สิ้นสภาพจากการเป็นพุทธศาสนิกชน

 
truth
วันที่  4 พ.ย. 2551
หมายเลข  10287
อ่าน  1,469

การกระทำเช่นไรที่จะทำให้คนๆ หนึ่งหมดหรือได้สิ้นสภาพจากการเป็นพุทธศาสนิกชน การปฏิเสธธรรมะข้อหนึ่งข้อใดที่พระพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้ จะถือว่าคนๆ นั้นเป็นเช่นไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 พ.ย. 2551

ควรทราบว่า พุทธศาสนิกชน คือผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ส่วนการสิ้นสภาพจากการเป็นพุทธศาสนิกชน ในอรรถกถาทั้งหลาย มีคำอธิบายไว้หลายนัยเช่น การตายจากความเป็นบุคคลนั้น หรือในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ หันไปเคารพนับถือศาสดาอื่น ชื่อว่าขาดจากสรณคมณ์ ส่วนการปฏิเสธพระธรรมคำสอนในส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็นับว่ามีโทษมากเช่นกัน ส่วนจะขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนหรือไม่ควรพิจารณาโดยละเอียด ถ้าเพียงด้วยความไม่รู้ ก็อาจจะเพียงสรณะเศร้าหมองและเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า เป็นการทำลายพระศาสนา มีโทษมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 4 พ.ย. 2551

สาธุ

ขออนุญาตเสริมความเห็นที่ 1 ด้วยมหานามสูตรดังต่อไปนี้

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

สมบัติของอุบาสก [มหานามสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
bauloy
วันที่ 5 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย ไม่มีใครที่จะสามารถเข้าใจพระธรรมได้โดยการไม่ฟัง ไม่ศึกษา เมื่อไม่มีการฟัง ไม่มีการศึกษา ความรู้ความเข้าใจย่อมจะมีไม่ได้ หรืออาจจะเข้าใจผิดไปก็ได้ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่แท้จริง ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทน มีความตั้งใจที่จะศึกษาที่จะฟังพระธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นจริง อบรมเจริญปัญญา เพื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม และมีศรัทธาที่มั่นคงในการฟัง ในการศึกษาต่อไป เพราะพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลให้ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้งทางกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นความดีในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทางที่สูงสุด คือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 6 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ . . .

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ย. 2551

นับถือพุทธแต่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น เป็นเรื่องของกรรมและวิบากที่สั่งสมอุปนิสัยมา ไม่มั่นคงในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่สำคัญไม่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 7 พ.ย. 2551

การปฏิเสธธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ย่อมจะทำให้ผู้นั้นเป็นผู้ประมาท อกุศลย่อมพอกพูน กุศลย่อมเสื่อมถอย ถ้ายิ่งผู้นั้นเป็นผู้ที่ขาดการพิจารณาใคร่ครวญเหตุผลของความจริงในชีวิต เป็นผู้ที่เชื่อง่าย คล้อยตามความเห็นผิดของผู้อื่นได้ง่าย หรือหนักไปกว่านั้น คือเป็นผู้ที่สะสมความเห็นผิดมามาก จนถึงขั้นที่ดิ่งลึกลงไป ยากที่จะไถ่ถอนย่อมจะเป็นเหตุให้ผู้นั้นกระทำการที่ไม่สมควรทางกาย วาจา เกี่ยวกับพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ซึ่งจะเป็นการก่ออกุศลกรรม ที่ย่อมจะให้ผลเป็นทุกข์โทษภัยแน่นอนในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ก็มีผู้ที่กล่าวตู่พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ วิบากอย่างหนักของวจีทุจริต ก็คือทำให้ตกนรก ส่วนวิบากอย่างเบา ก็เช่น ทำให้ปากเหม็น ครับ

คลิกฟังที่นี่ครับ --> อรรถกถา...กปิลสูตรที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การกระทำเช่นไรที่จะทำให้คนๆ หนึ่งหมดหรือได้สิ้นสภาพจากการเป็นพุทธศาสนิกชน การขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนคือ การไม่นับถือในพระรัตนตรัยอีก ซึ่งก็ด้วยการตายของปุถุชนเพราะปุถุชนยังไม่ได้นับถือพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ผู้ที่นับถือพระรัตนตรัยไม่เปลี่ยนแปลงคือ พระอริยบุคคล เมื่อพระอริยบุคคลสิ้นชีวิต ท่านก็ยังเป็นพุทธศาสนิกชนอยู่แม้ไปเกิดเป็นบุคคลใดก็ตาม แต่ปุถุชนเมื่อตายไปย่อมขาดจากการนับถือในชาตินั้น เพราะยังไม่มั่นคงในพระรัตนตรัย การขาดจากการเป็นพุทธศาสนิกชนอีกประการหนึ่ง การไปนับถือศาสนาอื่นหรือศาสดาอื่นก็ชื่อว่าขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน การขาดจากการเป็นพุทธศาสนิกชนของปุถุชนที่ตาย ไม่มีโทษ แต่การขาดโดยการไปนับถือศาสนาอื่นมีโทษมาก เพราะจะทำให้เห็นผิดและย่อมเสื่อมจากความเจริญในศาสนานี้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2551

การปฏิเสธธรรมข้อหนึ่งข้อใดที่พระพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้ จะถือว่าคนๆ นั้นเป็นเช่นไร? ความเป็นจริงของสภาพธรรมคือ ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่จิตและเจตสิก รูป พระธรรมของพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นสัจจะ เป็นจริงไม่เป็นสองคือ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ความเห็นถูกมีจริงเป็นธรรม ความเห็นผิดมีจริงเป็นธรรม ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงของธรรม (ปฏิเสธ) ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นความเห็นผิด เป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ตราบใดที่เป็นปุถุชนยังมีความเห็นผิด เพราะความเห็นผิดมีจริงมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลกทะเลาะกับพระพุทธเจ้า พระองค์แสดงว่าสภาพไม่เที่ยง ชาวโลกบอกว่าเที่ยง เพราะความไม่รู้ เพระความเห็นผิด

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ