วิธีคลายทุกข์ ความกังวล ก่อนข้ารับการรักษาโรค

 
กัลยาณมิตร
วันที่  18 เม.ย. 2549
หมายเลข  1089
อ่าน  3,367

ก่อนที่เราจะเข้ารับการรักษาโรค หรือเข้าห้องผ่าตัด ท่านมีวิธีคลายทุกข์ คลายความกังวล และควรปฏิบัติตนอย่างไรในเวลานั้นที่ทำให้เราสามารถแยกแยะความเจ็บปวดออกจากความมีสติได้ ทำอย่างไรจึงสามารถบอกกับตนเองและสามารถปฏิบัติได้ว่าร่างกายที่เขากำลังจะผ่าตัดนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจิต ดิฉันมีคำตอบอยู่ในใจแล้วแต่ไม่ทราบว่าเป็นคำตอบที่ถูกหรือไม่ อยากขอความกรุณาท่านช่วยตอบให้ทราบหน่อยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 เม.ย. 2549

ท่านที่จะเข้ารับการรักษาโรค หรือเข้าห้องผ่าตัด ย่อมมีความกลัว ความกังวลเป็นธรรมดา จะห้ามไม่ให้มันเกิดขึ้นก็ไม่ได้ เพราะปุถุชนยังละความทุกข์ใจและความกังวลยังไม่ได้ การพิจารณาว่าเป็นธรรมดาของชีวิต เมื่อมีการเกิดแล้วย่อมมีการแก่เจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา เราไม่สามารถล่วงพ้นไปได้ อาจจะบรรเทาความกังวลลงได้บ้างหรือขณะที่เราพิจาณาธรรมะ ต่างๆ เช่น พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หรือกุศลต่างๆ ที่เราเคยทำมา ขณะนั้นจิตก็ไม่ไปคิดถึงเรื่องเจ็บป่วย และการเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า เป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรา ก็จะไม่ไปเดือดร้อนกับร่างกายที่เป็นไปตามปัจจัย จะไปบังคับให้เป็นไปดังใจก็ไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 23 เม.ย. 2549

การรู้ตัวล่วงหน้าก่อนว่าจะรับการผ่าตัด เป็นเรื่องที่ทำให้วิตกกังวลมากจริงๆ สำหรับบางคนที่เป็นครั้งแรกในชีวิต ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่เดี๋ยวนี้การแพทย์เจริญมาก หมอก็เก่ง ยาก็ดี บางที่เจอหมอพูดเก่งก็หายแล้ว วิธีที่จะช่วยให้คลายทุกข์ คลายความกังวลได้จริงนั้น ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจว่า ถ้าอกุศลชนิดที่เป็นโทสะเกิด ก็ต้องมีความเดือดร้อนใจ มีความกังวลใจ มีโทมนัสเวทนา เพราะเป็นลักษณะเฉพาะ และ

เป็นกิจเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ จะห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยโทสะก็ต้องเกิดถ้าเข้าใจลักษณะธรรมะที่เรียกว่าโทสะนี้ เวลาโทสะเกิด คงจำได้ และรู้ว่า ถ้าให้โทสะเกิดบ่อยๆ ก็ต้องทุกข์ไปอีก และก็ทุกข์ทุกครั้งเมื่อโทสะเกิด แต่ถ้าเรารู้ความจริงและเริ่มมองเห็นโทษของโทสะ จะเป็นปัจจัยให้เกิดสติระลึกได้ ปัญญาความเข้าใจในความเป็นจริงจะเป็นปัจจัยให้เกิดความสงบลงได้ตามกำลังของปัญญาที่ได้สะสมมา แต่ถ้าเป็นความอยากจะทำ ไม่ได้เป็นความเข้าใจ ก็ต้องแบกความอยากเพิ่มไปอีก เพราะสติและปัญญาไม่ได้เกิดเพราะความต้องการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้หนทางดับทุกข์ ทรงแสดงสติปัฏฐานซึ่งเป็นหนทางพ้นทุกข์ ขึ้นอยู่ว่าเมื่อพบแล้ว จะสนใจศึกษาหรือเปล่า หรือว่าจะเอามาช่วยตอนผ่าตัด หายแล้ว สบายแล้ว พอแล้ว แล้วก็ต้องกังวลในเรื่องอื่นๆ ต่อๆ ไปไม่รู้จบ ประเสริฐที่สุดคือ ศึกษาสภาพธรรมะที่ปรากฏซึ่งเป็นของจริงทุกภพทุกชาติ สะสมการรู้ความเป็นจริงของสภาพธรรมะ ไม่ว่าจะเกิดชาติไหน เป็นอะไร ปัญญาความเห็นถูกย่อมเป็นที่พึ่งได้เสมอ หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างพระธรรมคุ้มครอง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saifon.p
วันที่ 7 พ.ค. 2549

ขออนุโมทนาคุณ shumporn.t ไม่มีใครบังคับอะไรได้ ผู้ที่สะสมความวิตกกังวลมามากในสังสารวัฎ ถึงเวลามีเหตุให้กังวลก็กังวล ในการฟังพระธรรมนั้น หากความเข้าใจถูกต้องยังไม่ลึกซึ้งมากพอ เดี๋ยวๆ ก็กังวลอีก กังวลไปทุกเรื่อง หากสติไม่ระลึกขณะมีความกังวลว่าเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น จะยิ่งสะสมความกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นโทษของการสะสมอกุศล ทุกอย่างมาจากเหตุ เมื่อมีเหตุให้ต้องผ่าตัดก็ต้องเข้าใจและยอมรับ วิสัญญีจะให้ยาคลายความวิตกกังวลให้เราเคลิบเคลิ้มแล้วหลับ จะตื่นขึ้นมาเมื่อเขาผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย ถ้าปวดก็บอกพยาบาล การผ่าตัดและดมยาสลบ มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตามแต่ละวิชาชีพก็มีมาตรฐานในการทำงาน ขอเป็นกำลังใจให้คุณกัลยาณมิตร ให้อดทนในการฟังธรรมะนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ