ผู้ที่จะสงบได้ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ


    ส.   ไม่ทราบท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยในเรื่อง สมถภาวนาบ้างไหมคะ เพราะเหตุว่าในขณะนี้กำลังพูด ถึงเรื่องการเจริญสมถภาวนา ความสงบของจิต เพราะว่า โดยศัพท์ที่จะให้เข้าใจได้ สมถะคือความสงบ แต่ไม่ใช่ด้วยความพอใจของคน ๑ คนใด ต้องเป็นลักษณะที่สงบจริงๆ จากทั้งโลภะ ทั้งโทสะ และทั้งโมหะ ถ้าท่านชอบอยู่คนเดียว ชอบ นะคะ อย่าลืมชอบอยู่คนเดียว เป็นความสงบไหมคะ ท่านอาจจะคิดว่า ชีวิตของท่านสงบมาก ไม่มี ใครมาวุ่นวายเลย ท่านชอบ ท่านพอใจ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สมถะ ไม่ใช่ความสงบในขณะนั้น คะ เป็นโลภมูลจิต เพราะฉะนั้น ความสงบที่แท้จริงอย่าลืม จากโลภะ โทสะ และโมหะ  เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสงบได้ ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ  ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ถึงท่านจะพากเพียร ทำอะไรก็ตาม  ปัญญาไม่เกิดขึ้น ที่จะรู้ว่าขณะนั้น สงบ หรือเปล่า หรือว่ากำลังพอใจ กำลังแสวงหา กำลังต้องการ กำลังติด ในสิ่งที่ท่านกำลังพากเพียรกระทำอยู่ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่ใช่ความสงบ ไม่ใช่สมถะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสงบได้ และเจริญความสงบให้ยิ่งขึ้น ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะรู้ลักษณะของ จิตในขณะนั้นว่า จิตที่สงบจริงๆ ต่างกับจิตที่ไม่สงบอย่างไร จิตที่เป็นกุศล สงบไหม จิตที่เป็นอกุศล สงบหรือไม่สงบ เช่นโลภะ เป็นต้น  แม้ว่าจะไม่ใช่โลภะอย่างแรงที่จะปรากฏให้เห็นเป็นความเดือดร้อน ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย  แต่ว่า ลักษณะนั้นไม่ใช่ความสงบ เพราะฉะนั้น ขณะนี้คะ กุศลขั้นไหนเกิด ธรรมสำหรับปฏิบัติ พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติได้ ทุกขั้น ถ้าสติเกิดขึ้น กำลังระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ  และน้อมไปศึกษา รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ  ขณะนั้นสงบไหมคะ สงบหรือไม่สงบ ถ้าสงบ เป็นสมถะ ไหม ต้องตรง ต้องจริงต่อสภาพธรรม เมื่อเข้าใจแล้ว สมถะ หมายความถึง ความสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ เวลาที่สติเกิด แล้วเป็นสติปัฏฐาน เพราะกำลังระลึกแล้วศึกษาษน้อมไปสู่วามเข้าใจ และความรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรม นั้น ขณะนั้นสงบไหมคะ สงบ  เป็นสมถะไหม  เป็น เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘ จึงมีทั้ง สมถะ และวิปัสสนา


    หมายเลข 5061
    19 ส.ค. 2558