพระสัทธรรมมีค่าที่สุดแล้ว การได้ฟังและเข้าใจพระธรรมที่ถูก ต้องมีค่ายิ่งกว่า ขออย่าได้กังวลว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลยครับ สงสัยก็ถาม การถามและ ตอบ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาธรรมของทุกๆ ท่านจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 26 ม.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 10217 ความคิดเห็นที่ 5 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อะไรคือธรรม อะไรคือสติปัฏฐาน ๔ ต้องเข้าใจก่อนครับว่าคืออะไร ศึกษาธรรม ธรรม คือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เห็น ได้ยิน คิดนึก โกรธ เป็นธรรม ศึกษาหรือยัง และ ศึกษาอย่างไรจึงจะชื่อว่าศึกษา เห็นเป็นเราเห็น เป็นเราโกรธ เป็นเราชอบ รู้อย่างนี้ ศึกษาธรรมหรือเปล่า แต่ขณะที่ศึกษาธรรมคือเข้าใจธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นั่นคือ ศึกษา เพราะปัญญาเกิดจึงศึกษา ความเห็นถูกเกิดขึ้น จากไม่รู้หรือรู้ผิดคิดว่าเป็นเราที่ เห็น ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ค่อยๆ รู้ขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็ชื่อว่าศึกษาธรรม ศึกษา ตามความเป็นจริง เริ่มจากฟังให้เข้าใจก่อนนะครับว่าธรรมคืออะไร เมื่อเข้าใจขึ้นแล้ว ปัญญาเจริญขึ้น ก็เริ่มศึกษาแล้ว แม้จะเรียกหรือไม่เรียกว่ากำลังศึกษาหรืออบรมสติปัฏฐานอยู่ครับ สำคัญที่ความเข้าใจเบื้องต้นครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 26 ม.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง มีความละเอียด ลึกซึ้ง เพราะแสดงถึงความ จริงทั้งหมด ความจริงทั้งหมดนั้น ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม กล่าวคือ จิตทั้งหมดทุกประเภท เจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต รูปทั้งหมด (และ พระนิพพาน) ล้วนเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ชีวิตประจำวันเป็นธรรมและสามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะ เมื่อได้ฟัง ได้ศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กที-ละน้อย ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ที่สำคัญไม่ควรประมาทพระธรรม ว่าง่าย ดังนั้น จึงต้องมีความอดทนที่จะฟัง ที่จะศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

จิตตสังเขปบทที่ ๕ ...ธรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในหนังสือตำรา

ไม่ได้อยู่ในตำรา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 27 ม.ค. 2552

ถึงคุณสามาวดี ขอร่วมแสดงความคิดเห็นน่ะครับ

การศึกษาธรรมควรเริ่มด้วยความเข้าใจครับ แต่ความเข้าใจที่ว่านี้ เมื่อเกิดขึ้น จะค่อยๆ เพิ่มไปทีละน้อยๆ และเกิดขึ้นในขณะที่อ่านหรือฟังพระธรรม ตามอัธยาศัยของแต่ละคนจริงๆ เพราะพระธรรมนั้นเป็นการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แน่นอนจึงเป็นของยากสำหรับพวกเราที่จะรู้ตาม แต่เมื่อได้อ่าน ได้ฟังพระธรรมย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ประเสริฐแล้ว เมื่ออ่านและฟังต่อไป จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ แตกต่างจากการที่ไม่เคยได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังแน่นอน

ความเข้าใจที่เกิดขึ้นนี้ จะค่อยๆ สะสมขึ้น รวมทั้งสภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม ก็เกิดขึ้นด้วย โดยที่เราไม่รู้ชื่อธรรมะต่างๆ เหล่านี้พร้อมกัน เป็นเหตุให้ได้มีการจะได้ อ่านหรือได้ฟังพระธรรมต่อไป บางท่านกล่าวว่าอ่านหรือฟังไม่ขาดเลย โดยที่ไม่ต้อง ไปบังคับตัวเองเลย ว่าจะต้องเริ่มอะไรก่อน อ่านอะไรก่อน

ท่านอาจารย์จะสอนให้เรียนพื้นฐานให้มั่นคง คือให้รู้จักปรมัตถธรรมทั้งสี่ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน โดยไม่ข้ามหรือปล่อยให้ไม่เข้าใจ คือให้เข้าใจในคำที่ศึกษา เช่นจิต คือธาตุรู้ เป็นนามธรรม มีสี่ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา หรือจะกล่าวโดย ธรรมสามหมวด ก็เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม เป็นต้น จิต เจตสิก เป็นกุศลธรรมได้ จิต เจตสิก เป็นอกุศลธรรมได้ รูป เป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม ไม่ได้ ต้องเป็นอพยากตธรรม จิต เจตสิก ที่เป็นวิบากจิตกับกิริยาจิต เป็นอพยากตธรรม นิพพาน เป็นอพยากตธรรม ปรมัตถธรรมทั้งสี่ จะมีธรรมชาติของตนๆ จึงควรเข้าใจ ให้มั่นคงเป็นเบื้องต้น ศึกษาจากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หรืออภิธัมมัตถสังคหะ พร้อมๆ กับการฟังพระธรรม โดยการฟังจากผู้แสดงธรรมที่ช่วยให้เข้าใจธรรมะได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ไม่พิจารณาตรึกตรอง แล้วเชื่อ อย่างนี้ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวว่าศึกษาอย่างไม่มีปัญญา

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ