จิตชาติกุศลเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา กับ ตัตตรมัชฌัตตตา


    ผู้ฟัง ในกรณีที่จิตที่เป็นชาติกุศล จะมีเจตสิกที่ประกอบคือตัตรมัชฌัตตตา เหมือนกับแปลว่าเป็นอุเบกขา ก็ไม่ทราบว่าถ้าเกิดกับจิตที่เป็นโสมนัสแล้ว จะสอดคล้องกันอย่างไร

    อ.อรรณพ จิตที่ดีทุกประเภทต้องมีตัตรมัชฌัตตตาเป็นกลาง ไม่เอนเอียง เพราะถ้าเป็นอกุศลจะต้องเอนเอียง ไม่ตรง เพราะฉะนั้นเวทนาก็เรื่องหนึ่ง เช่น ในขณะที่เราทานอาหารที่รสปานกลาง ก็อาจจะมีโลภะติดในรสนั้นด้วยอุเบกขาเวทนา แต่ในขณะที่เรามีกุศลจิตเกิด ถ้าเป็นโสมนัส เช่นคำถามที่ถาม ขณะนั้นโสมนัสเพราะฟังธรรมแล้วเข้าใจมีสติ มีปัญญาด้วย แล้วก็เวทนาก็เป็นโสมนัส ตัตรมัชฌัตตตาก็เกิดร่วมด้วยอยู่แล้วที่จะเป็นกลางด้วยความเป็นกุศล เพราะนั่นเป็นลักษณะสภาพธรรมที่ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ก็ขอเพิ่มเติมเพราะเหตุว่าโดยมากเมื่อพูดถึงโสมนัสเราคิดว่าต้องโสมนัสมากเลยใช่ไหม ดีใจใหญ่โต เพราะคิดว่านั่นคือโสมนัสเวทนา แต่ถ้าขณะนั้นเป็นความแช่มชื่นของจิต ลักษณะของความรู้สึกต่างกันแล้วกับอุเบกขาใช่ไหม เพราะปกติอุเบกขาก็มีเป็นประจำ วันหนึ่งๆ ก็เป็นอุเบกขามาก แต่ว่าขณะใดที่จิตใจรู้สึกแช่มชื่นแม้เพียงเล็กน้อย ขณะนั้นก็ต่างกับขณะที่เป็นอทุกขมสุข หรืออุเบกขา เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนาประกอบด้วยปิติ เป็นไปได้ไหมเช่นเวลาที่เรามีความเมตตา ไม่ตกไปในทางฝ่ายโลภะ หรือโทสะในบุคคลที่เรากำลังพบ และขณะนั้นจิตของเราก็แช่มชื่นด้วย ขณะนั้นไม่ถึงกับต้องโสมนัสมากมาย แต่ขณะนั้นก็ไม่ใช่อุเบกขา

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55


    หมายเลข 6574
    19 ม.ค. 2567