จิตเหมือนมายากล


        ผู้ฟัง สิ่งที่ท่านอาจารย์บอกว่า สมมุติว่าเรา ยกตัวอย่าง อย่างตื่นขึ้นมา เราได้ยินเสียงนก เราก็รู้ว่ามันผิด เราก็รู้ว่า สิ่งนั้นมันเป็นสมมุติ ไม่ใช่ธรรมะ ของจริง วิธีคิดที่ถูกต้องจะคิดอย่างไร คิดต่อไป วิเคราะห์ต่อไปว่า นั่นมันไม่ใช่เสียงนกนะ เราไม่ใช่เรานะ จิตได้ยินนะ นั่นไม่ใช่เสียงนกนะ เสียงเฉยๆ นะ หรือถ้าเผื่อเราเห็น ก็บอกว่า เอะนี่เห็นเวที มันไม่ใช่เวทีนะ เป็นสีเฉยๆ อาจารย์บอกว่า ไม่ต้องไปคิดต่อมันดับไป นั่นเป็นความคิด คืออะไรถูกไม่ทราบ

        ท่านอาจารย์ ทั้ง ๒ คำถามเป็นตัวตน จะปล่อยก็เป็นเรา จะไม่ปล่อยก็เป็นเรา จะคิดก็เป็นเรา จะไม่คิดก็เป็นเรา เพราะฉะนั้น จะพ้นจากความเป็นเราไม่ได้ ยังมีโลภะขณะนั้นเต็มที่เลย ไม่เห็นเลย

        ผู้ฟัง โลภะหรือครับขณะนั้น

        ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ ถ้าขณะใดไม่เป็นไปในทาน ไม่เป็นไปในศีล ไม่เป็นไปในในความสงบของจิต ก็จะต้องเป็นอกุศล แล้วจะเป็นอกุศลประเภทใด เป็นโลภะ หรือว่าเป็นโทสะ หรือว่าเป็นโมหะ

        เพราะฉะนั้น การที่เราจะรู้จักโลภะ ก็คือฟังพระธรรมให้เข้าใจ สภาพธรรมะที่ตรงกันข้ามกันคือ โลภะกับปัญญา ที่ใดที่มีโภะ ที่นั่นไม่มีปัญญา ที่ใดที่มีปัญญา ที่นั่นไม่มีโลภะ

        ผู้ฟัง ผมไม่คิดว่า นี่มันเป็นโลภะ ผมได้ยินเฉยๆ ได้ยินเสียงเฉยๆ

        ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนั้นไม่เป็นกุศล ต้องเป็นอะไรคะ

        ผู้ฟัง ก็เป็นอกุศล

        ท่านอาจารย์ ต้องเป็นอกุศล แล้วขณะนั้นไม่ใช่โทสะ เป็นอะไรคะ

        ผู้ฟัง ก็เป็นโลภะ

        ท่านอาจารย์ หรือโมหะ

        ผู้ฟัง โมหะ

        ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมจะช่วยให้เราเป็นผู้ตรงต่อความจริง การที่จะบรรลุอริยสัจธรรมได้ อุชุปฏิปันโน เป็นคุณธรรมของผู้ที่จะเป็นพระโสดาบัน ต้องเป็นผู้ตรง เพราะว่าถ้ามีความเป็นเรา เพราะโลภะ ยึดถือเรา แล้วก็ยังมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย หรือว่ามีมานะ มีความสำคัญตนก็ได้ เพราะว่าความเป็นเรา มี ๓ อย่าง เราด้วยโลภะ เราด้วยทิฏฐิ หรือว่าเราด้วยมานะ

        เพราะฉะนั้น ธรรมะทั้งหมดที่ศึกษาเพื่อที่จะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ไม่มีเรา แต่มีสภาพธรรมะแต่ละอย่างที่ปรากฏ ซึ่งความจริงก็เป็นธรรมะทั้งหมดอยู่ แล้ว อย่างโทสะ ก็เป็นสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะลักษณะที่เป็นโทสะ ความขุ่นเคือง ความหยาบกระด้าง ไม่ใช่ลักษณะของโลภะ ซึ่งเป็นความติดข้อง ไม่ใช่ลักษณะของความตระหนี่ ไม่ใช่ลักษณะของเมตตา คือ สภาพธรรมะแต่ละอย่างเป็นธรรมะทั้งหมดในชีวิตประจำวันจริงๆ มีปัจจัยก็เกิดขึ้นปรากฏลักษณะของสภาพธรรมะนั้นๆ แต่ความไม่รู้ ทำให้ยึดถือสภาพธรรมนั้นๆ ว่า เป็นเรา

        เพราะฉะนั้น ไม่มีหนทางอื่นเลย อย่าไปคิดว่าจะให้ทำอย่างไร ไม่ให้ทำอย่างไรแต่ว่าค่อยๆ เข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงขึ้น ขณะใดที่เข้าใจถูก ก็ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นปัญญาที่เริ่มเจริญ เริ่มเข้าใจถูก และการอบรมเจริญปัญญาให้ย้อนกลับไปคิดถึงที่ผ่านมา แล้วว่า เราได้อบรมเจริญปัญญาอย่างนี้หรือเปล่า ในแสนโกฏิกัป หรือว่าเรากำลังเริ่ม หรือว่าเราได้สะสมปัจจัยมาที่จะไม่เห็นผิด แต่ว่าเป็นผู้ละเอียดที่จะพิจารณาธรรมะว่า เป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็เป็นปกติ จะไปฝืนอัธยาศัยที่สะสมมาได้ไหม แต่ละคนไม่มีทางเลย

        เพราะฉะนั้น ไม่มีการคิดว่า เราจะทำอะไร เพราะว่าขณะที่คิดว่า เราจะทำอะไร ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้คิดอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต เกิดเพราะเหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา ผู้ที่เข้าใจจริงๆ ก็สามารถที่จะรู้ความเป็นอนัตตา ซึ่งไม่มีใครไปทำอะไรได้เลย บังคับไม่ได้ เวลาที่กล่าวถึงวิถีจิตที่เห็นว่า เกิดสืบต่อรวดเร็ว ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปลงลักษณะ และกิจการงานของจิตแต่ละประเภทได้

        ผู้ฟัง กระผมอยากจะเรียนถามแต่เพียงว่า ถ้าสมมุติว่าเราเห็น เห็น แล้วมันก็หายไป มันก็หมดไป แล้ว มันก็ดับไป ถ้าอาจารย์ไม่ให้ผมคิดต่อไป อย่าไปคิดว่า มันเป็นสี เป็นเวทีทำไม คิดว่าเป็นแสงไฟทำไม ไม่ให้คิดต่อไป

        ท่านอาจารย์ ขอโทษนะคะ ไม่ได้ไม่ให้ แต่ให้เข้าใจความถูกต้องตามความเป็นจริงว่าต้องมีเห็นก่อน แล้วจึงเกิดคิด

        ผู้ฟัง มันชำนาญ พอเห็นปั๊บ มันสีนะ

        ท่านอาจารย์ ก็พยายามจะเร่งรัด ใช่ไหมคะ แทนที่จะรู้ว่า ค่อยๆ เข้าใจนั้นคืออย่างไร อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทุกคนก็บอกว่ายากมาก ฟังมาเท่าไรก็ยังเห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะเหตุว่าต้องมีเห็น แล้วก็ต้องมีการคิดนึก ซึ่งต่างกัน แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเห็น มีแต่เพียงคิดนึก ไม่ใช่ หรือว่าไม่ใช่มีแต่เห็น โดยไม่มีการคิดนึกเลย ก็ไม่ใช่ แต่ต้องรู้ว่า เมื่อเห็น แล้วคิด แต่ว่าเห็นไม่ใช่คิด นี่คือความรวดเร็วของสภาพธรรมะที่ปรากฏ ทางตาฉันใด ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็รวดเร็วฉันนั้น

        เพราะฉะนั้น จิตจึงเป็นมายากล ไม่มีอะไรเลย นอกจากธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน แล้วก็ทางใจก็คิดนึกเรื่องราวของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน ทำให้เหมือนนายมายากลที่เหมือนกับว่า มีสิ่งต่างๆ ทั้งๆ ที่ไม่มี แต่ก็ยังคงทรงจำว่า มีอยู่

        นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ด้วยความไม่รีบร้อนด้วยการรู้ว่า ปัญญาจริงๆ คือความเข้าใจตัวเอง ไม่ใช่ไปพยายามให้ตัว เป็นตัวรู้สภาพธรรมะ ซึ่งขณะใดที่รู้สภาพธรรมะ ขณะนั้นไม่ใช่ตัว แต่ต้องเป็นปัญญาจึงสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมะได้ ฟังอย่างนี้คงจะไม่ทราบว่า

        นี่คือ วิริยารัมพกถา หรือว่าคำพูดที่ทำให้เกิดความเพียรไม่ให้ท้อถอย แต่เพียรที่นี่ไม่ใช่เพียรให้ไปเร่งทำอะไร แต่เพียรที่จะอดทนรู้ว่า การที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมะจริงๆ เป็นเรื่องละ เพราะฉะนั้น ในที่นี้ กถานี้ก็เหมือนกับ กถาที่จะทำให้เกิดการละความต้องการ เพราะเหตุว่าถ้ามีความต้องการที่จะทำ ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมนั่นผิด

        เพราะฉะนั้น ถ้ามีคำพูดใดๆ ที่จะทำให้ไม่ใช่ว่าไปต้องการ แต่ว่าเป็นการอบรมความรู้ความเข้าใจ เวลาที่มีความรู้ความเข้าใจนั่นเอง ก็จะทำให้ความต้องการนั้นคลายลง ไม่มีตัวตนเหมือนเดิมที่มากมายที่ต้องการทุกอย่างด้วยความเป็นเรา


    หมายเลข 10393
    9 ม.ค. 2567