กรรม กรรมกิเลส กรรมบถ

 
kchat
วันที่  18 เม.ย. 2549
หมายเลข  1087
อ่าน  1,320
กรุณาอธิบายความหมายของ กรรม กรรมกิเลส และกรรมบถ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 เม.ย. 2549

กรรม คือการกระทำ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ชื่อว่ากรรมกิเลส เพราะกรรมนั้นเป็นกิเลส เพราะสัมปยุตด้วยกิเลส ในพระสูตร คือ สิง-

คาลกสูตร แสดงกรรมกิเลส ไว้ ๔ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ กาเมฯ ๑ มุสาวาท ๑ ที่ชื่อว่ากรรมบถ เพราะความเป็นทางของทุคติ และสุคติทั้งหลาย ได้แก่ เจตนาที่เป็น

ไปทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ และทางใจ ๓ รวมเป็น ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kchat
วันที่ 19 เม.ย. 2549

กรุณายกตัวอย่างกรรมที่ไม่เป็นกิเลส ไม่ทราบมีหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ากรรมนั้นไม่

สัมปยุตด้วยกิเลส

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 19 เม.ย. 2549

กรรมที่ไม่เป็นกิเลส หมายเอากรรมฝ่ายดี คือกุศลกรรมทั้งหลาย เพราะไม่

สัมปยุตด้วยกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kchat
วันที่ 19 เม.ย. 2549
กรรมที่ไม่เป็นกิเลส หมายถึง ทาน ศีล และภาวนา ใช่ไหมครับ ถ้าไม่เป็นไปในทาน ศีล และภาวนา คงต้องเป็นไปด้วยกิเลสใช่ไหม
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
saowanee.n
วันที่ 19 เม.ย. 2549

Dear Khun Kchat,

First of all , we need to know what kilesa (defilements) is. There are 10 kinds

of kilesa : lobha, dosa, moha, mana, ditthi, vicikiccha, thina, uddhaca, ahirika

and anottappa. Therefore, any citta that arises with some of these cetasikas is

akusala citta. But basically, when we mention akusala, we refer to 12 akusala cittas and 14 akusala cetasikas.

Hope this answers your question.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ