ปัจจัย และ ปัจจยุบบัน


    เวลากล่าวถึงปัจจัยต้องมีปัจจยุบบัน เวลาที่กล่าวถึงปัจจยุบบันก็ต้องรู้ว่ามาจากปัจจัยอะไร เพราะฉะนั้นเวลาที่กล่าวถึงปัจจยุบบันก็ต้องกล่าวว่าขณะไหนอย่างไร

    เพราะฉะนั้นสำหรับสหชาตกัมมปัจจัยที่เกิดกับวิบากจิต เจตนาเป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่อะไร ต้องมีปัจจยุบบันด้วย ถ้ากล่าวถึงปัจจัยแล้วไม่มีปัจจยุบบันไม่ได้ แต่ถ้ากล่าวถึงปัจจัยแล้วต้องอะไรเป็นปัจจยุบบัน ฉะนั้นแมื่อกล่าวถึงวิบากจิตมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอนใช่ไหม โดยปัจจัยอะไร สหชาตกัมมปัจจัยแก่อะไร แก่จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้นจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นปัจจยุบบันของเจตนาเจตสิกซึ่งเป็นสหชาตกัมมปัจจัย เพราะทั้งหมดเกิดพร้อมกันทั้งเจตนาด้วยซึ่งเป็นปัจจัย และจิต และเจตสิกอื่นซึ่งเป็นปัจจยุบบันก็เกิดพร้อมกันจึงเป็นสหชาตกัมมปัจจัย แต่ถ้าขณะนั้นเป็นวิบากจิตที่เกิดเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว สำหรับกรรมที่ได้กระทำแล้วที่ดับไปแล้วเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยแก่อะไร แก่วิบากซึ่งเกิด แต่ถ้าวิบากยังไม่เกิดจะกล่าวว่าเป็นนานักขณิกกัมมะยังไม่ได้ เพราะเหตุว่าเมื่อเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยต้องมีปัจจยุบบัน เมื่อวิบากจิตเกิด มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม เกิดร่วมด้วย เป็นปัจจัยอะไร สหชาตกัมมปัจจัยแน่นอน กิริยาจิตเกิดขึ้นมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตนาเจตสิกเป็นกรรม เพราะฉะนั้นเจตนาเจตสิกที่เกิดกับกิริยาจิตเป็นปัจจัยโดยเป็นกัมมปัจจัยประเภทไหน สหชาตกัมมปัจจัย

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 109


    หมายเลข 7780
    22 ม.ค. 2567