ที่ตั้งของสติ

 
พุทธรักษา
วันที่  6 พ.ย. 2551
หมายเลข  10314
อ่าน  1,009

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม ที่วัดดงเทวี อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ พ.ศ. ๒๕๔๔

ขณะที่กำลังใส่ใจใน "ลักษณะ" ที่อ่อน หรือ แข็ง เป็นต้น ขณะนั้น คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

อธิศีลสิกขา คือขณะที่เป็น "อินทรียสังวร" ที่รู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ "ขณะนั้น" ไม่ว่าขณะนั้น "จิต" จะยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ "จิต" ก็สามารถ "รู้" ในความเป็น "นามธรรมหรือรูปธรรม" ซึ่ง "ปกติ" เราจะไม่รู้ว่า พอเราลืมตาขึ้นมา เราก็มี "โลภะ" เราไม่เคยรู้ "ลักษณะของความติดข้อง" ที่ทำให้มีการกระทำต่างๆ เช่น การไหวไป ของร่างกาย เป็นต้น

แต่ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขากำลังเริ่มที่จะ เข้าใจถูก เห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สภาพธรรมที่เข้าใจถูก เห็นถูก ก็เป็นปกติ เป็นธรรมดา ปกติ ธรรมดา คือ เกิด ปรากฏ และดับไปทันที

มีสภาพธรรมที่ปรากฏทาง "กายทวาร" แล้วมี "ภวังคจิต" เกิดคั่นแล้วมีอารมณ์เกิดที่ "มโนทวาร" ทันที เป็นไปอย่างรวดเร็วมากซึ่งไม่ต้องคำนึงถึง แต่ให้รู้ว่า "ขณะนั้นสติระลึก "เพราะฉะนั้น ควรใส่ใจ "ขณะที่กำลังใส่ใจ ในลักษณะที่กำลังปรากฏให้รู้" ขณะนั้นคือ สติปัฏฐาน ที่กำลังศึกษา "ลักษณะ" ที่เป็นรูปธรรม แลนามธรรม ซึ่งเป็นขณะที่สั้นมาก

ปัญญา ที่รู้ความจริง ของสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่ใช่ ขณะที่ฟัง ขณะที่ฟัง คือ รู้เรื่องราว ทั้งๆ ที่สภาพธรรมต่างๆ กำลังปรากฏ เช่น แข็งก็มี เห็นก็มี เสียงก็มี เป็นต้น.แต่สติไม่ได้ระลึกรู้ที่ลักษณะนั้นๆ เพราะว่าขณะนั้น กำลังฟังเรื่องราว จนกว่าเมื่อไหร่ ที่สติเกิดระลึก คือ "ใส่ใจ ในลักษณะที่กำลังปรากฏ" มีความเพียรที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อย (จนกว่าจะมีกำลัง เป็นปกตู-ปนิสสยปัจจัย) ซึ่งต้องใช้เวลา ในการอบรมนานมาก เพราะเหตุว่า สติเกิดดับ อย่างรวดเร็ว (ยากเหลือเกินที่จะประจักษ์การเกิดดับได้)

ความเข้าใจเพียงนิดเดียว ว่าขณะนั้นไม่ใช่การหลงลืมสติ. ขณะนั้นเป็นสภาพธรรม คือสติ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ รู้ "ขณะที่ต่างกัน" คือ ขณะที่หลงลืมสติ และ ขณะที่สติเกิด ขณะที่สติเกิด ระลึกรู้สภาพธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่กำลังปรากฏขณะนั้น ต้องมีสภาพธรรม ที่สติกำลังระลึก สภาพธรรม ที่สติกำลังระลึก คือสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน คือที่ตั้งของสติ
"ตัวสติ" ที่ระลึก ก็เป็น สติปัฏฐาน

และสติปัฏฐานนี้ เป็น "หนทาง" ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอริยบุคคลทุกท่าน ได้ดำเนินแล้ว

ขออนุโมทนาขออุทิศกุศลแด่ คุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Noparat
วันที่ 7 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 พ.ย. 2551

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 7 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 7 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 7 พ.ย. 2551

# ขณะที่สติเกิด ระลึกรู้สภาพธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่กำลังปรากฏขณะนั้น ต้องมีสภาพธรรม ที่ สติกำลังระลึก

# สภาพธรรม ที่ สติกำลังระลึก คือ สติปัฏฐานสติปัฏฐาน คือ ที่ตั้งของสติ

# "ตัวสติ" ที่ระลึก ก็เป็น สติปัฏฐาน

และสติปัฏฐานนี้ เป็น "หนทาง" ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นและพระอริยบุคคลทุกท่าน ได้ดำเนินแล้ว

ความหมายของสติปัฎฐานจึงมี ๓ อย่าง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 8 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 8 พ.ย. 2551

ของจริง มีอยู่จริงในขณะนี้ เป็นของธรรมดา เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว แต่ปกติหลงลืมสติไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 8 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ . . .

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 พ.ย. 2551
ขอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Komsan
วันที่ 10 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ