โอชา (อาหาร) เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป

 
WS202398
วันที่  1 ต.ค. 2551
หมายเลข  10041
อ่าน  2,911

เหตุใดกล่าวว่า โอชา (อาหาร) เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ในเมื่อ อวินิพโภครูป ๘ รูป ๘ นี้ แยกกันไม่ได้เลย เป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุดที่เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกันอย่างรวดเร็ว จะมีแต่มหาภูตรูป ๔ โดยไม่มีอุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ไม่ได้เลย จึงถือว่าต่างเป็นปัจจัยการเกิดแก่กัน หรือโอชารูปเป็นปัจจัยให้เกิดรูปทั้ง ๗ และที่ว่าเป็นปัจจัยให้เกิดรูปนั้น รูปในกลาปตัวเองทั้ง ๘ รูป หรือเป็นปัจจัยให้เกิดรูปอีกรูปหนึ่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 1 ต.ค. 2551

โอชารูป (อาหารรูป) เมื่อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว จะเป็นปัจจัยให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ที่เรียกว่า อาหารชรูป (รูปที่เกิดจากอาหาร) ดังนั้นมิใช่กลาปเดิม แต่เป็นกลาปใหม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
WS202398
วันที่ 2 ต.ค. 2551

1. โอชารูป เป็นสภาวะรูปหรือไม่ เพราะรูปบางรูปก็เป็นอาหารของสัตว์หนึ่ง แต่ก็มิใช่อาหารของอีกสัตว์หนึ่ง เช่น เซลลูโลสวัวย่อยได้ แต่คนย่อยไม่ได้ ไม่ทำให้เกิดรูปใหม่

2. ถ้าจะพิจารณารูปอีก 3 คือ รูปสี รูปกลิ่น รูปรสนั้น ล้วนเป็นรูปที่ปรากฏได้ต้องเนื่องด้วยประสาทรูป ถ้าไม่มีประสาทรูป รูปทั้ง 3 นี้ก็ไม่ปรากฏ

3. ถ้าจะกล่าวว่า อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ เป็นคุณสมบัติของ มหาภูตรูปใช่หรือไม่ มิใช่ตัวรูปเดิมแท้เหมือนมหาภูตรูปหรือถ้าจะกล่าวให้ครอบคลุม ว่ารูปทั้งหมดยกเว้นมหาภูรูป เป็นคุณสมบัติของมหาภูตรูปใช่หรือไม่ ถ้าจะอุปมากับ นามธรรม มหาภูตรูปก็คือจิต รูปที่เหลือก็คือเจตสิก

4. อีกแง่หนึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือความจริงอย่างหนึ่ง ในทางเคมี รูปสสารมีความแปรปรวนตลอดเวลาไม่ช้าก็เร็ว จากสารหนึ่งเป็นสารหนึ่ง จะว่าไปคุณสมบัติการแปรสภาพเช่นนี้ ก็มีนัยคล้ายกับคุณสมบัติโอชารูป ถ้าจะกล่าวว่าโอชารูปเป็นปัจจัยให้เกิดรูปใหม่นั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่ารูปนั้นต้องมีใจครองใช่หรือไม่ เช่น เนื้อเยื่อสัตว์หรือพืชที่ถูกตัดออกมาสามารถนำมาเพาะเลี้ยงต่อได้ เจริญเติบโตได้เมื่อได้สารอาหารที่เหมาะสม

5. ในเรื่องของจิตมีภวังคจิต คำกล่าวที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่อกันไปนั้นคำว่าดับ นั้นดับอย่างไร คำว่าดับหมายความว่าอย่างไร ต่างจากคำว่าว่างหรือจบหรือสิ้นสุดหรือไม่ คำว่าจิตดับกับรูปดับมีนัยต่างหรือเหมือนกันหรือไม่

6. จิตเกิดดับมีกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดอยู่เรื่อยๆ ส่วนรูปมีปัจจัยให้เกิดหรือไม่

7. พลังงานต่างๆ เช่น ความร้อน รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ถ้าว่าเป็นรูป แต่โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่า ไม่มีลักษณะแข็งปรากฏ ถ้าถือตามหลักแล้วรูปเหล่านี้ต้องมีปฐวีธาตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่

8. การดับของรูปกับการดับของจิตเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

9. คำว่ารูปดับหมายถึงสลายเสื่อมไป หรือว่าเปลี่ยนเป็นรูปอื่น ถ้าเปลี่ยนเป็นรูปอื่นก็ใช้คำว่าดับไม่ได้ ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่ารูปไม่มีดับมีแต่แปรสภาพ คำว่าดับในทางพุทธมิใช่แปรสภาพแต่หมายถึงดับไปจริงๆ ใช่หรือไม่

10. ปัจจัยอะไรที่ทำให้รูปที่ไม่ได้เกิดจากกรรม เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก เมื่อดับไปแล้วรูปที่เกิดใหม่ที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ยังเป็นอิฐหินปูนทรายเหล็กเหมือนเดิม จิตนั้นจิตดวงก่อนเป็นปัจจัยให้กับจิตดวงต่อมา ส่วนในเรื่องรูปนั้น รูปกลาปก่อนเป็นปัจจัยให้รูปที่เกิดต่อมาหรือไม่ เพราะทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุปัจจัยไม่เกิดขึ้นลอยๆ

11. โอกาสรูปหรือช่องว่างนั้นมีเกิดดับหรือไม่ 0-0-0 ถ้ารูปตรงกลางดับก็จะเกิดโอกาสรูปอีกเป็น 0---0 จะกล่าวได้ว่า โอกาสรูปเป็นสภาวะรูปหรือไม่ ในเมื่อโอกาสรูปยืนพื้นอยู่เช่นนี้ จะว่าไปแล้วโอกาสรูปมิได้เกิดดับ แต่ถูกแทนที่ด้วยมหาภูตรูปสลับไปมาจะว่าไปมันคือความว่างที่รองรับมหาภูตรูป

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 ต.ค. 2551

1. ตอบเป็นสภาวรูป เป็นรูปที่สามารถทำให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ได้ เป็นอาหารชรูป

คือกินเข้าไปก็ทำให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ในร่างกาย

2. ถูกต้องค่ะ

3. รูปแต่ละรูปมีลักษณะของเขา มหาภูตรูปมี 4 ที่เหลือทั้งหมดเป็นอุปาทายรูป

4. โอชาเป็นอาหารชรูปที่ทำให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ ต้องกินเข้าในร่างกายสัตว์ที่มีชีวิต

ถ้าเป็นรูปภายนอกเป็นรูปที่เกิดจากอุตุทั้งหมดค่ะ

5. ดับคือไม่มี มีเกิด เกิดแล้วก็ไม่มี

6. กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดผลคือวิบาก

7. เป็นสมมติทั้งหมด ถ้าเป็นปรมัตถ คือขณะนี้มีลักษณะ เช่น สีปรากฏทางตา

8 - 9. การดับคือการไม่มีแล้ว หมดแล้ว ไม่มีเหลือเลย ผ่านมาแล้วค่ะ

10. เป็นอุตุชรูปทั้งหมดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 2 ต.ค. 2551
รูปกลาปหนึ่งสัตว์กินเข้าไปมีโอชารูปเกิดร่วมด้วย รูปกลาปเดียวกันนั้นเอาไปเป็นอาหารของพืชกลับไม่เป็นโอชารูป ฟังมันแปลกๆ นะครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kulwilai
วันที่ 3 ต.ค. 2551

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปปรมัตถ์เป็นสิ่งที่มีจริง มีธรรมที่ก่อตั้งให้เกิดรูป บาลีใช้คำว่า "สมุฏฐาน" ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร (อ่านเพิ่มเติมในปรมัตถธรรมสังเขปหน้า ๔๑๑) อาหารที่สัตว์กินเข้าไป แน่นอนต้องมีกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด ๘ รูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปอีก ๔ มีสี กลิ่น รส โอชาและโอชานี้เมื่อสัตว์กลืนกินอาหารเข้าไป ทำให้เกิดรูปที่เกิดจากโอชา คือ อาหารชรูป สัตว์ซึ่งมีใจครอง จึงมีรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ต่างจากต้นไม้มีรูปที่เกิดจากอุตุสมุฏฐานเท่านั้น ทางวิทยาศาสตร์เห็นว่าต้นไม้มีการดูดซึมสารอาหารทางรากและ เติบโตเพิ่มปริมาณเซลล์ ทำไมเมล็ดแมงลัก ๑ ช้อน เมื่อเติมน้ำแล้วปริมาณเพิ่มถึง ๑ แก้วได้ ที่กล่าวมาทั้งหมดตามความเป็นจริงก็เป็นแต่รูปปรมัตถ์ ที่ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏได้ทางตาเท่านั้น และเมื่อกระทบสัมผัสด้วยกายก็ไม่พ้น อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว และถ้าปรากฏให้รู้ได้ก็เพราะมีจิตที่เกิดขึ้นรู้ในขณะนั้น เรื่องราวต่างๆ มีได้ ก็เพราะมี จิต เจตสิก และรูปที่เป็นของจริง ที่ควรรู้ตามความเป็นจริงพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการอบรมปัญญา เพื่อละความเห็นผิดที่หลงยึดถือ จิต เจตสิกและรู้ว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง ยั่งยืนและเป็นของเรา เพราะไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ย่อมไม่รู้ถึงความเป็นธรรมแต่ละอย่าง เกิดแล้วหมดไป

ธรรมจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาคิดคาดเดาเอาเอง โดยไม่ได้ฟังพระธรรมหรือศึกษาจากผู้ที่สามารถให้เข้าใจถูกได้ เมื่อนั้นเราจะเอาวิชาการทางโลกมาปะปนไม่ตรงกับความเป็นจริง มีแต่ความสงสัย ข้อสำคัญวิชาการทางโลกไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 5 ต.ค. 2551

ธรรมจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาคิดคาดเดาเอาเอง โดยไม่ได้ฟังพระธรรมหรือศึกษาจากผู้ที่สามารถให้เข้าใจถูกได้ เมื่อนั้นเราจะเอาวิชาการทางโลกมาปะปนไม่ตรงกับความเป็นจริง มีแต่ความสงสัย ข้อสำคัญวิชาการทางโลกไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 5 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกคำตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 ต.ค. 2551

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า "อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เรารู้แล้ว มิได้บอกเธอทั้งหลาย มีมาก เพราะเหตุไร เราจึงไม่บอกเพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บอก"

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ...

เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้...มีมากเหมือนใบไม้บนต้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ถามว่า วิชาการทางโลกกับทางธรรม เรื่องรูปต่างกันอย่างไร จริงๆ แล้วคำถามมิได้เอาวิชาการทางโลกเข้ามาปนเลย เพียงแต่ยกมาอุปมาเพื่อง่ายต่อการตั้งคำถามเท่านั้นเพราะถ้าจะถามโดยมิได้อ้างความรู้ทางโลกก็ได้ ท่านกำลังพูดว่าแม้จะรู้สิ่งนี้แล้วทุกข์ก็ไม่หมดไปจริงไหม ตอบว่าจริง ถึงเช่นนั้น เรื่องกลาปอะไรพวกนี้สอนกันทำไม เรียนกันทำไม ถามจริงๆ ใครเห็นตามบัญญัติเหล่านี้ สอนกันเรียนกันเพียงว่ารูปคือสิ่งที่มิใช่สภาพรู้ก็พอแล้วดีไหม จะพูดจะเรียนกันทำไม รูป ๒๘ หรืออะไรที่พิสดารกว่านี้ ในเมื่อมิใช่ทางดับทุกข์มิใช่หรือ ตัดปัญหาไปเลย

ถาม .....

ตอบ อย่าเอาวิชาการทางโลกมาปน

ถาม...

ตอบ ไม่ควรสนใจสิ่งอื่น สนใจเฉพาะสถาพธรรมที่กำลังปรากฎ เพื่อเข้าถึงญาณ ซึ่งเป็นมรรคก็แล้วกัน

ถาม...

ตอบ การศึกษาธรรมเพื่อรู้ธรรมมิใช่เพื่อโต้วาที

ถาม อสุภสัญญา ก็มีเพื่อต้าน สุภสัญญา ถ้าคนที่เป็นอสุภสัญญาเกินไปอยู่แล้ว ไปทำอสุภสัญญา จะเป็นอย่างไร

ตอบ ....

ถาม ...

ตอบ สำนวนนั้น บัญญตินั้น ตรรกนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 ต.ค. 2551

อนุโมทนาทั้งคำถามและคำตอบล้วนแต่เป็นประโยชน์คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขอตอบคำถามอีกที ...ผิด - ถูก อย่างไร โปรดพิจารณาด้วยแล้วกันนะครับ

๑. โอชารูป เป็นสภาวรูปหรือไม่ เพราะรูปบางรูปก็เป็นอาหารของสัตว์หนึ่ง แต่ก็มิใช่ อาหารของอีกสัตว์หนึ่ง เช่น เซลลูโลส วัวย่อยได้แต่คนย่อยไม่ได้ ไม่ทำให้เกิดรูปใหม่ โอชา (อาหาร) เป็นสภาวรูป มีอายุเท่ากับการเกิด-ดับของจิต ๑๗ ขณะ เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป แต่เซลลูโลสที่บัญญัติเรียกกัน ความจริงที่ย่อยลงไปอีกก็คือ กลุ่มของรูปแต่ละกลาปมากมายนับไม่ถ้วน ที่ตาของมนุษย์ธรรมดามองไม่เห็น ทางวิทยาศาสตร์อาจจะมีความรู้ว่าน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของมนุษย์ย่อยเซลลูโลสไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรสรุปปนกับรูปธรรม ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคครับ เพราะไม่มีบอกว่า เซลลูโลส เป็นรูปธรรมที่ทำให้เกิดรูปธรรมใหม่ ไม่มีบอกว่าคนย่อยรูปธรรม ไม่มีบอกว่าสัตว์ย่อยรูปธรรม แต่ทรงแสดงว่า ธาตุไฟที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดการย่อย อาหารที่สัตว์บริโภคเข้าไปครับ โอชารูปในอาหารที่ถูกย่อยนั้นเป็นที่ตั้ง คือเป็นอาหาร สมุฏฐานให้เกิดรูปใหม่ได้

๒. ถ้าจะพิจาณารูปอีก ๓ คือ รูปสี รูปกลิ่น รูปรส นั้น ล้วนเป็นรูปที่ปรากฏได้ต้อง เนื่องด้วยปสาทรูป ถ้าไม่มีปสาทรูป รูปทั้ง ๓ นี้ก็ไม่ปรากฏ รูปทั้งสามนี้ เมื่อกระทบกับปสาทรูป แม้นั้นก็ไม่ปรากฏให้รู้ว่า มีสี มีกลิ่น มีรส ถ้าจิตไม่ เกิดขึ้นแล้วรู้รูปนั้นเป็นอารมณ์ครับ

๓. ถ้าจะกล่าวว่า อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ เป็นคุณสมบัติของมหาภูตรูปใช่หรือไม่ มิใช่ตัวรูปเดิมแท้เหมือนมหาภูตรูป หรือถ้าจะกล่าวให้ครอบคลุม ว่ารูปทั้งหมดยกเว้นมหาภูตรูปเป็นคุณสมบัติของมหาภูตรูปใช่หรือไม่ ถ้าจะอุปมากับนามธรรม มหาภูตรูปก็คือจิต รูปที่เหลือก็คือเจตสิก

มหาภูตรูป ๔ ก็มีลักษณะเฉพาะมหาภูตรูป ๔ เช่น ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) จะมีลักษณะที่ อ่อน-แข็งปรากฏให้รู้ได้ทางกาย ส่วนอุปาทายรูป ก็มีลักษณะเฉพาะของอุปายทายรูป เช่น วัณโณธาตุ (สี) มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ทางตา แต่ทางกายรู้อุปาทายรูปที่เป็นสี ไม่ได้ เพราะฉะนั้น คุณสมบัติของมหาภูตรูปกับอุปายทายรูปจึงต่างกัน ไม่ปะปนกันครับ

๔. อีกแง่หนึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือความจริงอย่างหนึ่ง ในทางเคมี รูปสสารมี ความแปรปรวนตลอดเวลา ไม่ช้าก็เร็วจากสารหนึ่งเป็นสารหนึ่ง จะว่าไปคุณสมบัติการแปรสภาพเช่นนี้ ก็มีนัยคล้ายกับคุณสมบัติโอชารูป ถ้าจะกล่าวว่าโอชารูปเป็นปัจจัยให้เกิดรูปใหม่นั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่ารูปนั้นต้องมีใจครอง ใช่หรือไม่ เช่น เนื้อเยื่อสัตว์ หรือ พืช ที่ถูกตัดออกมาสามารถนำมาเพาะเลี้ยงต่อได้ เจริญเติบโตได้เมื่อได้สารอาหาร ที่เหมาะสม สารอาหารที่ศึกษาว่าเหมาะสมของพืชนั้น ความจริงแล้วเนื่องด้วยอุตุสมุฏฐานทั้งหมด ครั

๕. ในเรื่องของจิตมีภวังคจิต คำกล่าวที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่อกันไปนั้นคำว่าดับ นั้น ดับอย่างไร คำว่าดับหมายความว่าอย่างไร ต่างจากคำว่าว่างหรือจบหรือสิ้นสุดหรือไม่ คำว่าจิตดับกับรูปดับ มีนัยต่างหรือเหมือนกันหรือไม่ ดับ คือหมด ไม่เหลือ สูญไปทั้งหมดจะใช้คำไหนก็ได้ จิตดับ รูปดับก็โดยนัยข้างต้น แต่รูปดับช้ากว่าจิต

๗. พลังงานต่างๆ เช่น ความร้อน รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ถ้าว่าเป็นรูปแต่โดย ทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่า ไม่มีลักษณะแข็งปรากฏ ถ้าถือตามหลักแล้วรูปเหล่านี้ต้องมีปฐวี ธาตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่

กลุ่มของรูปทุกๆ กลาป จะไม่ขาดปฐวีธาตุ แต่พลังงานต่างๆ ที่คิดขึ้นนั้นเป็นการสมมติ คำเพื่อให้รู้กันว่าคืออะไร แท้ที่จริงไม่พ้นไปจากรูปธรรมที่ปรากฏให้รู้ได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าไม่มีรูปธรรมและนามธรรม แม้บัญญัติก็ไม่มี

๘. - ๙. คำตอบเดียวกับ ข้อ. ๕ ครับ

๑๐. ปัจจัยอะไรที่ทำให้รูปที่ไม่ได้เกิดจากกรรม เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก เมื่อดับไปแล้วรูปที่เกิดใหม่ที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ยังเป็น อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็กเหมือนเดิม จิตนั้นจิตดวงก่อนเป็นปัจจัยให้กับจิตดวงต่อมา ส่วนในเรื่องรูปนั้น รูปกลาปก่อนเป็น ปัจจัยให้รูปที่เกิดต่อมาหรือไม่ เพราะทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่เกิดขึ้นลอยๆ กลุ่มของรูปมากมายทยอยกันเกิดขึ้น - เจริญ - เสื่อม - แล้วก็ดับไป รูปที่ไม่มีใจครองมีเพียงอุตุเป็นสมุฏฐาน (เว้นรูปของอสัญญสัตตาพรหม)

๑๑. โอกาสรูปหรือช่องว่างนั้นมีเกิดดับหรือไม่ 0-0-0 ถ้ารูปตรงกลางดับก็จะเกิด โอกาส รูปอีกเป็น 0---0 จะกล่าวได้ว่าโอกาสรูป เป็นสภาวรูปหรือไม่ในเมื่อโอกาสรูปยืนพื้นอยู่เช่นนี้ จะว่าไปแล้วโอกาสรูปมิได้เกิดดับ แต่ถูกแทนที่ด้วย มหาภูตรูปสลับไปมาจะว่า ไปมันคือความว่างที่รองรับมหาภูตรูป

ปริจเฉทรูป คือ อากาสรูปซึ่งคั่นอยู่ระหว่างกลาปทุกๆ กลาป ทำให้รูปแต่ละกลาปไม่ติดกัน ไม่ว่ารูปจะปรากฏเล็กใหญ่ขนาดใดก็ตาม ให้ทราบว่ามีอากาสรูปคั่นอยู่ระหว่าง ทุกๆ กลาปอย่างละเอียดที่สุด ทำให้รูปแต่ละกลาปแยกออกจากกันได้ ถ้าไม่มีปริจเฉท รูปคั่นแต่ละกลาป รูปทั้งหลายก็ติดกันหมดแตกแยกกระจัดกระจายออกไม่ได้เลย แต่แม้รูปที่ปรากฏว่าใหญ่โต ก็สามารถแตกย่อยออกได้อย่างละเอียดที่สุดนั้น ก็เพราะมี

อากาสธาตุ คือ ปริจเฉทรูป คั่นอยู่ทุกๆ กลาปนั่นเอง ฉะนั้นปริจเฉทรูปจึงเป็นอสภาวรูป อีกรูปหนึ่งซึ่งไม่มีลักษณะเฉพาะของตนที่เกิดขึ้นต่างหาก แต่เกิดคั่นอยู่ระหว่างกลาป ต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันนั่นเอง (น. ปรมัตถธรรมสังเขปหน้า ๙)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
WS202398
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขอขอบคุณ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
bug
วันที่ 7 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ