จักขุปสาท เป็น อินฑริยปัจจัย โดยเป็นจักขุนทรีย์


    เช่น “จักขุปสาท” ไม่ใช่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ไร้ความหมาย แต่ว่าเป็นปัจจัยโดยเป็น “อินทรีย์” หรือ “อินทรียปัจจัย” เป็น “จักขุนทรีย์” เป็นรูปซึ่งเป็นใหญ่ในการที่จะให้ “จักขุวิญญาณ” เกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่มีโสตปสาท ไม่มีฆานปสาท ไม่มีชิวหาปสาท และไม่มีกายปสาท รูปนี้จะเหมือนอะไรคะ ท่อนไม้ ไม่เห็นอะไร ไม่ได้ยินอะไร ไม่ได้กลิ่นอะไร ไม่ได้ลิ้มรสอะไร ไม่รู้การกระทบสัมผัส “ไม้” นี้ ไม่รู้อะไรเลย ใครจะใช้ “ไม้” ทำอะไร “ไม้” ไม่มีความรู้สึก ไม่มีมีการรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัส

    เพราะฉะนั้นถ้าสัตว์ บุคคล ไม่มีจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท จะทำอะไรได้ไหม จะต่างอะไรกับท่อนไม้

    เพราะฉะนั้นรูปเหล่านั้นเป็นปัจจัยโดยเป็น “อินทรียปัจจัย” เป็นใหญ่เฉพาะในกิจของตน คือ จักขุปสาท เป็นใหญ่ในการที่จะให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา รูปอื่นไม่สามารถจะกระทำกิจนี้ได้ และสิ่งที่ปรากฏทางตา จะเห็นชัดเจนหรือเห็นไม่ชัด ก็แล้วแต่ความใส ลักษณะของจักขุปสาทนั้นอีก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนา หรือความต้องการของใครเลย แต่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของการเห็น คือ จักขุปสาท

    เพราะฉะนั้นสภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดโดยปัจจัยต่างๆ


    หมายเลข 7378
    21 ส.ค. 2558