สมาธิ...วิสุทธิ?

 
พุทธรักษา
วันที่  8 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10626
อ่าน  2,172

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ท่านผู้ฟัง ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บอกว่า สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิของฌาน ๔.

ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาพระไตรปิฎก ก็จะเห็นได้ว่า บางข้อความพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยอุกฤษฏ์ (สูงสุด) แต่ก็ควรเข้าใจด้วย ว่าขณะใดเป็นตทังคปหาน ขณะนั้น จะต้องเป็น มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

ฉะนั้น ขณะนั้น จึงไม่ใช่อุปจารสมาธิ ไม่ใช่อัปนาสมาธิ.พอพูดถึง ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ ต่อๆ ไป (วิสุทธิ ๗) เพียงขั้นของ ศีลวิสุทธิ ก็ควรทราบว่า "ศีล" และ "ศีลวิสุทธิ" ต่างกันอย่างไรมิฉะนั้นก็จะมีการสับสนปะปนกัน เจ้าค่ะ

เพราะถึงแม้จะแสดงว่าจิตตวิสุทธิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ และอัปนาสมาธิ (ทรงแสดงโดยอุกฤษฏ์) แต่ว่า ในการเจริญสติปัฏฐานมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ไม่ใช่อุปจารสมาธิ และ อัปนาสมาธิหรือแม้แต่ วิปัสสนาญาณ ก็เป็นตทังคปหาน ซึ่งไม่ใช่อุปจารสมาธิ ไม่ใช่อัปนาสมาธิ

ฉะนั้น ควรมีความเข้าใจที่สอดคล้องกันด้วยนะคะ ว่าเมื่อไรทรงแสดงโดยขั้นอุกฤษฏ์ คือ รวมอุปจารสมาธิ และอัปนาสมาธิ.ขณะใดที่จิตสามารถระลึกรู้ สภาพนามธรรม ว่า ไม่ใช่เราเมื่อนั้นจึงจะเป็น จิตตวิสุทธิ.ฉะนั้น ผู้ที่ได้ฌาน...รูปฌาน อรูปฌาน ถ้าขณะนั้น ไม่ได้ระลึกลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีสติปัฏฐานเกิดขณะนั้นไม่ใช่ จิตตวิสุทธิ อรูปฌาน ที่เป็นจิตต...มี แต่ไม่ใช่ จิตตวิสุทธิถ้าเป็นวิสุทธิ ๗ ต้องเป็นวิสุทธิ ตั้งแต่ศีลวิสุทธิ ขณะที่เป็น ศีลวิสุทธิ

คือ ขณะนั้น (ต้องมีปัญญา) ไม่มีเรา ที่วิรัติทุจริต แต่เป็นสภาพธรรมเช่นขณะที่เป็น อินทรียสังวร

ก็เป็นการระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้น เป็นศีลวิสุทธิ ขณะที่เป็น จิตตวิสุทธิ

ขณะนั้น ต้องมีปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ว่าไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้ จึงจะเป็นวิสุทธิ เจ้าค่ะ มิฉะนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นวิสุทธิได้ เพระว่า วิสุทธิที่เป็น ศีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิเป็นบาทของ ทิฏฐิวิสุทธิ ซึ่งเป็น นามรูปปริจเฉทญาณทิฏฐิวิสุทธิ ในที่นี้ ไม่ใช่วิสุทธิ ด้วยสติปัฏฐานแต่ต้องเป็น วิปัสสนาญาณ ที่เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ เจ้าค่ะ

ท่านผู้ฟัง เป็นสมาธิขั้นไหน

ท่านอาจารย์ ต้องเป็นสมาธิ ที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ที่สติระลึกรู้จึงจะถึง ทิฏฐิวิสุทธิ ซึ่งเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ได้เจ้าค่ะ

ท่านผู้ฟัง เป็นสมาธิขั้นไหน

ท่านอาจารย์ ขั้นไหนก็ได้ เจ้าค่ะ เพราะว่าในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้ทุกระดับ ไม่เลือกเลย ฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญฌานมาแล้ว ได้ฌานแล้ว แต่ได้มาฟังเรื่องสติปัฏฐานก็ต้องเริ่มตั้งต้นที่สติ อบรม ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม โดยไม่เลือก

ไม่ใช่ว่าต้องไประลึกที่ฌาน เพราะเหตุว่า สติปัฏฐาน ต้องระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมด ที่เคยยึดถือ ว่าเป็นเราระลึกโดยทั่ว จึงจะละความสงสัย ความไม่รู้ ในลักษณะของสภาพนามธรรมและรูปธรรม เพราะว่าประจักษ์แจ้งจริงๆ คือไม่ว่าจิตอะไร ก็เป็น นามธรรม ไม่ว่าเจตสิกอะไร ก็เป็น นามธรรมไม่ว่ารูปอะไร ก็เป็น รูปธรรม ไม่จำกัดเลยใน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานมีตั้งแต่โลภะ สราคจิต น่ะค่ะ ฉะนั้นไม่ได้หมายความว่า สมาธิทั้งหมด เป็นบาท

ท่านผู้ฟัง ที่อาจารย์พูดถึงเรื่องสมาธินะครับ พวกเราเข้าใจแล้วว่า ที่จะไปนั่งสมาธิอย่างเดียว โดยไม่พิจารณาธรรมะอย่างอื่นด้วย ก็ไม่มีทางที่จะบรรลุธรรม อันนี้ ถูกต้องหรือเปล่าครับ

ท่านอาจารย์ เวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนะค่ะ ผู้ฟังเป็นพระอริยบุคคลขณะนั้น นั่งสมาธิหรือเปล่า จะเป็นสมาธิขั้นไหน ระดับไหนก็ตามแต่ ถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่มีทาง ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นว่า ไม่ใช่ตัวตน

สนทนาธรรมที่วัดบ้านปิง อ.เมือง จ. เชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๔๔ โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนา

ข้อมูลเพิมเติมเรื่อง "วิสุทธิ ๗" ดูใน หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หมวด วิปัสสนาภาวนา (หน้าปกสีเขียว หน้าที่ ๔๘๔-๔๘๘)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 8 ธ.ค. 2551

สาธุ

รายละเอียด วิสุทธิ 7 ใน

หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป

ซึ่งดาวน์โหลดได้จากเวบนี้

อยู่ที่หน้า 182 ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ธ.ค. 2551

ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมก็จะไม่รู้ว่า สมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) นั้นมีอยู่ในทุกขณะจิตโดยที่ไม่ต้องไปทำสมาธิให้เกิดขึ้นเมื่อได้ศึกษาพระธรรมจนเข้าใจเมื่อปัญญาเจริญขึ้นก็ย่อมที่จะรู้หนทางที่จะเจริญสัมมาสมาธิทั้งในอริยมรรคมีองค์ ๘ และในกุศลทุกประการ

..ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 9 ธ.ค. 2551

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

เมื่อก่อนได้ไปศึกษาพระธรรมหลายแห่ง ได้แต่จำและท่อง ที่จะเข้าใจได้ก็จะเป็นเรื่องราวของพระธรรม แล้วไม่นานก็ลืม จนได้มาฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ บรรยายพระธรรม จึงค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อยๆ ท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่าให้พิจารณาเหตุและผลจนเป็นความเข้าใจของเราเอง จะไม่ลืมค่ะ

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษาที่นำคำบรรยายท่านอาจารย์มาให้พวกเราได้ศึกษากันค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

สาธุครับ คุณพุทธรักษา และอนุโมทนาทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 14 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ