โวฏฐัพพนะ-มโนทวาราวัชชนจิต


    ผู้ฟัง มโนทวาราวัชชนจิตก็เป็นมนสิการเจตสิก ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก

    อ.อรรณพ เพราะว่าที่คุณสุกิจกล่าวก็คือมนสิการ แน่นอนมนสิการเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก แค่จิตเห็น มนสิการนั้นก็คือใส่ใจในอารมณ์ก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา เพียงความเป็นวิบากจิต และวิบากเจตสิกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา เพราะฉะนั้นมนสิการเจตสิกก็เป็นเพียงเกิดขึ้นที่จะกระทำให้จิตนั้นใส่ใจในอารมณ์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นมนสิการเจตสิกที่เกิดกับอกุศล มนสิการนั้นเป็นอโยนิโสมนสิการเพราะไม่แยบคายแล้วที่จะเป็นอกุศล ขณะที่เป็นอกุศลต้องไม่แยบคาย แต่ไม่แยบคายด้วยความเป็นอกุศลที่เป็นความติดข้อง แล้วก็มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ฉะนั้นก็เป็นอโยนิโสมนสิการที่เกิดกับโลภเหตุ แล้วก็มีทิฏฐิสัมปยุตต์ด้วย เพราะฉะนั้นในขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นเป็นอโยนิโสมนสิการ แต่ถ้าเราจะพูดถึงว่าก่อนที่ชวนะที่เป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ซึ่งเป็นอโยนิโสมนสิการจะเกิด จิตก่อนหน้านั้นก็คือมโนทวาราวัชชนจิตซึ่งทำกิจอาวัชชนะทางมโนทวาร และทำกิจโวฏฐัพพนะทางปัญจทวารตามการสะสม แม้ว่าจะเป็นกิริยาจิตแต่ก็กระทำทางให้ชวนะเกิดเป็นโลภะ แล้วก็เป็นโลภะที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แล้วมนสิการนั้นก็ไม่แยบคายเป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้นทุกประการที่พระองค์ทรงแสดงสอดคล้องกันหมดเป็นในขณะเดียวกันบ้าง หรือว่าเป็นปัจจัยกันโดยต่างขณะบ้างนั่นก็คือลักษณะของสัมปยุตตธรรมในขณะที่เกิดขึ้นในขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้น และก่อนที่โลภมูลจิตจะเกิดขึ้นนั้น ก็ต้องมีชวนปฏิปาทกมนสิการก็คือมโนทวาราวัชชนจิตนั่นเอง

    อ.วิชัย ที่ว่ากล่าวถึงโวฏฐัพพนะใช่ไหม กล่าวถึงว่าเหตุใกล้ของกุศลก็คือโยนิโสมนสิการ บางแห่งก็มุ่งหมายถึงโวฏฐัพพนะ แต่ถ้าพิจารณาจริงๆ ที่เป็นโยนิโสมนสิการจริงๆ ก็ต้องหมายถึงขณะที่เป็นกุศล แต่ว่าถ้าพูดถึงเหตุใกล้ก็คือก่อนจิตโดยสภาพของโวฏฐัพพนะเป็นชาติกิริยา เพราะฉะนั้นตัวสภาพที่เป็นโยนิโสก็เป็นกุศลจิต

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130


    หมายเลข 9160
    26 ม.ค. 2567