กายคตาสติโดยนัยของสมถะ - วิปัสสนา


    ส.   ยังสงสัยไหมคะ เพราะฉะนั้น สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยสาวก จะทำ

    อย่างไร คะ เจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่จะให้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า แล้วก็มีการที่จะ เข้าใจซาบซึ่งในพระคุณของพระรัตนไตร ยิ่งขึ้น มีความสงบ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ  

    ผู้ฟัง    คะ ดิฉันเคยทราบมาว่า ก็มีอนุสติ ๑๐ ใช่ไหมคะ เมื่อท่านอาจารย์พูด เมื่อครั้งก่อนนี้ ก็พูดถึงว่า ท่านพระมหานามะไปทูลถามพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้า ก็พูดถึงว่า ตรัสถึงว่าอนุสติ ๖ คะ คือว่า พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ แล้วก็ สีลานุสติ แล้วก็จาคานุสติ เทวดานุสติ แล้วทีนี้อีก ๔ นั้นดิฉันขอความกรุณาให้อาจารย์ ต่อให้จบเลย จะได้เข้าใจ

     ส.   มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ

     

    ผู้ฟัง    มรณานุสติ แล้วก็อะไรอีก นะคะ

     .   กายคตาสติ

    ผู้ฟัง    กายคตาสติ

    ส.   อานาปานสติ อุปสมานุสติ การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน

    ผู้ฟัง    สำหรับ กายา  กายคตาสติ ดิฉันจะขอเรียนถามถึง กายคตาสติ คือหมายความว่าขณะที่เราเจริญญสติ นี่ ระลึกที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แล้วก็การสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตรึงไหว เป็นกายานุสติหรือยัง

    ส.   กายคตสติ นะคะ มี ๒ นัยยะ คำว่า กายคตสติ คือ สติซึ่งระลึกเป็นไปในกาย โดยนัยยะของวิปัสสนาแล้ว กายคตสติ หมายถึง กายานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด แต่ว่าโดยนัยยะของสมถะ แล้ว กายคตาสติ หมายความถึง สติที่ระลึกที่ส่วนของกาย ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดความสลดสังเวช หรือความสงบ เช่นระลึกที่ผม ส่วน ๑ ขน เล็บ ฟันหนัง ทีละลักษณะ ที่ละส่วน ให้เห็นความไม่งาม หรือว่าความเป็นปฏิกูล ของสิ่งที่เคยยึดถือ เคยพอใจอย่างมาก นั้นโดยนัยยะของสมถภาวนา


    หมายเลข 5060
    21 ส.ค. 2558