ปกตูปนิสยปัจจัย.....สัทธาในพระธรรม และ ความเห็นผิด

 
พุทธรักษา
วันที่  8 ต.ค. 2551
หมายเลข  10084
อ่าน  1,591

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการถอดเทปการบรรยายธรรม โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ณ ตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕ โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

นอกจากนั้น บางท่าน แม้ว่าจะได้ศึกษาพระธรรม เช่น บางท่านศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ หรือพระอภิธรรมปิฎกก็สามารถที่จะเกิดความเห็นผิดได้ เพราะว่าขาดการพิจารณาไตร่ตรอง โดยละเอียด ในพระธรรมที่ได้ศึกษา เพราะฉะนั้น ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเรื่องของ ปกตูปนิสยปัจจัยก็เพื่อ "ความไม่ประมาท" จริงๆ

ถ้าขณะใด ซึ่งได้เป็นผู้ศึกษา พระอภิธรรม พระสูตรหรือพระวินัย ก็ตามแต่เกิดความเห็นผิด ความเข้าใจผิดในข้อประพฤติปฏิบัติซึ่งไม่ใช่ทางที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉทได้ให้ทราบว่า ในขณะนั้น เป็นเพราะกุศล เป็นปกตูปนิสยปัจจัยให้เกิด อกุศลจิต ไม่ใช่ว่าบุคคลนั้นไม่มีกุศลแต่บุคคลนั้นมี "กุศล คือสัทธา" ที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและมีความเข้าใจ"เรื่องราว ของจิต เจตสิก"

ตามที่อ่านแต่เป็นเพราะขาดการพิจารณา โดยละเอียด โดยถี่ถ้วนก็เป็นปัจจัยให้เกิด "ความเห็นผิด" และเมื่อมีปัจจัย ให้เกิด"ความเห็นผิด""ยึดมั่นในความเห็นผิด"ก็เป็นเพราะ "ปกตูปนิสสยปัจจัย" นั่นเอง

ท่านผู้ฟังจะเห็นได้นะคะ ว่า ผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนมีสัทธา ในพระพุทธศาสนานั้น มีหลายขั้น และถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่มี สัทธาในพระพุทธศาสนาแต่อาศัย สัทธา นั่นเองทำให้เกิดความยึดมั่น และความเห็นผิดต่างๆ ซึ่งไม่ตรงกับพระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงที่เป็นอย่างนี้ เพราะ"ปกตูปนิสสยปัจจัย"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ปริศนา
วันที่ 8 ต.ค. 2551

คุณทรงเกียรติ ทำไม คนที่ศึกษาจากพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง อรรถกถา แล้วยังมีความเห็นผิด ในข้อประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ได้อีกหรือครับ

ท่านอาจารย์ ได้ค่ะ ถ้ามิฉะนั้นการปฏิบัติก็ย่อมจะ ไม่ต่างกันไป ในตามสำนักต่างๆ .

คุณทรงเกียรติ พระธรรมวินัย (พระไตรปิฎก) ก็ใช้ชุดเดียวกันแล้วเพราะเหตุใด จึงทำให้เขาเหล่านั้น มีความเข้าใจผิดได้

ท่านอาจารย์ เพราะเคยสะสมความโน้มเอียง ที่จะเข้าใจผิดและยังไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมนั้น โดยถูกต้องได้

คุณทรงเกียรติ แล้วจะศึกษาวิธีไหน จึงจะเข้าใจถูก

ท่านอาจารย์ เทียบเคียงกับพระธรรมวินัย ทุกประการไม่ขัดข้อง สักประการเดียว.

คุณทรงเกียรติ ก็เขาผู้นั้น ศึกษาพระธรรมวินัย อยู่แล้วนี่

ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของการเทียบเคียง พระธรรมวินัย โดยละเอียด ทุกประการ ถ้าเว้นบางประการ บางประการ ไม่เทียบเคียงอย่างนั้น จะไม่เป็นเหตุให้เกิด "ความเห็นถูก" ได้เพราะว่า ยังยึดมั่นใน "ความเห็นผิด" ในส่วนที่ยังไม่ได้เทียบเคียงให้ถูกต้อง

คุณทรงเกียรติ อีกนัยหนึ่ง ที่ว่ากุศล เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลโดยปกตูปนิสสยปัจจัย.เช่น ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน บางวัน สติเกิดมาก เมื่อเกิดมาก ก็มีความพอใจมาก เกิดความโสมนัสอย่างนี้ จะชื่อว่า กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลได้หรือเปล่าครับ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่ คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 9 ต.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 9 ต.ค. 2551

คุณทรงเกียรติ อีกนัยหนึ่ง ที่ว่ากุศล เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลโดย ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน บางวัน สติเกิดมาก เมื่อเกิดมาก ก็มีความพอใจมาก เกิดความโสมนัสอย่างนี้ จะชื่อว่า กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลได้หรือเปล่าครับ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ค่ะ

ผู้ที่ไปสู่สำนักปฏิบัติต่างๆ รับข้อกำหนดหรือรูปแบบการปฏิบัติมาทำ แล้วเกิดความรู้สึกว่านิ่งได้นาน นั่งได้มาก เดินได้ทน คล้ายว่าจะหยุดคิดฟุ้งซ่านได้จริง แล้วเกิดความพอใจมาก โสมนัสมากนี้เอง การปฏิบัติผิดจึงจะยังคงมีอยู่ต่อไป เพราะเข้ากันได้ดีกับกิเลสของคนที่อยากได้ อยากมี อยากเป็นตาม ปกตูปนิสสยปัจจัยของแต่ละคน

ขออนุโมทนาคุณปริศนา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 9 ต.ค. 2551

กุศล เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลโดย ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน บางวัน สติเกิดมาก เมื่อเกิดมาก ก็มีความพอใจมาก เกิดความโสมนัสอย่างนี้ จะชื่อว่า กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 16 ต.ค. 2551

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ฯ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ค. 2553
กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ และทุกๆ ท่านค่ะ สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
panasda
วันที่ 2 ก.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ