เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง


    เวลาที่จิตเกิดที่จะปราศจากความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้เลย แค่นี้ค่ะ คือต้องค่อยๆ ฟังให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ถ้าจะพูดถึงเรื่องความรู้สึก ก็ต้องเข้าใจว่ามี แล้วก็มีเกิดกับจิตทุกขณะด้วย ไม่เว้นเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย ใครจะรู้หรือไม่รู้ ก็จะต้องมีสภาพความรู้สึกเกิดกับจิต

    ซึ่งความรู้สึกมี ๓ อย่าง หรือ ๕ อย่าง ถ้าแยกเป็นทางกาย กับทางใจ ถ้าไม่แยกเป็นทางกายทางใจก็มี สุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขาหรืออทุกขมสุข ไม่สุขไม่ทุกข์ ๑ นี่ไม่แยก แต่ถ้าแยกก็แยกเป็น สุข ๑ หมายความถึงความรู้สึกสบายทางกาย ทุกข์ ๑ ความไม่สบายทางกาย โสมนัส ความสบายใจ แม้ว่ากายอาจจะเป็นทุกข์ แต่ใจไม่เดือดร้อน

    ก็เป็นโสมนัสเวทนา ความรู้สึกสบายใจ ๑ โทมนัสเวทนา ความรู้สึกไม่สบายใจ แม้ว่ากายไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เดือดร้อนเลย แต่ใจเป็นทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เป็นโทมนัสเวทนา ส่วนอุเบกขาเวทนา ก็คืออทุกขมสุข เราไม่พ้นเลย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก เวทนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ

    นี่หมายความว่าให้เข้าใจอย่างนี้ แทนที่จะไปแยกบรรพอะไร ไประลึกตอนไหนยังไง ให้รู้ความจริงว่ามีไหม แม้มี แต่เมื่อใดที่สติไม่ระลึก ขณะนั้นเวทนานั้นก็ไม่ปรากฏ แม้ว่าเกิดขึ้นก็ดับไปเร็วมาก

    การเกิดดับของสภาพธรรมเร็ว เร็วมาก สั้นมาก เพราะฉะนั้นจึงทรงแสดงสติปัฏฐาน ต้องเป็นสติเจตสิกที่ระลึกเท่านั้น จึงสามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ รู้ความจริงของสิ่งซึ่งเกิดดับเร็วมากได้

    เพราะฉะนั้นเวลานี้เหมือนเห็นตลอดเวลา แล้วก็มีได้ยินบ้าง แล้วก็มีคิดนึกบ้าง มีความรู้สึกชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง แสดงว่า จิตเกิดดับเร็วมาก สติระลึกหรือเปล่า

    นี่ต้องเข้าใจว่า แม้สภาพธรรมนั้นมี แต่ก็ดับไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่กำลังปรากฏเท่านั้น ที่สติสามารถจะเกิดระลึกได้ แต่ทั้งสติ และสิ่งที่ปรากฏก็ดับเร็ว

    เพราะฉะนั้นเวลานี้ถ้ามีความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น แล้วสติระลึกที่ความรู้สึก


    หมายเลข 3228
    11 ม.ค. 2567