จิต-ปัณฑระ-ประภัสสร-ภวังค์


    ผู้ฟัง ตอนนี้เรารู้จักคำว่า “จิต” คือปฏิสนธิจิต และภวังค์ เรียนถามว่าจิตที่ชื่อว่า “จิต เพราะ ปัณฑระ” หมายความว่าอย่างไร ต่างกับ “ภวังค์” และ “ปภัสสร” อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นชื่อของจิตตามสภาพของจิต เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ถ้าเราเข้าใจ ลักษณะของธรรมก่อนแล้วก็รู้ชื่อนั้นๆ ก็จะดีกว่าการที่เราได้ยินชื่อก่อน แล้วก็หาดูว่า ได้แก่จิตอะไร

    เพราะฉะนั้น สำหรับคำถามของคุณสุรีย์เราได้ยินคำว่า “ปภัสสร” หรือ “ปภัส สรํ” หรือ “ปัณฑระ” ๒ ชื่อ แล้วก็จิตด้วย เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงสิ่งที่มีจริง เราก็จะมีคำที่ ทำให้เราเข้าใจความต่างของจิตแต่ละประเภท หรือจิตแต่ละขณะ เช่น จิตใดก็ตามที่ เกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกก็ไม่ใช่จิต แยกกัน สำหรับคำว่า “ปัณฑระ” เป็นชื่อของจิตซึ่งแสดงว่าขณะนั้นได้กล่าวถึงเฉพาะสภาพรู้ เท่านั้น ไม่รวมถึงสภาพของเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราศึกษาธรรมจะแยกจิตกับเจตสิกอย่างไร จิตเป็นสภาพที่ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จิตไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเลย เพราะฉะนั้นเวลาที่จิต ๑ ขณะเกิดขึ้นประกอบด้วยเจตสิกต่างๆ เจตสิกต่างๆ ทำกิจ ของเจตสิกนั้นๆ ที่เกิดพร้อมกับจิตในขณะนั้น แต่สำหรับตัวจิตเองเป็นสภาพที่เป็น ใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์อย่างเดียวจึงใช้คำว่า “ปัณฑระ” หมายความว่า เป็นลักษณะของจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจิตใดก็ตาม ลักษณะของจิต เฉพาะจิตเป็น สภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต คือ ปัณฑระ อันนี้มีข้อสงสัยไหม

    จิตทุกประเภทเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะฉะนั้นเวลากล่าว ถึงลักษณะของจิตโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จิตนั้นจะเศร้าหมองหรือ ผ่องใสยังไม่ได้ เพราะเหตุว่าลักษณะของจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ ถ้าเป็นความติดข้องเป็นลักษณะของเจตสิก ถ้าเป็นความขุ่นเคืองขณะนั้นก็เป็นลักษณะ ของเจตสิก เพราะว่าตัวจิตไม่ได้ขุ่นข้อง และก็ไม่ได้ติดข้อง แต่จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะนั้นเมื่อกล่าวเฉพาะจิตจึงใช้คำว่า “ปัณฑระ”

    ผู้ฟัง อาจารย์หมายความว่าขณะนั้นไม่ได้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ มิได้ ถึงมีก็ไม่ได้กล่าวถึง กล่าวถึงเฉพาะจิตล้วนๆ เฉพาะจิตเท่านั้นว่า จิตเอง ไม่ได้เศร้าหมองหรือผ่องใส แต่ว่าอาศัย เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำให้จิตนั้นมีลักษณะ ต่างๆ

    เพราะฉะนั้นลักษณะของจิตจริงๆ เป็นปัณฑระ คือ ไม่มีกิเลสใดๆ เฉพาะจิต เท่านั้น ขาวสะอาด ถ้าพูดถึงอกุศลจิตหมายความว่าจิตนั้นมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงเป็นอกุศลจิต แต่ตัวจิตไม่ว่าจะเมื่อไรยังไงก็ตามเป็นปัณฑระ เพราะเหตุว่าไม่ได้ กล่าวถึงลักษณะของเจตสิกต่างๆ ฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดี แต่กล่าวถึงเฉพาะลักษณะสภาพ ของจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์

    เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงปัณฑระ จิตทุกประเภท อกุศลจิต ตัวจิตเป็นปัณฑระ กุศลจิต ตัวจิตก็เป็นปัณฑระ เพราะเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ วิบากจิต ตัวจิตก็เป็นปัณฑระ กิริยาจิต ตัวจิตก็เป็นปัณ ฑระ เพราะเหตุว่ากล่าวถึงลักษณะของจิตเพื่อให้เห็นความต่างของจิต และเจตสิก เมื่อ เจตสิกแต่ละอย่าง มีลักษณะ มีกิจเฉพาะของเจตสิกนั้นๆ ลักษณะของจิตก็มีลักษณะ เฉพาะของจิต คือ เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นอารมณ์นั่นเอง นี่คือความหมายของปัณฑระ

    ส่วนอีกคำหนึ่งคือ “ปภัสสร” หรือ “ปภัสสรํ” หรือ “ปภัสสระ” หมายถึง ภวังคจิต และกุศลจิต ซึ่งขณะนั้นเป็นจิตที่ไม่มีอกุศลเกิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นภวังคจิตของคน ของเทพ ของสัตว์เดรัจฉาน อกุศลจิตไม่เกิดร่วมกับปฏิสนธิจิตหรือภวังคจิตเลย แต่ ภวังคจิตทุกประเภท ทุกภูมิเป็นประภัสสรทั้งหมด เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่มีอกุศล เจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง และไม่รู้อารมณ์ภายนอกหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วถ้าจะศึกษาธรรม ศึกษาจากชีวิตจริงๆ ว่า เมื่อปฏิสนธิจิตเกิด และดับไป วิถีชีวิตเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้น แล้วแต่ว่าจะมีการเห็น จะมีการได้ยิน จะมีการคิดนึก จะมีกุศล จะมีอกุศลใดๆ ก็เกิดมาเพราะเมื่อปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกดับแล้ว ต่อ จากนั้นก็เริ่มดำเนินชีวิตไปตามกรรม และตามการสะสมที่ได้สะสมมา ซึ่งเราจะเห็นได้ แม้ว่าเราเกิดด้วยผลของกุศลกรรม จิตที่ทำกิจปฏิสนธิซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม คือ มหา วิบาก หรือกามาวจรวิบาก ซึ่งเป็นผลของกุศลซึ่งเป็นไปในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เราจะอยู่ในกามภูมิ ตราบใดที่จิตไม่สงบถึงขั้นฌานจิต แล้วยังไม่เสื่อมก็ไม่มี โอกาสที่จะไปเกิดในภูมิอื่น คือรูปพรหมภูมิ หรืออรูปพรหมภูมิ ก็ยังคงเกิดในกามภูมิ แล้วแต่กรรม ว่ากามภูมิก็จริง แต่เป็นผลของกุศลกรรม หรือเป็นผลของอกุศลกรรม ถ้า เป็นผลของอกุศลกรรมจะไม่เกิดเป็นมนุษย์ จะไม่เกิดในสุคติภูมิ จะไม่เกิดเป็นเทพ ๖ ชั้น แต่จะเกิดในอบายภูมิ ๔ ภูมิ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดในนรกนั่นเป็นผลของอกุศลกรรม

    ปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นวิบากจิตไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่าสามารถจะมี โสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยตามสมควรสำหรับผลของกุศลกรรมที่มีกำลังพอ ที่จะปฏิสนธิ ด้วยกามาวจรวิบาก แต่เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ขณะนั้นปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับ จิตใกล้จุติของชาติก่อน ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ที่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในโลกนี้เลย เพราะฉะนั้นอารมณ์นั้นจึงไม่ปรากฏ เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดสืบต่อเป็น จิตประเภทเดียวกัน ยังไม่มีอกุศลใดๆ ยังไม่มีการรู้อารมณ์อื่นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นในขณะที่หลับสนิท

    นี่เป็นการพิสูจน์ว่าตอนหลับมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า ไม่มีเลย เพราะ ฉะนั้นจึงเป็นปภัสสรหรือปภัสสรํ เพราะเหตุว่ายังไม่มีอกุศลจิตเกิดร่วมด้วย แต่ว่าชีวิตจะ ต้องดำเนินไปหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดสืบต่อจนกว่าจะมีกาลที่ วิบากกรรมจะให้ผลทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ว่าเราจะไม่พูดถึง วาระแรก คือ จะต้องมีวิถีจิตซึ่งมีการติดข้องในภพภูมิเป็นโลภะเกิดขึ้นก่อน อันนี้ก็ผ่าน ไป แต่ให้ทราบว่าตลอดชีวิตของเราก็จะไม่พ้นจากภวังคจิต เพราะเหตุว่าไม่ใช่ภวังคจิต เกิดสืบต่อจากปฏิสนธิจิตตลอดไป จะต้องมีภวังคจิตซึ่งเป็นภวังค์ขณะสุดท้าย และก็มี การรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเกิดสืบต่อ เป็นชีวิต ประจำวัน

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112


    หมายเลข 7870
    22 ม.ค. 2567