ตราบใดที่ยังมีนามชีวิตินทริย ตราบนั้นก็ยังมีมนินทรีย์


    เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า  ตราบใดที่ยังมีนามชีวิตินทรียะ  คือ  เจตสิก  ก็มีนามธรรมอื่น  เช่น อินทรีย์ที่ ๙  มนินทรีย์   ที่ใจหรือจิตเป็นใหญ่  เป็นมนินทรีย์  ก็เพราะเหตุว่าเป็นที่ตั้งที่เกิดของนามธรรมอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย  ถ้าไม่มีจิต  เจตสิกอื่น ๆ ก็เกิดไม่ได้   เพราะฉะนั้นสภาพของจิตจึงเป็นใหญ่  เป็นอินทรีย์  เป็นมนินทรีย์

    และถ้าท่านผู้ฟังจะสังเกตต่อ ๆ ไป   จะเห็นได้ว่า  เมื่อกล่าวโดยปรมัตถธรรม  ทรงใช้พยัญชนะว่า  จิตปรมัตถ์   แต่ในบางครั้งจะใช้คำว่า  มโน  หรือถ้าเป็นอินทรีย์   ก็จะใช้คำว่า  มนินทรีย์  เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับทวารอื่น  เช่น  จักขุนทรีย์เป็นจักขุทวาร  โสตินทรีย์เป็นโสตทวาร

    แต่นอกจากนั้นจิตนั้นเอง  แต่ว่าเมื่อรู้แจ้งอารมณ์  ซึ่งเป็นธาตุที่รู้แจ้งอารมณ์ทางหนึ่งทางใด   ในทวารหนึ่งทวารใด   ก็ใช้คำว่า  วิญญาณ  เช่น  จักขุวิญญาณ  โลภมูลจิต  ไม่ใช่จิตเห็น  เพราะฉะนั้นไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์   ซึ่งกำลังปรากฏให้เห็นทางตาในขณะนี้   ในขณะที่รูปารมณ์กำลังปรากฏทางตา   จิตซึ่งรู้แจ้ง  คือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา  ทรงใช้พยัญชนะว่าจักขุวิญญาณ  เพื่อให้รู้ว่า  เป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ทางทวารไหน  ถ้าเสียงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ปรากฏเพราะจิตประเภทหนึ่งกำลังได้ยิน  คือรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ   เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าโสตวิญญาณ

    นี่ก็เป็นสิ่งเล็ก ๆ  น้อย ๆ   ซึ่งถ้าท่านผู้ฟังสังเกต   ก็จะได้เหตุผลว่า   เพราะเหตุใดจึงใช้จิตปรมัตถ์   เพราะเหตุว่าหมายความถึงจิตทุกชนิดทุกประเภท   เป็นสภาพรู้  แต่ที่ใช้คำว่าวิญญาณ   เพราะเหตุว่าเป็นสภาพที่รู้แจ้งทางทวาร   เช่นทางตา  จิตที่เห็นเป็นจักขุวิญญาณ   เมื่อมี ๖ ทวาร  เพราะฉะนั้นเวลาที่จะใช้คำที่มีความหมายของจิตที่เนื่องกับทวาร   ก็ใช้คำว่า  มโนทวาร   หรือว่ามโนวิญญาณธาตุ   เป็นต้น


    หมายเลข 5921
    27 ส.ค. 2558