ประเพณีที่ผิด


    ประเพณีมีทั้งที่ดีงามถูกต้อง และไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้ามีความเข้าใจ พระธรรมวินัยถูกต้อง และรู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก แล้วจะมีความมั่นคงที่กล้าจะ แก้ไขในสิ่งที่ผิดที่เคยชินมาเพื่อรักษาพระธรรมวินัยหรือไม่


    ท่านอาจารย์ ประเพณีทั้งหลาย มีประเพณีสองอย่าง ทุกคนต้องตรงที่จะพิจารณาว่า อะไรถูก อะไรผิด ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นประเพณีที่ไม่ถูกต่อไป อย่างนั้นเราเกิดมาทำไม เกิดมามีโอกาสได้เข้าใจธรรม แล้วก็เพื่อนร่วมโลกที่ไม่มีโอกาสที่ได้เข้าใจเลย เพราะไม่ได้ฟัง แต่ถ้าคำสอนของพระองค์ แพร่หลายไป พร้อมที่จะให้ใครก็ได้ พิสูจน์ว่าจริงไหม ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เขาจะได้สะสมสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นทรัพย์ที่เลิศกว่าทรัพย์ใดๆ ทรัพย์คือเครื่องปลื้มใจ ไม่ได้ทำความเดือดร้อนมาให้เลย เพราะฉะนั้นทรัพย์ที่เป็นเครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดคือปัญญา อริยทรัพย์ ไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ เราคิดสั้นๆ คิดถึงแค่ชาตินี้ แต่ว่าเขามีความเห็นผิดติดตามไปทุกชาติ แต่ถ้ามีโอกาสได้ฟัง จะสำนึกหรือไม่สำนึกแล้วแต่การสะสม แล้วแต่การที่เขาสามารถเห็นคุณของพระธรรมหรือไม่ และมีความมั่นคงที่จะรักษาพระธรรมคำสอนให้บริสุทธิ์หรือเปล่า ถ้ามีความตั้งใจถูกต้อง ช่วยคนอื่นช่วยในทางที่ถูก ช่วยให้ก็เกิดปัญญา ไม่ใช่ช่วยให้เขาประพฤติผิดต่อไป ด้วยความสบายใจ ไม่ต้องได้ยินได้ฟังอะไรทั้งนั้น ไม่แก้ไขทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นต้องเป็นเรื่องตรง ประเพณีไม่รู้ มีมากหรือไม่ ต้องเป็นผู้ตรง ประเพณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อประโยชน์ ไม่ใช่เป็นโทษเลย การฟังธรรม มงคล ๓๘ เป็นประเพณีของชาวพุทธ ที่จะต้องรักษาสืบต่อไปหรือเปล่า เพราะฉะนั้นไม่ใช่ไปทำประเพณีอื่น อย่างบวชก็มีการบวชเณรลูกแก้ว กระโดดลงไปที่ผ้าใบหรืออะไรก็ไม่ทราบ คือว่ามีหลายเรื่อง หลายประการ ซึ่งได้ยิน ได้ฟังบ่อยสำหรับบางคน แต่บางคนก็อาจจะไม่ค่อยได้ยิน ได้ฟังเลย ถ้าเราสามารถที่จะเพ่งโทษ ในสิ่งที่เราได้ยิน ได้ฟังแล้วไม่ถูกต้อง ให้รู้ว่าไม่ถูก แล้วก็ติเตียนด้วย การกระทำอย่างนั้นไม่สมควรกับผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แล้วก็โพนทะนา ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า การกระทำอย่างนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร เป็นสิ่งที่ถูกต้องไหม ควรทำหรือไม่

    ผู้ฟัง ควรจะทำ เมื่อมีโอกาสที่จะทำ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช้ท้อถอยว่า เวลานี้ทุกคนไม่เข้าใจธรรมทั้งประเทศ ไม่ได้ศึกษาธรรม และเข้าใจผิดกันมากมาย ประเพณีที่ผิดมี ก็ดำรงประเพณีที่ผิดๆ ต่อไป นั้นไม่ใช่ผู้ที่กตัญญูรู้คุณของพระธรรม แต่ว่ามีความไม่ตรง และมีการคล้อยไปที่จะอนุโลมตามทุกอย่างที่ผิด เพราะฉะนั้นต่อไปก็ไม่มีทางที่จะถูกได้ เพราะฉะนั้นไม่ได้หวังว่าทุกคนจะทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ใครก็ตาม ที่เห็นประโยชน์ กล้าที่จะทำ เป็นสิ่งที่ไม่ผิดเลย ที่จะคิดถูก ไตร่ตรอง สอบสวนว่าถูกคืออะไร ผิดอะไร เมื่อคิดถูกแล้ว พูดถูก ถ้าคิดถูกแล้วจะพูดผิดได้อย่างไร ก็พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่ถูกต้อง แล้วก็ทำสิ่งที่ถูกด้วย ใครจะว่า นอกจากจะเห็นประโยชน์ว่า ผู้นั้นได้เสียสละความเป็นตัวตน ที่จะช่วยให้คนอื่น ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยไม่หวั่นไหว ว่าใครจะคิดว่าอย่างไร ถ้าคนอื่นคิดว่าผิด ก็ขอเชิญสนทนาธรรม ชี้ตรงมาเลย ว่าตรงไหนถูก ตรงไหนผิด พระธรรมเน้นว่ากระไร และสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ เป็นอย่างนั้นหรือไม่ คือการสนทนาธรรมเพื่อประโยชน์ ไม่ได้ว่าเราจะไปบังคับใคร แต่ให้ทุกคนตระหนักในความจริงว่า ถ้าทุกคนไม่ได้ศึกษาธรรม จะเข้าใจไหม แล้วใครบ้างที่ศึกษา ไม่ว่าใครทั้งนั้น ไม่จำกัดเลยว่าเป็นผู้ปกครองประเทศหรือไม่ เป็นผู้แทนราษฎรหรือเปล่า เป็นราษฎรหรือเปล่า เป็นชาวนาหรือเปล่า ไม่สนใจ เพราะทุกคนก็คือว่าเป็นธรรม ไม่ว่าใคร ระดับไหนก็ตาม ถ้าไม่ศึกษาธรรม จะเข้าใจธรรมไหม จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่

    เพราะฉะนั้นส่งเสริมในทางที่ผิด ไม่ใช่ทางที่ถูก ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ ควรจะยกประเพณีแต่ละประเพณีขึ้นมาพิจารณาว่า จะให้ทำต่อไปอีกหรือ เพราะอะไร ทำต่อไปจากเล็กไปหาใหญ่ จากแคบไปหากว้าง อีกหน่อยก็ทั้งหมดเลย เพราะเวลานี้ทั่วโลกก็กลับมาสนใจ คิดว่าการนั่งสมาธิหรือการทำอะไรก็ตาม ไปสู่สำนักปฏิบัติ นั่นคือพระพุทธศาสนา ผิดหรือถูก เราเป็นผูนำในทางความเห็นผิด คนอื่นเขาตามในทางที่ผิด ดีไหม กลับเนื้อ กลับตัว กลับใจกันได้ไหม แก้ไขได้ไหม หรือจะปล่อยไปอย่างนี้ ถ้าปล่อยเดี๋ยวนี้ คุณอาทิตย์คิดถึงอนาคตข้างหน้า จะเป็นอย่างไร แต่ถ้าไม่ปล่อย แล้วก็เริ่มเสีย จะเป็นประโยชน์กว่าไหม เพราะฉะนั้นประเพณีต่างๆ ที่ผิด ก็ควรจะหยิบยกขึ้นมา ให้ชาวโลกได้รู้ว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าเป็นประเพณีที่ผิด


    หมายเลข 10945
    11 เม.ย. 2567